อ่านหนังสือเยอะๆ ทุกเล่มมีประโยชน์ เพราะเป็นการรวบรวมประสบการณ์ ในการเทรดของคนเก่งๆ มากมายเอาไว้ มีเทคนิคดีๆมากมาย อย่าปิดกั้นความคิดตัวเอง หรือมีอคติกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งๆที่ยังไม่ได้ลองอ่านจริงๆ ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่มีวันรู้เรื่องนั้นจริงๆ และหากเราไม่รู้จริงในเรื่องใดๆ เราก็จะคิดวนลองผิดลองถูก ในเรื่องนั้นๆไปตลอด วนไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น เพราะ เป็นการลองผิดลองถูก ที่ปราศจากความรู้พื้นฐานและหลักความคิดที่ถูกต้อง และไม่สำเร็จสักที จนเจ๊งในที่สุด
การจะเทรดได้ดี คงไม่มีเทคนิคลัดอะไร เท่ากับการอ่านตำราให้มากที่สุดและตกผลึกด้วยตนเอง สูงสุดคืนสู่สามัญ พื้นฐานสำคัญที่สุด เพราะ สุดท้าย เทคนิคลัดในการเทรด หรือ การลงทุนใดๆ มันไม่มีจริง สุดท้ายจะเหลือเพียงความรู้ที่เราได้ตกผลึกด้วยตนเอง จากการอ่านตำราที่สอนหลักการคิดที่ถูกต้อง แล้วผ่านการนำไปทดลองใช้ เกิดเป็นประสบการณ์ ก่อเกิดเป็นวิธีการของตนเอง เทคนิคของใครของมัน แม้จะสอนให้กันก็ใช้ไม่ได้อยู่ดี
สิ่งสำคัญคือ อ่านตำราทุกเล่ม ทุกแขนง ให้ได้มากที่สุด อย่าหยุดอ่านแม้แต่วันเดียว แล้วตกผลึกเป็นความรู้อันมากมายเหล่านั้น เป็นความรู้ที่เหมาะสมและใช้งานได้กับตนเอง(ซึ่งแต่ละคนตกผลึกไม่เหมือนกัน แต่ต้องอ่านและหาความรู้มากๆเหมือนกัน)
แต่ทั้งนี้มีสิ่งหนึ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอ คือ การเทรด เป็นการผสมผสานระหว่างความรู้หลายๆอย่าง ซึ่งมีความสำคัญเท่ากัน(ขอย้ำว่าต้องให้ความสำคัญเท่ากัน อย่าพลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง) โดยแบ่งได้เป็น 4 อย่างหลักๆที่สำคัญ คือ
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(Fundamental) คือ ความรู้ในโลกความเป็นจริง เกี่ยวกับสิ่งที่เราจะเทรด ซึ่งรวมถึงข่าวสารในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องด้วย มีส่วนอย่างมากในการเลือกหน้าเทรด นักเทรดที่ประสบความสำเร็จทุกคน ล้วนแต่เชี่ยวชาญและเข้าใจจริงๆ ในปัจจัยพื้นฐานของสิ่งที่จะเทรด
- การวิเคราะห์กราฟ(Techinical analysis) คือ ความรู้ในการอ่านกราฟ เป็นพื้นฐานในการหาจุดเข้าเทรดที่เหมาะสม รวมถึงอ่านตลาดจากมุมมองโลกความเป็นจริงที่สะท้อนมาในกราฟ
- การบริหารความเสี่ยง(Risk management) คือ หลักการบริหารความเสี่ยงที่ถูกต้อง การทำ Trading diary เพื่อใช้ในการติดตามผลการเทรดของตนเอง
- จิตวิทยา(psychology) ทั้งการเข้าในตนเอง รวมถึงการเข้าใจคนในตลาด อาจจะสำคัญน้อยกว่า 3 อย่างแรกเล็กน้อย แต่ถือว่าต้องรู้เช่นกัน
ความรู้(knowledge) สำคัญกว่าทักษะ(skill) เพราะ ความรู้เกิดจากการสะสมประสบการณ์ และ หลักการที่ถูกต้อง มาอย่างยาวนาน ของคนเก่งๆรุ่นสู่รุ่น อาจจะนานเกินกว่าที่ช่วงชีวิตของคนๆหนึ่ง จะลองถูกลองผิดด้วยตนเองได้ทั้งหมด ส่วนการฝึกฝนทักษะ ที่ถูกต้องจะเป็นการฝึกฝน หลังจากที่มีความรู้มาแล้ว โดยเป็นการฝึกใช้ความรู้นั้นให้คล่อง(เป็นการใช้ความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อสร้างทักษะ) ไม่ใช่การลองผิดลองถูกด้วยตนเอง การอ่านหนังสือหนึ่งเล่ม ร่นระยะเวลาลองผิดลองถูกได้หลายปี หรือ อาจจะทั้งชีวิต
ตำราดีๆ ที่เคยอ่าน
- ตำราที่ดีที่สุด Technical analysis of the Financial market
- อ่านเล่มนี้ จะเข้าใจหลักการอ่านกราฟราคา ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ถ้าไม่อ่านเล่มนี้ ห้ามเทรด เปรียบได้กับการฝึกขับรถ ตำราเล่มนี้ เป็นเหมือนการศึกษากฏจราจร ถ้าไม่ศึกษามีแต่จะเกิดอุบัติเหตุได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะกราฟราคาที่ไม่ต่างจากรถที่วิ่งไปมาบนทางด่วน
- The art of currency trading
- เป็นตำราที่พื้นฐานที่เกี่ยวกับ หลักการที่ถูกต้องในการเทรด เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เขียนอย่างมีหลักการ มีเหตุมีผลรองรับ ทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงสถิติ โดยหลักๆ จะเน้นการอ่านข่าว Reuters, หาข้อมูลเชิง Fundamental ของสิ่งที่จะเทรด และทำการ analysis แล้วใช้หลักด้าน technical ในการเข้าเทรด, มีการสอนทำ trading diary ที่ดี และความสำคัญของมัน ในการนำมาปรับปรุงการเทรดของตัวเอง เป็นตำราเล่มแรกที่ควรอ่าน เพื่อเปิดโลกการเทรด เพื่อให้เข้าใจว่าการเทรดที่ถูกต้องที่สุด ควรเป็นอย่างไร
- Naked forex
- ช่วยเสริมให้การเทรดดีขึ้นในด้านการใช้ Technical เนื้อหามีเทคนิคในเรื่องของ หลักการหา Major support and resistance zone ที่ถูกต้อง, ความสำคัญของ closed price(ราคาปิดของแท่งเทียน), ความสำคัญของการเทรดเฉพาะในจุดที่เหมาะสม(เทรดเฉพาะที่ Major zone เพราะ จะมีแรงส่งจาก demand/supply มากกว่าโซนราคาอื่นๆ) กลยุทธ์และแนวคิดในการเข้าเทรดให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด เมื่อใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ Fundamental analysis จะเทรดได้ดีขึ้น
- Financial market and institution(Frederic Mishkin, Stanley Eakins)
- เป็นตำราพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเงินในแบบดั้งเดิม(traditional) ไม่ได้ยากเกินคนทั่วไปจะอ่าน(แต่บทคำนวณอาจต้องอ่านหลายรอบจึงเข้าใจ) มีเนื้อหาน่าสนใจมากมายเกี่ยวกับ หลักการคิด ปัญหาในระบบการเงิน โดยหากจะอ่านข่าวReutersได้เข้าใจ และมีไอเดียการเทรดดีๆ ควรต้องเข้าใจพื้นฐานระบบการเงินเหล่านี้
- ยังมีตำราดีๆอีกมากมาย ที่แนะนำในหนังสือ The art of currency trading ซึ่งกำลังทยอยตามอ่าน
- เช่น Thinking fast and slow, Psychology of money เป็นต้น
สิ่งหนึ่งที่ตกผลึกมาได้คือ
การเทรด คือ การทำธุรกิจการเงิน
- การเทรด เป็นเพียงอาชีพๆ หนึ่ง ที่ไม่ต่างกับการทำธุรกิจ หรือ กิจการหนึ่งๆ ที่ต้องใช้ความรู้ การวิเคราะห์ที่เหมาะสม เพื่อมุ่งหวัง สะสมการทำกำไร และ หลีกเลี่ยงการขาดทุน ไม่ใช่การลงทุนแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ หรือ ศรัทธาอย่างแรงกล้า เพื่อหวังเปลี่ยนชีวิตในครั้งเดียว โดยไม่สนกำไรขาดทุน
- การเทรดและการลงทุน จะไม่ใช้อารมณ์ หรือ ศรัทธาอย่างแรงกล้า เพื่อหวังเปลี่ยนชีวิตในครั้งเดียว(all-in) ซึ่งมันไม่ได้ต่างจากการซื้อล๊อตเตอรี่(เพียงแต่ดูภูมิฐานกว่า ดูมีความรู้มากกว่า แต่จริงๆ มีโอกาสเสียเงินมากกว่าเสียอีก หากไม่มีความรู้) โดยจะเป็นการใช้ความรู้เพื่อ เอาเงินน้อยๆ เสี่ยงแลกเงินที่มากกว่า และทำซ้ำๆ เพื่อสะสมเพิ่มพูนให้มากขึ้นๆ
- การเทรดจะไม่มีการ all-in ต่อให้สินทรัพย์นั้นๆ หรือ ธุรกิจนั้นๆจะดีแค่ไหน เพราะ เหมือนเป็นการที่เรากำลังทำธุรกิจการเงิน แต่เรากลับเอาเงินในธุรกิจของเราเองทั้งหมด ไปฝากไว้กับธุรกิจของคนอื่น โดยไม่คำนวณการขาดทุนให้ดี
- เหตุผลเดียวที่เราจะ all-in คือ ก็ต่อเมื่อเป็นธุรกิจของเราเอง เพราะ เรารู้จักตัวเราเองดีที่สุด หมายความว่า ถ้าเราจะทำธุรกิจการเงิน เงินส่วนใหญ่ต้องเก็บอยู่กับตัวเรา ในสินทรัพย์ที่คงที่ ไม่ใช่ฝากไว้กับธุรกิจคนอื่น
- ต้องมีการควบคุมความเสี่ยงในการขาดทุนให้ต่ำที่สุดเสมอ โดยมุ่งหวังใช้ความเสี่ยงเล็กน้อยนั้น ไปแลกกำไรที่มากขึ้น (เช่น เสี่ยง 0.3% แลก 1% ทำซ้ำ 10 ครั้ง ก็อาจจะมีขาดทุนบ้าง แต่ก็อาจได้เพิ่มมา 5%) โดยใช้ความรู้แบบบูรณาการณ์ร่วมกันในศาสตร์อันหลากหลายข้างต้น(อธิบายไปด้านบน) เพื่อหาโอกาสแลกทำกำไร
- โอกาสในการเทรดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในโลกภายนอก แต่ขึ้นอยู่กับความรู้และทักษะที่เรามี โอกาสมีเสมอในทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี เราจะมองเห็นโอกาสได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับเรามี ความรู้ ทักษะ และ มีแผนการเทรดไว้เหมาะสมแค่ไหน
- สิ่งที่น่ากลัวสำหรับคนที่ไม่เข้าใจการเทรด คือ การนำหลักการมาปนกับการลงทุน และ การพนัน โดยเข้าใจว่าโอกาสใหญ่ๆ ที่ราคาสินทรัพย์จะวิ่งในทิศทางเดียวอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีไม่กี่ครั้ง ซึ่งจริง แต่เป็นในแง่ของการลงทุน โดยเป็นการลงเงินทุนเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องทำงานระยะใหญ่ๆ(ให้เงินทำงาน) แต่ก็ยังต้องอยู่ในการควบคุมความเสี่ยง และ การตัดขาดทุนในกรณีที่ผิดทาง ซึ่งเราสามารถนำเครื่องมือในการเทรดมาประยุกต์ใช้ โดยเราอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อสินทรัพย์นั้นจริงๆ แต่สามารถใช้การเปิด position size ในสินทรัพย์นั้นๆ เท่ากับเงินทุนที่เราต้องการลงได้ ซึ่งเครื่องมือในการเทรด ทำให้เราสามารถคุมความเสี่ยงในการตัดขาดทุนได้ง่ายขึ้น
- หลักการลงทุน จะเป็นการนำเงินก้อนใหญ่ ไปขยายให้ใหญ่ขึ้น
- หลักการเทรด จะเป็นการนำเศษเงินเล็ก ไปแลกเงินหลายเท่าของเศษเงินเล็กๆนั้น แล้วสะสมทบไปเรื่อยๆ
- แต่ทั้งสองแบบ ต้องมีการคุมความเสี่ยงและการตัดขาดทุน(stop loss)เหมือนกัน
- สิ่งที่น่ากลัวสำหรับคนที่ไม่เข้าใจการเทรด คือ การนำหลักการมาปนกับการลงทุน และ การพนัน โดยเข้าใจว่าโอกาสใหญ่ๆ ที่ราคาสินทรัพย์จะวิ่งในทิศทางเดียวอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีไม่กี่ครั้ง ซึ่งจริง แต่เป็นในแง่ของการลงทุน โดยเป็นการลงเงินทุนเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องทำงานระยะใหญ่ๆ(ให้เงินทำงาน) แต่ก็ยังต้องอยู่ในการควบคุมความเสี่ยง และ การตัดขาดทุนในกรณีที่ผิดทาง ซึ่งเราสามารถนำเครื่องมือในการเทรดมาประยุกต์ใช้ โดยเราอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อสินทรัพย์นั้นจริงๆ แต่สามารถใช้การเปิด position size ในสินทรัพย์นั้นๆ เท่ากับเงินทุนที่เราต้องการลงได้ ซึ่งเครื่องมือในการเทรด ทำให้เราสามารถคุมความเสี่ยงในการตัดขาดทุนได้ง่ายขึ้น
วิธีการเทรดในปัจจุบัน
- เทรด แค่ high liquidity asset, high volatility เท่านั้น เพราะ ค่า spread ต่ำ(ต้นทุนเริ่มต้นในการเทรด) แต่โอกาสทำกำไรมาก ไม่รู้จะไปเทรดอย่างอื่นที่มีต้นทุนการเทรดเยอะ แถม reward ต่ำ ทำไม(spreadกว้าง / commission สูง แต่กราฟวิ่งไม่ไกล) โดยที่ดีที่สุด คือ Gold เพราะ spread แคบมาก แต่ราคาวิ่งได้ไกลทุกวัน และ รองลงมาคือ Major currency pair ส่วน BTC เนื่องจากใน exchange มีค่า commission สูง จึงพอๆกับเทรดคู่สกุลเงินหลัก
- โดยสรุป คือ ทั้งวันรอแค่กราฟทอง อย่างเดียวก็ได้
- ขยันตอนฝึกเทรด ฝึกดูกราฟ เป็นสิ่งที่ดี แต่เทรดจริง อย่าขยันเทรด แต่เน้นรอเป็นหลัก เช่น รอให้กราฟชัด รอให้กราฟมาตามแผน เป็นต้น
- หลักการเทรด ไปอ่านหนังสือเอา แล้วตกผลึกด้วยตนเอง(4 หมวดหลักข้างต้น)
อื่นๆ
- แผนการเทรด
- การเทรด บาปหรือไม่? โดยส่วนตัวคิดว่าไม่ เพราะ เทรดเดอร์หรือนักลงทุน เป็นเพียงส่วนน้อยที่มีผลกับมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ แต่มูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของสิ่งนั้นๆเอง อย่างเช่น
- Forex ถ้าประเทศไหน..
- บริหารงานได้ดี มีการเมืองที่ดี เศรษฐกิจดี ค่าเงินก็จะแข็งขึ้น ด้วยปัจจัยมากมาย ทั้งการได้ดุลการค้า จากบริษัทใหญ่ๆ ที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆในโลก การลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ เป็นต้น ค่าเงินก็จะแข็งค่าขึ้น
- บริหารงานไม่ดี การเมืองไม่ดีมีคอรัปชั่น โครงสร้างกฏหมาย โครงสร้างสถาบันการเงินไม่ดี ไม่มีทรัพยากรคน ขาดดุลการค้า ค่าเงินก็จะอ่อนค่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- ซึ่งทั้งสองตัวอย่างข้างต้น ราคาไม่มีความเกี่ยวข้องกับนักเทรดเลย นักเทรดหรือนักลงทุนเป็นเพียงคนที่พยายามรักษามูลค่าของสินทรัพย์ของตัวเองไว้ ด้วยการขายสินทรัพย์ที่ไม่ดี แล้วเปลี่ยนไปซื้อสินทรัพย์ที่ดีกว่า
- นักเทรดไม่ได้ทำบาป แต่คนที่ทำบาป คือ เจ้าของธุรกิจที่ทุจริต เช่น การปั่นหุ้นตัวเอง หรือ การคอรัปชั่นของรัฐบาล เป็นต้น
- Forex ถ้าประเทศไหน..
Comments