Skip to main content
บันทึกของบี

Main navigation

  • บทความสำคัญ
  • Logs ทั้งหมด
    • รวม Logs ทั้งหมด
    • Brain logs
    • Daily logs
    • Dev logs
User account menu
  • Log in

Breadcrumb

  1. Home

ปัญหาสายตา

By krishrong, 15 November, 2023

ลองฝึกกล้ามเนื้อตา

เคยได้รับการตรวจพบว่า ตัวเองมีปัญหา ตาเหล่ซ่อนเร้นเล็กน้อย โดยเป็นการเหล่ออก(exophoria) 6 prism ด้วยความที่กล้ามเนื้อตายังสามารถมีแรงดึงตาให้อยู่ในตำแหน่งปกติได้ จึงยังไม่เห็นภาพซ้อน และไม่เห็นตาที่เหล่ออก(เล็กน้อย)

แต่ปัจจุบัน โดยส่วนตัวเวลาอ่านหนังสือ สิ่งที่สังเกตตัวเองได้คือ หากตาล้ามากๆ เวลาอ่าน จะไม่สามารถอ่านเป็นประโยคต่อเนื่องไปรวดเดียวได้ แต่จะต้องอ่านกลับไปกลับมาระหว่างคำแต่ละคำในประโยค ทำให้เข้าใจความหมายของประโยคยาก ต้องกลับมาอ่านซ้ำหลายรอบ มันแสดงถึงการที่กล้ามเนื้อตาเริ่มล้า(ง่ายกว่าคนปกติ) ทำให้ไม่สามารถดึงตาทั้งสองเข้ามาโฟกัสที่คำแบบนิ่งๆได้(ภาพจะเริ่มสั่นๆ อ่านไม่ smooth) ส่งผลให้รับข้อมูลผ่านการอ่านได้ยากกว่าปกติ 

เลยอยากลองฝึกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตา เพื่อให้สามารถมีกำลังพอที่จะรองรับการอ่านหนังสือนานๆได้

วิธีนี้ เรียกว่า Stereogram exercise (* วิธีนี้ใช้กับกรณีตาเหล่ออก ถ้าเหล่เข้ามากกว่าปกติ ต้องใช้วิธีอื่นนะ)

หลักการง่ายๆคือ มองภาพแมว2ตัว (ภาพบน) ด้วยวิธีเหล่ตาเข้าหากัน เพื่อให้เป็นภาพเดียวรวมกันตรงกลาง(ภาพล่าง)

โดยที่เลื่อนภาพเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้น จนสุดระยะเท่าที่ตาเราจะยังสามารถรวมภาพได้ แล้วพยายามค้างเอาไว้ หากภาพแยก ก็ถอยออก แล้วพยายามเลื่อนกลับเข้ามาใหม่

ทำครั้งละ 2-3 นาที โดยทำบ่อยๆ ตลอดวัน เป็นเวลา2-3 สัปดาห์

โดยส่วนตัวทำก่อนนอนวันละ 5 นาที โดยการชูนิ้วชี้ มื้อซ้ายและขวา ห่างกันประมาณหนึ่งแทนภาพ(ขี้เกียจปริ้นต์รูป) แต่ใช้หลักการเหล่ตาเข้ามาให้ภาพนิ้วชี้ มาซ้อนกัน เหมือนเดิม โดยจะใช้การค่อยๆ เลื่อนเข้ามาใกล้ขึ้น หรือ เลื่อนนิ้วออกห่างจากกันมากขึ้นเรื่อยๆก็ได้

ทั้งนี้ถ้าไม่หายจริงๆ ก็มีอีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้แว่นตาที่มีเลนส์ปริซึม เพื่อดึงภาพให้มาปรากฏในตำแหน่งที่ตามีการเหล่ออก กล้ามเนื้อตาก็จะไม่ต้องทำงานมากกว่าปกติ ใช้ตาได้อย่างสบายขึ้น โดยเฉพาะคนที่ทำงานต้องใช้สายตามองระยะใกล้ทั้งวัน ทำงานฝืมือ หรือ อ่านหนังสือมากๆ แล้วก็ทำร่วมกับการฝึกกล้ามเนื้อตาไปด้วย เผื่อเกิดเหตุไม่มีแว่นปริซึมช่วย

อัพเดตเพิ่มเติม

  • ล่าสุดไปตรวจอีกครั้ง พบว่า ตำแหน่งตา และ กล้ามเนื้อตาไม่ได้ผิดปกติ แต่เป็น ระบบเพ่ง(Accommodation)จากกล้ามเนื้อเลนส์ตา ซึ่งมีการเพ่งมากกว่าปกติ จากการที่ใส่แว่นที่มีค่าสายตาเกิน(over minus)เล็กน้อย(ข้างละ 0.25-0.50 diopter) ทำให้กล้ามเนื้อเลนส์ตาเพ่งมากกว่าปกติ และเกิดการล้าได้ง่าย หากลดค่าสายตาลงก็จะหายเป็นปกติ
    • เบื้องต้น ลองไม่ใส่แว่นดู สัก3-4 วัน ก็เริ่มปรับตัวได้ กลับมาอ่านหนังสือได้ตลอดทั้งวันแบบสบายๆแล้ว แม้จะมองไกลไม่ชัด ก็เริ่มชินและไม่รู้สึกหงุดหงิดใดๆ (เอาความรู้จากการอ่านหนังสือก่อน ยังไม่ต้องมองไกลชัดก็ได้)
  • แต่การฝึกกล้ามเนื้อตาก็ยังทำทุกวัน แม้อาจจะไม่ได้แก้ปัญหาที่เป็นอยู่โดยตรง แต่ยังไงมันก็มีผลดี ไม่ได้มีผลเสียอะไร เหมือนการออกกำลังกาย ก็ทำไว้เถอะ ถ้ากล้ามเนื้อตาแข็งแรงขึ้น ก็น่าจะทำอะไรได้มากขึ้นอยู่ดีนั่นแหละ เสียเวลาแค่วันละ 5 นาที แต่ทำอะไรในชีวิตได้มากขึ้น ก็ถือว่าคุ้มค่า
  • ถ้ามีปัญหาในการดำเนินชีวิต ที่เกี่ยวกับตา, การมองเห็น ควรไปตรวจกับนักทัศนมาตร, จักษุแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่ถูกต้อง เพราะ ปัญหาหนึ่งๆ สามารถมีสาเหตุที่หลากหลายได้ การค้นคว้าเอง อาจทำให้เราไม่พบสาเหตุที่ถูกต้องได้

Tags

  • ปัญหาสายตา
By krishrong, 19 September, 2023

สรุปชีวิตในปัจจุบัน

สรุปในด้านการพัฒนาตนเองนะ ยังไม่สรุปภาพรวมชีวิตว่ามี routine อะไรที่ควรปรับปรุงบ้าง

  • ได้ตรวจสายตากับจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทตาและกล้ามเนื้อตา จากที่เคยสงสัยว่าจะมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อตาและภาวะ convergence insufficiency 
    • ก็พบว่ามี exophoria ที่ตาขวา PD 6 ขณะมองใกล้มั้งนะ(แอบเหลือบไปดู medical record) แต่หากมองสองตาจะไม่เกิดภาพแยก จึงเรียกว่า ภาวะเหล่ซ่อนเร้น
      • ซึ่งคุณหมอบอกว่าไม่เยอะมากถึงขนาดที่จะต้องทำการรักษาอะไร ให้ติดตามดูอาการ อาจมีผลในเรื่อง การอ่านหนังสืออาจมีตาล้าได้ง่ายกว่าคนปกติได้บ้าง 
    • ส่วนเรื่อง convergence insufficiency จะมากและมีผล ก็ต่อเมื่อเห็นภาพซ้อน หากยังไม่เห็นภาพซ้อนก็นับว่ายังไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งจริงๆของตัวเอง มันเกิดจากการที่มี exophoria เล็กน้อยนี่แหละ
    • ส่วนเรื่อง การฝึก pencil push up อาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่มันไม่ได้มีงานวิจัย ว่าช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาโดยตรง
  • แสดงว่าทุกวันนี้ เราอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว สำหรับการอ่านหนังสือ แต่หากมีปัญหา หรือ อยากเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านให้มากขึ้น ให้พิจารณาปัจจัย ดังนี้
    • เนื้อหาที่อ่าน เราไม่ถนัด ไม่เคยเจอมาก่อน ทำให้ต้องใช้เวลา ความอดทน ความพยายาม ในการทำความเข้าใจ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ (โดยเฉพาะวิชาที่เราไม่ชอบ แต่ต้องจำใจอ่าน [เพราะมีความรู้บางอย่างที่จำเป็นต้องใช้] แต่อย่าให้เกิน 10-20% จากสัดส่วนเนื้อหาที่เราชอบนะ ไม่งั้นจะขาดแรงกระตุ้นจากสิ่งที่ชอบ และจะเฉี่อยชา)
    • วิ่ง/ออกกำลังกาย ก็ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ประสิทธิภาพการอ่านจะดีขึ้นได้
    • นั่งสมาธิ ช่วยให้เรามีสมาธิกับการอ่านได้ และช่วยให้ภาวะวิตกกังวล(anxiety)ลดลง
      • ทั้งนี้ อย่าหวังผลประโยชน์จากการฝึกสมาธิ เพราะ มันเอาความแน่นอนไม่ได้ ถ้าเราทำสมาธิได้ดีช่วงหนึ่งแล้วเราก็ยิ่งพึ่งพาสมาธิ เพื่อไปทำงานที่ยากเกินตัว อีกช่วงนึงหากสมาธิเสื่อม เราจะลำบากแน่นอน
        • ผลที่หวังได้จากการทำสมาธิ มีเพียงแค่ การช่วยให้ภาวะวิตกกังวล(anxiety)ลดลง เท่านั้น
    • อีกวิธีนึงคือ ใช้สติ สร้างสมาธิในการอ่าน คือโดยปกติ ตำรามีหลายรูปแบบ บางเนื้อหาอาจจะไม่เหมาะการใช้สมาธิตรงๆเสียทีเดียว เพราะ เนื้อหาบางอย่าง ต้องอ่านไปคิดไป พอคิดมากๆอาจทำให้ฟุ้งซ่าน และเริ่มคิดนอกเรื่อง ให้มีสติรู้ทันการคิดฟุ้งซ่าน แล้วกลับมาอ่านหนังสือต่อ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะอยู่กับเนื้อหาได้ตลอดการอ่าน
    • การทำ Intermittent Fasting จะช่วยเพิ่ม Neuroplasticity ได้ ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงในเรื่องการเรียนรู้
      • แต่ถ้า IF มากไป(อดเกินพอดี) จะไม่มีแรงอ่านหนังสือ หรือทำงาน ชีวิตก็หยุดอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาเพิ่มเติมนะ
        • โดยปกติ ถ้าอยากมีแรง อ่านหนังสือหรือทำงานทั้งวันทั้งคืน การทำ IF 18/6 น่าจะได้นะ คือ กินอาหารในช่วง 6 ชม กินเท่าไหร่ก็ได้ แล้วที่เหลือ 18 ชม ก็อด โดยอาจจะทำแบบศีล8 ก็ได้ คือ กินในช่วงเช้าถึงก่อนเที่ยงเท่านั้น
          • โดยส่วนตัวเคยลองแบบ 22.5/1.5 ปรากฏว่า ไม่มีแรงตอนเย็นนะ ไม่มีแรงพอที่จะอ่านหนังสือ หรือทำงานที่ใช้ความคิด อย่างจริงจังต่อ
          • การกินเท่าไหร่ก็ได้ ต่อให้เรากินมาก แต่ถ้าอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มันก็ยังได้ประโยชน์มากกว่า การกินปริมาณเท่ากันแต่แบ่งกินทั้งวันนะ
            •  จริงๆ เรื่องปริมาณการกิน แรกๆอาจจะกินเยอะมากเกินไป แต่สุดท้าย ถ้ามันเกินกว่าที่ต้องการ ร่ายกายน่าจะค่อยๆปรับลดความอยากอาหารลงเองนะ แต่ถ้ากินน้อยไป มันก็จะอ่อนเพลียหมดแรงและมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
          • ชั่วโมงการกิน ถ้าบีบให้แคบลง น่าจะได้ประโยชน์ในเรื่องสุขภาพมากขึ้น แต่โดยส่วนตัวคิดว่า ก็ไม่ควรน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอกับพลังงานที่ต้องใช้ และอย่างน้อยๆขอให้อยู่ในช่วงเช้า 6.00 - เที่ยง 12.00(หรือไม่เกิน 13.00 หากทำงาน) แบบศีล8 เพราะ อาหารจะย่อยหมดในช่วงเย็นพอดี และ เอื้อต่อการเกิด Neuroplasticity ที่จะเกิดเป็นปกติในขณะนอนหลับ ได้พอๆกัน

Tags

  • Intermittent Fasting
  • พัฒนาตนเอง
  • ปัญหาสายตา
  • การเรียนรู้
By krishrong, 11 September, 2023

ปัญหากล้ามเนื้อตา ทำให้อ่านหนังสือไม่มีสมาธิ

เท่าที่สังเกตตัวเอง เวลาที่อ่านหนังสือจาก e-reader หรือ หนังสือปกติ ซึ่งต้องถืออยู่ในระยะช่วงแขน (<50 ซม.) จะไม่สามารถอ่านได้นานสมาธิก็จะหลุด แบบว่าอ่านท้ายประโยค จะลืมต้นประโยคและต้องกลับไปอ่านประโยคนั้นซ้ำใหม่!

แต่หากอ่านหนังสือจาก หน้าจอ monitor ขนาดใหญ่ จะสามารถขยายหน้าหนังสือให้ใหญ่ขึ้น และ อ่านจากระยะสายตาที่ไกลขึ้นได้(>1 ม.) ซึ่งปัญหาสมาธิหลุด จากการอ่านท้ายลืมต้นประโยค ก็ไม่เกิด และอ่านได้ดีกว่า

ซึ่งจริงๆมันไม่ควรจะเป็นแบบนั้น ควรจะอ่านจากหนังสือได้นานกว่า และ สบายตากว่า การอ่านจากหน้าจอสิ!

ทำให้นึกถึงแต่ก่อน ที่เคยตรวจสายตากับพี่นักทัศนมาตร ท่านหนึ่ง ซึ่งใช้เครื่องมือตรวจเยอะมาก และ ตรวจทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับตา ในตอนนั้นพบว่ามีปัญหาเรื่อง กล้ามเนื้อตา ไม่สามารถเหล่ตาเข้ามาหากันได้อย่างเหมาะสม ขณะมองใกล้ ซึ่งเรียกว่าภาวะ convergence insufficiency โดยทางแก้ที่เคยได้รับคำแนะนำคือ ให้ทำ pencil puch up แต่ตอนนั้นทำได้สักพักก็หยุดทำไป เพราะ ไม่ค่อยมีเวลา ประกอบกับไม่มีตัวชี้วัดว่าดีขึ้นหรือยัง เลยไม่ได้ทำต่อ

จึงขอบันทึกไว้ก่อน เพราะ สาเหตุหลักของการไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ(แต่อ่านจากหน้าจอคอมได้ดีกว่า) ที่พยายามสรรหาวิธีการต่างๆ นานา ที่จะทำให้ดีขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจจะมีคำตอบง่ายๆด้วยการฝึกกล้ามเนื้อตาก็ได้

Tags

  • ปัญหาสายตา
ปัญหาสายตา

เนื้อหาทั้งหมด

บทความสำคัญ(26) พัฒนาตนเอง(24) Intermittent Fasting(15) การเรียนรู้(14) Linux(7) อาหาร(7) Dopamine Fasting(6) แผนการณ์ชีวิต(5) การเงิน(5) ภาษาอังกฤษ(5) ideas(4) open-source(3) เขียนโปรแกรม(3) Web Server(3) ปัญหาสายตา(3) สมาธิ(3) ธรรมะ(3) คลังไม่สำคัญ(3) จัดโต๊ะทำงาน(3) บันทึกประจำวัน(2) ตรวจสอบตนเอง(2) ธุรกิจ(2) เกี่ยวกับ(2) ออกกำลังกาย(2) ศึกษาด้วยตนเอง(2) Cardano(crypto) (1)Drupal (1)Windows (1)อุปกรณ์ (1)

บทความปรับปรุงล่าสุด

  • วิธีการ ต้มธัญพืชให้นิ่มเร็ว และไม่เกิดแก๊สในลำไส้
    Tue, 12/05/2023 - 18:45
  • สัปดาห์1 ธ.ค.
    Tue, 12/05/2023 - 18:45
  • ลองลดปริมาณการกินเหลือวันละมื้อ ลดเวลานอน ลดการออกกำลังกาย เพิ่มเวลาชีวิต
    Tue, 11/28/2023 - 10:55
  • บันทึกส่วนตัว พ.ย. 66
    Mon, 11/27/2023 - 21:44
  • กินกาแฟแล้วสมาธิดีขึ้น
    Sun, 11/26/2023 - 07:26
  • กลับบ้าน หรือ อยู่หอ ข้อดี vs ข้อเสีย
    Fri, 11/24/2023 - 18:55
RSS feed
Powered by Drupal