Chapter 2: Cognitive science กับการเรียนภาษา
- การตัดสินใจในการเรียนภาษาหนึ่งๆ ต้องมีความยืดหยุ่น เพราะ ในการตัดสินใจที่มีความซับซ้อนเหล่านี้ เราทำโดยที่เราไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ หรือ สูตรสำเร็จในชีวิต 100%
- มีหลายเคสที่ คนเรียนสามารถตัดสินใจเรียนภาษาที่ยากที่สุดในโลกได้(เช่น ภาษาจีน) จนชำนาญ แต่กลับไม่สามารถเรียนภาษาที่ง่ายกว่าได้ (เช่น ฝรั่งเศษ)
- การตัดสินใจจึง มีผลอย่างมากต่อการจะเริ่มเรียนภาษา และ เป็นหนึ่งในการเริ่มต้นที่สำคัญมาก
- จุดผิดพลาดอย่างหนึ่งคือ การโฟกัสที่ผลลัพธ์ แต่สิ่งที่ถูกต้องคือ การโฟกัสที่กระบวนการ(focus on process, not outcome)
- อย่าไปนึกถึงแต่ผลลัพธ์ เพราะ มักจะทำให้เราลืมนึกถึง ปัจจัยหรือทรัพยากรสำคัญอื่นๆที่มีผล เช่น เวลาว่างที่มี, งบประมาณ(เงิน)ที่ใช้, พลังชีวิต/ความพยายาม เป็นต้น ซึ่งถ้าเราลืมคำนวณไปว่า ทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เพียงพอ การเรียนของเราก็มีแนวโน้มที่จะไม่สำเร็จ
- ให้โฟกัสไปที่ กระบวนการ,ขั้นตอน หรือ วิธีการเรียน จะทำให้เราวางแผนการเรียนได้ดีขึ้น เช่น
- ให้นึกถึงว่า เราจะวางแผนการเรียนในแต่ละวันอย่างไร ไม่ใช่มัวไปนึกถึงแต่ผลลัพธ์ เช่นว่า ในแต่ละวันมีเวลาเท่าไหร่ จะเรียนอะไรบ้าง จะมีโอกาสสำเร็จตามแผนหรือไม่ ไม่ใช่มัวแต่นึกฝันอย่างเดียวว่าจะใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วคุยกับชาวต่างชาติ เป็นต้น
- ทำให้เป็นความเคยชิน จนกลายเป็นนิสัย
- วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดสรรเวลา คือ ทำวันละนิดวันละหน่อย จนเป็นนิสัย
- ทำมากๆ อาจจะไม่ดีเสมอไป ให้ทำเท่าที่ไหวและรู้สึกเหมาะสม: เหมือนต้นไม้ ถ้าทยอยใส่ปุ๋ยวันละเล็กน้อย จะเติบโตได้ดี แต่ถ้าใส่ปุ๋ยทีเดียวทั้งหมด ก็จะรากเน่า เพราะ ความเข้มข้นมากเกินไปดูดซึมไม่ไหว
- มีการศึกษาพบว่า การเรียนรู้ข้อมูลครั้งละเล็กน้อย(distributed practice) ดีกว่า การเรียนรวดเดียวเยอะๆ(Massive practice/cramming)
- พยายามผนวกการเรียนภาษา เข้าไปในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด (แต่ทำอย่างมีความหมายนะ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ แต่ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร) เช่น
- เวลาเจอสิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวัน พยายามนึกคำศัพท์ในภาษานั้นๆที่เรากำลังเรียน หรือนึกคิดในภาษานั้นๆ จะดีกว่าติดคำศัพท์ ลงบนของใช้ต่างๆ โดยที่เราแทบจะไม่ได้เหลือบตามอง เพราะความคุ้นชินมากเกินไป
- หลังจากที่สามารถนึกคำศัพท์ต่างๆได้คล่องแล้ว ก็ลองนึกเป็นประโยค เกี่ยวกับ Activity ต่างๆในชีวิตประจำวัน ที่กำลังทำอยู่
- แทนที่จะมัวมานั่งเขียน diary ในภาษาต่างประเทศ ที่ใช้เวลานาน และยุ่งยาก และได้แค่วันละนิดหน่อยไม่กี่ย่อหน้า(ซึ่งไม่พอแน่ๆ ถ้าจะฝึกให้ fluent) แต่การคิดฝึกแต่งประโยคง่ายๆ สั้นๆ ในชีวิตประจำวัน ณ ขณะนั้นๆ จะทำได้ทั้งวัน สะดวก ง่ายกว่า และฝึกจริงๆได้เยอะกว่า
- หากว่ามีเหตุให้หยุดฝึกไปนานๆ จะกลับมาเรียนซ้ำใหม่ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ ยิ่งเรียนหลายครั้ง ยิ่งทำให้เราเข้าใจมันมากขึ้น
- กำหนดเวลา(Fixed time)สำหรับการเรียนในแต่ละวัน จะช่วยสร้างความเคยชินจนเป็นนิสัย และ ทำให้ชีวิตเราเรียบง่ายขึ้น เมื่อถึงเวลา ก็จะเคยชินที่จะเรียนได้โดยทันที โดยไม่สนใจสิ่งอื่นที่มีรบกวน
- วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดสรรเวลา คือ ทำวันละนิดวันละหน่อย จนเป็นนิสัย
- เทคนิคการฝึก
- ตั้งเป้าหมายให้สูง(ยาก) แต่เป็นไปได้บนพื้นฐานของความเป็นจริง ช่วยให้สามารถพัฒนาตนเองขึ้นได้มากกว่า เป้าหมายง่ายๆ เป้าหมายคลุมเครือ หรือ เป้าหมายเชิงนามธรรม(เช่น พยายามให้ถึงที่สุด เป็นต้น) - มีงานวิจัยบอกมา
- กำหนด เป้าหมายระยะสั้น เป็นช่วงๆ (บนพื้นฐานของความเป็นจริง) เพื่อให้มุ่งไปสู่ เป้าหมายระยะยาว
- การกำหนดเป้าหมายที่ถูกต้อง ต้องกำหนดเป็นเชิงการกระทำ ไม่ใช่การได้รางวัล หรือ ได้รับความสำเร็จ เช่นว่า "เรียนภาษา วันละ1 ชม หลังเลิกงานประจำ" ไม่ใช่ "สามารถพูดแบบ native ภายใน3เดือน" เป็นต้น
- วิธีนี้สามารถเอาไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองได้ ในเรื่องการกำหนดเป้าหมายในชีวิต
- กำหนด เป้าหมายระยะสั้น เป็นช่วงๆ (บนพื้นฐานของความเป็นจริง) เพื่อให้มุ่งไปสู่ เป้าหมายระยะยาว
- เริ่มเรียนภาษาจากทักษะที่เราถนัด(self-efficacy) ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น
- บางคนถนัดท่องจำ ก็ให้เรียนภาษาโดยเน้นการท่องจำคำศัพท์
- บางคนต้องเห็นตัวอย่าง เห็นบริบท จึงจะจำได้ดี ก็ให้เริ่มเรียนจากการอ่านพวก conversation
- บางคนชอบการจัดระเบียบข้อมูล โครงสร้าง ก็ให้ทำแผนภาพ diagram หรือ ทำสรุป เอาไว้อ้างอิง และ อ่านทบทวน
- บางคนชอบพูดคุยกับคนอื่น ก็ให้ใช้การสนทนา กับเพื่อนที่มีความสามารถในภาษานั้นๆสูง(fluent)
- อย่าจำกัดความสามารถตนเอง(self-handicapping) หรือ อย่าคิดว่าตนเองทำไม่ได้ เช่น
- นักกีฬามืออาชีพ ไม่กล้าใช้ความสามารถ 100% เมื่อต้องแข่งกับมือสมัครเล่น เพราะ กลัวว่าถ้าใช้ความสามารถทั้งหมด แล้วกลับแพ้ อาจต้องเลิกเล่นกีฬาอาชีพไป
- อีกตัวอย่างของ self-handicapping เช่น คนที่ติด alcohol, ติดเกมส์, ติดการ์ตูน เป็นต้นด
- จากตัวอย่าง จะพบว่าการจำกัดความสามารถตนเอง มันมีข้อเสียอย่างมาก
- ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะทำสิ่งนั้นๆไม่สำเร็จ(แพ้ตั้งแต่ยังไม่ทันได้ลองทำ) และยังเป็นข้อแก้ตัว/ปลอบใจตัวเองได้เสมอเวลาล้มเหลว
- แทนที่จะลองทำอย่างจริงจัง แม้หากไม่สำเร็จก็จะได้รู้ว่า มีอะไรต้องปรับปรุงจริงๆกับตัวเราเองในครั้งถัดไป (ไม่ใช่มีแต่ข้อแก้ตัวว่าเรายังไม่ได้ทำเต็มที่)
- Zone of proximal development(ZPD) - เรียนในระดับที่ไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป ให้พอดีกับระดับความสามารถของเรา ซึ่งจะเป็นโซนที่อยู่ระหว่าง ระดับที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง กับ ระดับที่ต้องมีผู้สอนหรือคอยให้คำแนะนำ เช่น
- สมมติเราชำนาญภาษานั้นๆในระดับหนึ่ง หากจะต้องมาไล่เรียน ศัพท์พื้นฐาน ซึ่งอาจจะง่ายเกินไป ก็คงไม่เกิดประโยชน์กับตัวเราเองเท่าไหร่ เป็นต้น
- หรือหากเราอยู่ในระดับผู้เริ่มต้นเรียนภาษา การมาเริ่มเรียนด้วย Grammar ซับซ้อน เช่น subjunctive moods ก็อาจจะไม่เหมาะสม เป็นต้น
- เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องเรียนใน zone of proximal dev. เพราะว่า เราไม่ได้มีเวลาในชีวิตที่ไม่จำกัด จึงต้องเน้นเรียนในสิ่งที่เหมาะสมกับเรา เพื่อให้พัฒนาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- คอยหมั่นตรวจสอบระดับเนื้อหาที่เราเรียน ว่า ง่ายเกินไป หรือ ยากเกินไปหรือไม่ และคอยปรับให้เหมาะสมกับความสามารถของเราในขณะนั้นๆ
- พยายามใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้ใหญ่ ที่เรามีความรู้ด้าน cognitive science มากกว่าเด็ก ในการช่วยให้เราเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
think about your thinking
- ตั้งเป้าหมายให้สูง(ยาก) แต่เป็นไปได้บนพื้นฐานของความเป็นจริง ช่วยให้สามารถพัฒนาตนเองขึ้นได้มากกว่า เป้าหมายง่ายๆ เป้าหมายคลุมเครือ หรือ เป้าหมายเชิงนามธรรม(เช่น พยายามให้ถึงที่สุด เป็นต้น) - มีงานวิจัยบอกมา