- The technique for writing and speaking English or any foreign language is you have to think in English, not in your native language(not translating in your mind from your language to English).
- It is like some kind of algorithm that can produce that language directly from your brain which is not the same algorithm in each language including your native language. It is like small different processors in your brain that are suitable for producing each language individually. If you keep using the same processor for every language it will struggle because the algorithm can't run well on that processor.
- It is also like you have to change to another personality to notify the brain to change to the suitable language processor.
- However, those particular processors also need practicing, just like language bio microprocessors in your brain that have to be trained separately.
ภาษาอังกฤษ
โดยส่วนตัวได้ฝึกภาษาอังกฤษ มาตั้งแต่อยู่ปี 3 ตอนเรียนมหาลัย(7ปีแล้ว ค่อยๆฝึกในชีวิตประจำวันมาเรื่อยๆ) เริ่มจาก
- อ่านตำราเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ เพราะ เราคุ้นชินกับเนื้อหาอยู่แล้ว และศัพท์จะไม่ได้เล่นคำ เล่นสำนวณ พลิกลิ้นยากๆ แถมยังเขียนถูกโครงสร้างไวยากรณ์ จึงเป็นการเริ่มฝึกที่ดี
- จากนั้นก็ขยับขยาย ฝึกอ่านเนื้อหาอื่นๆตามความสนใจ จนเริ่มรู้ศัพท์กว้างขวางขึ้น
- พอเริ่มรู้ศัพท์มากขึ้น ก็เริ่มลองฝึกฟังบ้างทั้ง ดู youtube เนื้อหาที่ชอบ(เช่น เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) ฟังเพลงที่ชอบ ฟังข่าววิทยุ BBC (เปิดผ่านหู) ซึ่งก็ฟังออกบ้างไม่ออกบ้าง และยังต้องอ่าน caption ประกอบ
- จากนั้นก็ยังคงฝึกอ่านภาษาอังกฤษที่ยากขึ้น เล่นคำ เล่นสำนวณมากขึ้น เช่น อ่านข่าว reuters เศรษฐกิจ เนื่องจากกำลังศึกษาเรื่องการเทรดสกุลเงิน เป็นต้น จนเริ่มได้ศัพท์หลากหลายแนวขึ้นไปอีก
- ลองใช้ความรู้ด้านสุขภาพในการพัฒนาตนเอง ด้วยการออกกำลังกาย HIIP, ทำ IF ข้ามวัน(อาจทำไม่ได้ในคนปกติ), นั่งสมาธิเช้า-เย็น เพราะ มีงานวิจัยว่าช่วยทำให้สมองพัฒนามากขึ้นได้ โดยส่วนตัวทำแล้วก็ พัฒนาหลายอย่าง เรื่องภาษา ก็เป็นส่วนหนึ่ง
- ต่อมาอยู่ๆ ทักษะการฟัง ก็กลับพัฒนาขึ้นมาก อยู่ๆก็เริ่มฟังเนื้อร้องออกมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องอ่านเนื้อ รวมถึงฟังเนื้อหาแนวอื่นๆใน youtube ก็ฟังออกขึ้นมาเอง(คิดว่าเป็นผลจาก ช่วงนี้อ่านหนังสือต่างประเทศ อ่านข่าว ซึ่งทำให้ได้รู้ศัพท์หลากหลายมากขึ้น จึงเข้าใจในสิ่งที่ฟังได้ดีขึ้น รวมถึงฝึก สมาธิ และการออกกำลังกาย ทำให้โฟกัสกับเสียงได้ดี และ สมองส่วนการฟังภาษาพัฒนาขึ้น)
ประเมินการเรียนภาษาอังกฤษของตัวเองในปัจจุบัน
- เรื่องการอ่าน และการฟังไม่ต้องเป็นห่วง เพราะ พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังห่างไกลความ Native ยังคงต้องพัฒนาอีกมาก
- การอ่านยังคงต้องเปิดพจนานุกรมในศัพท์ที่ไม่รู้อยู่มาก โดยเฉพาะศัพท์เฉพาะทางต่างๆ แต่ศัพท์พื้นฐานปกติ ก็เข้าใจเกือบ80%อ่านหนังสือที่มีเนื้อหาง่ายๆได้ โดยไม่ต้องพึ่งพจนานุกรม
- เริ่มฟังเพลงต่างประเทศแบบไม่ต้องอ่านเนื้อได้บ้างแล้ว หลังจากที่ฝึกนั่งสมาธิ ออกกำลังกายแบบพิเศษ(HIIP) และ อ่านเนื้อหาหลากหลายแนวเพื่อกระตุ้นสมองให้ทำงาน
- ช่วงนี้จะฝึกด้วยการเปิดคลิป youtube อะไรก็ได้(สุ่มเปิดเลย) ดูตอนกินอาหาร ฟังไปด้วยอ่านปากคนพูดไปด้วย(เหมือนเวลาเด็กnativeฝึกการพูด ก็จะฟังเสียงแล้วอ่านปากคนพูด เพื่อให้สามารถเลียนแบบได้ถูกต้อง)
- แต่เรื่องการพูดกับการเขียน ยังคงเป็นปัญหา เพราะ ไม่ได้ฝึกเลย แต่ก็คิดว่าถ้าฝึกก็จะพัฒนาต่อไปได้เร็ว เพราะ เรามีคลังคำศัพท์ในหัวมากพอสมควร เหลือแค่ฝึกการดึงออกมาใช้อย่างถูกต้อง อีกทั้งเรายังมี ทักษะการฟัง และ การอ่าน ทำให้สามารถเรียนรู้แบบ Native เพิ่มเติมได้อีก
- อ่านหนังสือ Becoming fluent บอกว่า ให้เริ่มจากการฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษ ง่ายๆในใจ ไม่ต้องเป็นประโยคซับซ้อน
- เวลาเจอคนต่างชาตินิสัยไม่ดี ความอยากฝึกภาษาจะถูกกระตุ้นอย่างมาก ฮาๆๆ มันตื่นตัวขึ้นมาทันที(เวลาเจอคนต่างชาติที่สุภาพจะเฉยๆ ไม่รู้สึกถึงความอยากสื่อสารเท่าไหร่)
- ความรู้สึกของการฝึกฟังในตอนนี้คือ อยากลองฟังนู่นนี่นั่น ว่าเขาพูดอะไร ทำอะไรกันอยู่ เหมือนตอนที่เริ่มฝึกอ่านภาษาอังกฤษใหม่ๆเลย ตอนนั้น เราก็อยากลองอ่านนู่นนี่นั่น ว่าเขาเขียนอะไร
- นี่คงเป็นการยกระดับ (อัพเลเวล) ขึ้นไปอีกขั้นแล้วสินะ!!
- ถ้าฝึกอ่านมากๆ การฟังจะดีขึ้น ถ้าฝึกเขียนมากๆ การพูดจะดีขึ้น เพราะเหมือนเป็นการซ้อมใช้งาน อย่างถ้าเราเคยฝึกแต่งประโยค ด้วยการเขียนมาก่อน ต่อให้เราไ่ม่เคยพูด เราก็จะพูดได้ เพราะ เราเคยแต่งประโยคนี้มาหลายรอบแล้ว
- อ่านเยอะๆ จะทำให้มีศัพท์ไปฟังได้รู้เรื่อง อ่านเยอะๆ จะทำให้มีศัพท์ไปฝึกเขียนได้ พอเขียนเยอะๆ จะทำให้สามารถพูดได้คล่อง เพราะ ได้ฝึกแต่งประโยคจากการเขียนมาแล้ว
- สรุปคือ อ่านเยอะๆ เขียนเยอะๆ จะพัฒนาการฟังและการพูดให้ดีขึ้นได้
- แต่การพูด จะมีรายละเอียดบางอย่างเพิ่มจากการอ่าน เช่น การพูด วันที่ เวลา ตัวเลขต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะสามารถเรียนรู้ได้ผ่านการฟังเยอะๆอีกที
- อ่านนิยาย(eng) มีความสำคัญในการพัฒนาภาษาพูด, อ่านตำรา(textbook) มีความสำคัญในการพัฒนาภาษาเขียน
Tags
ได้หนังสือต่างประเทศ มาในราคา 3 เล่ม 200 บาท มีทั้งมือหนึ่งและมือสอง ส่วนเล่มที่เป็นอัตชีวประวัติของ Barack Obama ได้มาในราคา 250 บาท (กำลังอ่านเป็น pdf อยู่เลย) ถือว่าคุ้มมากๆ
หนังสือบางประเภท พวกนิยาย เน้นอ่านเอาความสนุก ไม่ได้เน้นเนื้อความมาก ให้พยายามฝึกอ่านด้วยวิธีเดาคำศัพท์จากบริบท ยังไม่ต้องเปิดพจนานุกรม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งเหมือนกัน, ส่วนหนังสือที่ต้องการสาระจากการอ่าน เช่น อัตชีวประวัติบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ก็อ่านแบบเปิดพจนานุกรมไปด้วยก็ได้ การรู้ศัพท์ทุกคำ จะช่วยให้ใช้ภาษาได้แบบ Native หลากหลายขึ้น
พูดถึงช่วงนี้ที่อ่านตำรา Grammar เพิ่มเติมก็เข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นเยอะมากเลยนะ กะว่าจะอ่านจนเข้าใจมันจริงๆ ตอนนี้ก็เริ่มมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น อย่างน้อยก็เริ่มแต่งประโยคได้แบบเข้าใจหลักการมากขึ้น ไม่ได้แต่งตามความคุ้นชินอย่างเดียว
Tags
https://www.youtube.com/@DrCywesCarbAddictionDoc
โดยส่วนตัว ไม่ได้กิน keto แต่อย่างใด เพียงแต่ ทำ Fasting เฉยๆ
อย่างไรก็ตาม เป็นช่องความรู้ที่น่าสนใจ เพราะ เล่าโดยศัลยแพทย์ ที่เป็น MD จริงๆ ไม่ใช่ Dr. ที่จบจัดกระดูกมาเล่า(เจอเยอะนะ ถ้าเจอช่องไหน ต้องลองเอาชื่อไป search google ดูก่อน ว่าที่เขียนว่า Dr. นั้น จบแพทย์ที่เป็น MD รึเปล่า หรือเรียนอะไรง่ายๆให้ได้ Dr. เช่น จัดกระดูก แล้วมาเปิดช่อง youtube)
คิดว่าสามารถฟังได้ทุกวัน เพราะ แต่ละตอนเพียงแค่สั้นๆ ทำให้ได้ความรู้สุขภาพ และ ได้ฝึกฟังภาษาอังกฤษอย่างจริงจังด้วย
วันนี้ ตอนกินข้าว รู้สึกเบื่อๆไม่มีอะไรทำ เปิด youtube ก็มีแต่ video ประเภทเดิมๆซ้ำๆ(algorithm จัดมาให้) ไม่มีอะไรน่าสนใจหรือมีสาระเท่าไหร่ เลยเปิด wikipedia หาอะไรอ่านเล่นซะเลย
อย่างน้อยๆอ่าน wikipedia เพื่อฝึกภาษาอังกฤษไปด้วย(ช่วงนี้อ่านหนังสือ English grammar อยู่) เวลาอ่าน ก็ดูรูปแบบโครงสร้างประโยคบ้าง เท่าที่มีความรู้จะดูออก หรือ ดูคำศัพท์ใหม่ๆที่เราไม่รู้ หรือ ไม่แน่ใจบ้าง ก็เพลินดีนะ น่าจะลองอ่านพวกสำนักข่าวต่างประเทศดูบ้างก็ดี(แต่ที่นึกออกเป็นอย่างแรกคือ wikipedia)
ถ้าจะฝึกอังกฤษให้เก่งแบบ native (เหมือนเจ้าของภาษา) ก็น่าจะต้องคอยเก็บเล็กเก็บน้อยแบบนี้ไปเรื่อยๆแหละ
*หลังจากที่อ่านตำราแกรมม่ามาช่วงนึง ตอนนี้ก็เริ่มอ่านภาษาอังกฤษลื่นไหลขึ้นแล้วนะ ส่วนหนึ่งเกิดจาก ความรู้ด้านแกรมม่าที่มากขึ้น มองโครงสร้างประโยคได้ดีขึ้น อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการรู้ศัพท์มากขึ้น(หลังจากที่ตอนแรก เจอศัพท์ใหม่ๆที่ไม่คุ้นชิน ต้องคอยเกิดdictionaryอย่างยากลำบากอยู่ช่วงนึง) อีกส่วนหนึ่ง เกิดจากการที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภาษา มีการเกิด Neuroplasticity(การสร้าง-ปรับเปลี่ยน เครือข่ายใยประสาทเพิ่มเติม) หลังจากฝึกอ่านไปสักพัก เพื่อรองรับการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ
Tags
หลังจากที่ได้ลองพยายามหาตำราแกรมม่า ที่ดีที่สุด พบว่า จะลักษณะการอธิบายอยู่ 2 แบบ คือ (1) จะเป็นการแจกแจงกรณี คือ บอกเลยว่าทำอะไรได้บ้าง ซึ่งพบได้ตั้งแต่ตำรารุ่นเก่าๆ จนถึงปัจจุบันก็ยังมีนะ ข้อเสียคือ การแจกแจงกรณีมักจะไม่ได้อธิบายถึงหลักเหตุผลที่แท้จริง ซึ่งถ้าต้องจำทุกกรณี คงไม่มีทางเป็นไปได้แน่ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้แกรมม่าเข้าใจได้ยาก (2) จะเป็นการอธิบายถึงหลักการพื้นฐานต่างๆในแกรมม่า และนำหลักการพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ ซึ่งพบในตำราแบบใหม่ ซึ่งถ้าเราเข้าใจเหตุผล เราจะสร้างประโยคยังไงก็ได้ ทำให้เข้าใจภาษาง่ายกว่ามาก โดยไม่ต้องจดจำอะไรเยอะ
โดยได้ลองอ่านประมาณ 3 เล่มด้วยกัน โดยจะเรียงตามลำดับความเข้าใจยาก ดังนี้
- Oxford practical english usage 4th edition ของ Michael Swan เป็นการอธิบายโดย การแจกแจงกรณีว่าใช้แบบไหนได้บ้าง ใช้ศัพท์แกรมม่าค่อนข้างเยอะ แต่ไม่ค่อยมีคำอธิบายหรือหลักการที่เข้าใจง่ายนัก และ ไม่ค่อยเหมาะกับคนทั่วไปเท่าไหร่ น่าจะเหมาะกับคนที่เรียนภาษาโดยตรงมากกว่า เหมาะจะเป็น Reference เพราะ แจกแจงทุกกรณีอย่างละเอียด หรือเอาไว้อ่านเพิ่มภูมิความรู้ กรณีที่เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษประมาณนึงแล้ว
- Collin cobuild english grammar 4ed 2017 เป็นการอธิบายแกรมม่าโดย เป็นรูปแบบการแจกแจงกรณีเช่นกัน ที่เข้าใจง่ายกว่าเล่มแรกหน่อย และ มีคำอธิบายที่มีเหตุผล พร้อมตัวอย่าง ที่เข้าใจง่าย ด้วยความที่เข้าใจง่ายกว่าเล่มแรก แต่ก็ยังอ่านแล้วสับสนได้อยู่ดี จึงเหมาะใช้อ่านเสริมความรู้ ให้สามารถใช้งานภาษาให้ smooth เหมือนเจ้าของภาษา(native)มากขึ้น
- Oxford Modern English Grammar ของ Bas Aarts เป็นการอธิบายแกรมม่า แบบมีหลักการและเหตุผลรองรับ ซึ่งช่วยให้เข้าใจแกรมม่าและวิธีการใช้มากขึ้น แบบไม่ต้องท่องจำอะไรนัก ไม่ใช่การแจงแจงกรณีแล้วยกตัวอย่างลอยๆ เป็นตำราที่ดีเล่มหนึ่ง การที่เรารู้หลักการและเหตุผล ทำให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ต่อยอดเองได้เรื่อยๆ และสามารถใช้ภาษาได้อย่างมั่นใจ จากความเข้าใจจริงๆ เป็นวิธีการสอนที่ดีมาก ไม่เหมือนตำราเล่มอื่นๆ แนะนำสำหรับเป็นตำราที่ต้องมีทุกคน สำหรับจะเรียนภาษา
โดยส่วนตัว แนะนำเล่ม 3 ส่วนเล่ม 2 ไว้อ่านเพิ่มเติม ส่วนเล่ม 1 เนื้อหาจะแนวเดียวกับเล่ม 2 แต่เล่ม 2 จะอ่านง่ายกว่า เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปมากกว่า(ความรู้สึกส่วนตัว) ซึ่งหากสนใจลองหาดูในอินเตอร์เน็ตได้ มีในรูปแบบไฟล์ pdf ให้ดาวน์โหลดมาลองอ่าน แต่หากอ่านแล้วชอบ ก็อย่าลืมอุดหนุนหนังสือจริง เพื่อสนับสนุนผู้เขียนด้วยนะ
แต่ทั้งนี้ การเรียนรู้ทุกอย่างไม่มีทางลัด ซึ่งต้องใช้ความพยายาม ต่อให้ตำราจะดีเพียงใด มันก็ไม่ได้สบาย หรือง่ายหรอกนะ ยังไงก็ต้องใช้ความพยายาม ความอดทนในการอ่านอยู่ดีนะ
นอกจากนี้ ที่แนะนำไปเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว รูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน อาจมีตำราที่ดีกว่าที่แนะนำไปก็ได้(เพราะเพิ่งลองแค่ 3 เล่มเอง) หรือที่ว่าไม่ดี อาจจะดีกับบางคนก็ได้ ต้องลองหาอ่านด้วยตัวเองดูนะ(search google ว่า "best english grammar book")
Tags
อันนี้เป็นตัวอย่าง live ของสำนักข่าว ABC news
คิดว่ามีข้อดีหลายอย่างเลยนะ
- ได้เห็น วัฒนธรรม การใช้ชีวิตจริง ที่ไม่ได้อยู่ในภาพยนตร์(รู้สึกตื่นเต้นมาก เหมือนได้เห็นชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง)
- ได้ฟังสำนวนการพูดแบบปกติ ที่นอกเหนือจากภาพยนตร์
- ฟรี เปิดคลอได้ทั้งวัน
*แต่ก่อนจะฝึกฟัง ต้องฝึกอ่านให้รู้ศัพท์เยอะๆ ก่อนนะ ถ้าเราไม่รู้ศัพท์ที่ไม่มากพอ ก็ไม่สามารถฝึกฟังได้รู้เรื่องเท่าไหร่
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแหล่ง สำหรับฝึกการฟัง
- https://www.cbsnews.com/live/ อันนี้เป็น Live จริงๆ ไม่ได้เปิดคลิปวนๆ
- BBC world service อันนี้ฟังผ่าน App ได้ เป็น Live จริงๆ
- https://www.youtube.com/@ABCLearningEnglish อันนี้เป็นแบบฟังง่าย
- https://www.youtube.com/@EnglishSpeeches อันนี้เป็นspeech ของบุคคลสำคัญต่างๆ
- https://librivox.org/ อันนี้เป็นหนังสือเสียง มีข้อดีคือ สามารถอ่านไปคู่กับหนังสือได้ แล้วยังเลือกหนังสือที่อยากฟังเองได้ด้วย
ข้อดีของประเภท Live สด คือ มีเนื้อหาพวกข่าวใหม่ๆ ในโลก ตลอด ที่จะช่วยกระตุ้นให้เราสนใจ และเงี่ยหูฟังโดยอัตโนมัติ, แต่หากเป็นการเปิดวนซ้ำ พอเราเคยฟังไปแล้ว เราก็จะไม่ได้ใส่ใจมัน และ ไม่ฟังมันอีก ก็จะกลายเป็นการเปิดทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้ฟังอะไร, ส่วนหนังสือเสียง ถ้าเป็นเรื่องที่เราสนใจ สนุกน่าติดตาม เราก็คงจะอยากฟังแหละ นอกจากนี้อาจรวมถึง podcast ก็ด้วย แต่ podcast มักจะไม่มี script ให้อ่าน อาจจะเป็นข้อจำกัดเล็กน้อย