- หลังจากที่ปรับเปลี่ยนมากินอาหารมากขึ้น โดยเพิ่มช่วงเวลาในการกิน เป็น 6 ชม และ อด 18 ชม โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ ก็พบว่ามีแรงทำงาน แล้วยังเหลือแรงในการอ่านหนังสือ อย่างจริงจัง ต่อในตอนเย็น ต่างจากเมื่อก่อน ที่ใน 1 วัน จะกินเพียง 1 ชม. ครึ่ง แล้วที่เหลืออดต่อเนื่อง 22.5 ชม ซึ่งพอตกเย็นก็อ่อนเพลียจนทำงานที่ใช้ความคิดไม่ได้แล้ว
- อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อ่านหนังสือได้ดีขึ้น คือ ตั้งแต่ที่รู้ว่า ไม่ได้มีปัญหาสายตามากมายอย่างที่คิด ตัวเราอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์แบบทุกอย่าง โดยความยากลำบากในการอ่านที่เกิดขึ้นขณะอ่าน ไม่ได้เกิดจากปัญหาสายตาแต่อย่างใด หากแต่เป็นปกติของการเรียนรู้ ที่ต้องใช้ความอดทน ความพยายาม จึงตั้งใจพยายามอ่านอย่างจริงจังเต็มที่ จนอ่านได้มากขึ้น
- เริ่มเกิดปณิธานใหม่ คือ "ทำอย่างไรความเพียรพยายามของเรา จะสามารถเกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มากได้"
สรุปในด้านการพัฒนาตนเองนะ ยังไม่สรุปภาพรวมชีวิตว่ามี routine อะไรที่ควรปรับปรุงบ้าง
- ได้ตรวจสายตากับจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทตาและกล้ามเนื้อตา จากที่เคยสงสัยว่าจะมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อตาและภาวะ convergence insufficiency
- ก็พบว่ามี exophoria ที่ตาขวา PD 6 ขณะมองใกล้มั้งนะ(แอบเหลือบไปดู medical record) แต่หากมองสองตาจะไม่เกิดภาพแยก จึงเรียกว่า ภาวะเหล่ซ่อนเร้น
- ซึ่งคุณหมอบอกว่าไม่เยอะมากถึงขนาดที่จะต้องทำการรักษาอะไร ให้ติดตามดูอาการ อาจมีผลในเรื่อง การอ่านหนังสืออาจมีตาล้าได้ง่ายกว่าคนปกติได้บ้าง
- ส่วนเรื่อง convergence insufficiency จะมากและมีผล ก็ต่อเมื่อเห็นภาพซ้อน หากยังไม่เห็นภาพซ้อนก็นับว่ายังไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งจริงๆของตัวเอง มันเกิดจากการที่มี exophoria เล็กน้อยนี่แหละ
- ส่วนเรื่อง การฝึก pencil push up อาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่มันไม่ได้มีงานวิจัย ว่าช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาโดยตรง
- ก็พบว่ามี exophoria ที่ตาขวา PD 6 ขณะมองใกล้มั้งนะ(แอบเหลือบไปดู medical record) แต่หากมองสองตาจะไม่เกิดภาพแยก จึงเรียกว่า ภาวะเหล่ซ่อนเร้น
- แสดงว่าทุกวันนี้ เราอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว สำหรับการอ่านหนังสือ แต่หากมีปัญหา หรือ อยากเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านให้มากขึ้น ให้พิจารณาปัจจัย ดังนี้
- เนื้อหาที่อ่าน เราไม่ถนัด ไม่เคยเจอมาก่อน ทำให้ต้องใช้เวลา ความอดทน ความพยายาม ในการทำความเข้าใจ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ (โดยเฉพาะวิชาที่เราไม่ชอบ แต่ต้องจำใจอ่าน [เพราะมีความรู้บางอย่างที่จำเป็นต้องใช้] แต่อย่าให้เกิน 10-20% จากสัดส่วนเนื้อหาที่เราชอบนะ ไม่งั้นจะขาดแรงกระตุ้นจากสิ่งที่ชอบ และจะเฉี่อยชา)
- วิ่ง/ออกกำลังกาย ก็ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ประสิทธิภาพการอ่านจะดีขึ้นได้
- นั่งสมาธิ ช่วยให้เรามีสมาธิกับการอ่านได้ และช่วยให้ภาวะวิตกกังวล(anxiety)ลดลง
- ทั้งนี้ อย่าหวังผลประโยชน์จากการฝึกสมาธิ เพราะ มันเอาความแน่นอนไม่ได้ ถ้าเราทำสมาธิได้ดีช่วงหนึ่งแล้วเราก็ยิ่งพึ่งพาสมาธิ เพื่อไปทำงานที่ยากเกินตัว อีกช่วงนึงหากสมาธิเสื่อม เราจะลำบากแน่นอน
- ผลที่หวังได้จากการทำสมาธิ มีเพียงแค่ การช่วยให้ภาวะวิตกกังวล(anxiety)ลดลง เท่านั้น
- ทั้งนี้ อย่าหวังผลประโยชน์จากการฝึกสมาธิ เพราะ มันเอาความแน่นอนไม่ได้ ถ้าเราทำสมาธิได้ดีช่วงหนึ่งแล้วเราก็ยิ่งพึ่งพาสมาธิ เพื่อไปทำงานที่ยากเกินตัว อีกช่วงนึงหากสมาธิเสื่อม เราจะลำบากแน่นอน
- อีกวิธีนึงคือ ใช้สติ สร้างสมาธิในการอ่าน คือโดยปกติ ตำรามีหลายรูปแบบ บางเนื้อหาอาจจะไม่เหมาะการใช้สมาธิตรงๆเสียทีเดียว เพราะ เนื้อหาบางอย่าง ต้องอ่านไปคิดไป พอคิดมากๆอาจทำให้ฟุ้งซ่าน และเริ่มคิดนอกเรื่อง ให้มีสติรู้ทันการคิดฟุ้งซ่าน แล้วกลับมาอ่านหนังสือต่อ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะอยู่กับเนื้อหาได้ตลอดการอ่าน
- การทำ Intermittent Fasting จะช่วยเพิ่ม Neuroplasticity ได้ ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงในเรื่องการเรียนรู้
- แต่ถ้า IF มากไป(อดเกินพอดี) จะไม่มีแรงอ่านหนังสือ หรือทำงาน ชีวิตก็หยุดอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาเพิ่มเติมนะ
- โดยปกติ ถ้าอยากมีแรง อ่านหนังสือหรือทำงานทั้งวันทั้งคืน การทำ IF 18/6 น่าจะได้นะ คือ กินอาหารในช่วง 6 ชม กินเท่าไหร่ก็ได้ แล้วที่เหลือ 18 ชม ก็อด โดยอาจจะทำแบบศีล8 ก็ได้ คือ กินในช่วงเช้าถึงก่อนเที่ยงเท่านั้น
- โดยส่วนตัวเคยลองแบบ 22.5/1.5 ปรากฏว่า ไม่มีแรงตอนเย็นนะ ไม่มีแรงพอที่จะอ่านหนังสือ หรือทำงานที่ใช้ความคิด อย่างจริงจังต่อ
- การกินเท่าไหร่ก็ได้ ต่อให้เรากินมาก แต่ถ้าอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มันก็ยังได้ประโยชน์มากกว่า การกินปริมาณเท่ากันแต่แบ่งกินทั้งวันนะ
- จริงๆ เรื่องปริมาณการกิน แรกๆอาจจะกินเยอะมากเกินไป แต่สุดท้าย ถ้ามันเกินกว่าที่ต้องการ ร่ายกายน่าจะค่อยๆปรับลดความอยากอาหารลงเองนะ แต่ถ้ากินน้อยไป มันก็จะอ่อนเพลียหมดแรงและมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
- ชั่วโมงการกิน ถ้าบีบให้แคบลง น่าจะได้ประโยชน์ในเรื่องสุขภาพมากขึ้น แต่โดยส่วนตัวคิดว่า ก็ไม่ควรน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอกับพลังงานที่ต้องใช้ และอย่างน้อยๆขอให้อยู่ในช่วงเช้า-เที่ยง แบบศีล8 เพราะ อาหารจะย่อยหมดในช่วงเย็นพอดี และ เอื้อต่อการเกิด Neuroplasticity ที่จะเกิดเป็นปกติในขณะนอนหลับ ได้พอๆกัน
- โดยปกติ ถ้าอยากมีแรง อ่านหนังสือหรือทำงานทั้งวันทั้งคืน การทำ IF 18/6 น่าจะได้นะ คือ กินอาหารในช่วง 6 ชม กินเท่าไหร่ก็ได้ แล้วที่เหลือ 18 ชม ก็อด โดยอาจจะทำแบบศีล8 ก็ได้ คือ กินในช่วงเช้าถึงก่อนเที่ยงเท่านั้น
- แต่ถ้า IF มากไป(อดเกินพอดี) จะไม่มีแรงอ่านหนังสือ หรือทำงาน ชีวิตก็หยุดอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาเพิ่มเติมนะ
เคยใช้ partition manager ที่เป็น GUI ในการ mount partition แบบ auto แต่ปรากฎว่าคอมบูตไม่ขึ้น เพราะมันไปแก้ไฟล์ config ใน /etc/fstab ผิดพลาด (ต้องใช้ linux live usb ตามเข้าไปแก้ไฟล์ /etc/fstab ที่เขียนผิดอีกที) เลยทำแบบ manual ดีกว่า โดยการเข้าไปแก้ ไฟล์ /etc/fstab
- เปิด Terminal
- ใช้คำสั่ง
sudo blkid
เพื่อดูรหัส UUID ของ drive/partition ที่เราต้องการ
หรือใช้คำสั่งsudo lsblk -f
ก็ได้ซึ่งจะดูง่ายกว่า - พิมพ์คำสั่ง
kate /etc/fstab
- ในส่วนของการแก้ไขไฟล์ fstab จะมีการกำหนดรายละเอียดของ partition ที่เราต้องการ mount ซึ่งจะแยกรายละเอียดเป็นคอลัมน์ ด้วยการกด tab(ไม่ใช้spacebarนะ) โดยมีคอลัมน์เรียงตามลำดับ ดังนี้
- File system จะเป็นค่า UUID ของ partition ที่เราต้องการ mount
- Mount point จะเป็นตำแหน่งที่ต้องการให้ mount เช่น /backup, /var เป็นต้น
- File system type ของ partition นั้นๆ เช่น Ext4, NTFS, exFAT, FAT32 เป็นต้น
- Options ค่าปกติ คือ defaults (ดูตัวเลือกเพิ่มเติม)
- Dump เป็นการตั้งค่าการ Backup แต่เป็นวิธีที่เก่าแล้ว ไม่ควรใช้ ควรตั้งให้เป็น 0 คือ ไม่มีการ backup (สำหรับ 1 คือ backup)
- Fsck(File System Check Order) ค่า 0 คือ ไม่มีการตรวจสอบ, 1 มีการตรวจสอบเป็นอันดับแรก จะใช้เฉพาะ root partition, 2 จะมีการตรวจสอบหลังจากอันดับแรก โดยใช้กับ partition เก็บข้อมูลอื่นๆ(ใช้ค่า 2 เหมือนกันหมดนะ)
- การแก้ไข จะทำการขึ้นบรรทัดใหม่ แล้วใส่ค่าต่างๆลงไปตามที่อธิบายข้างต้น เช่น
UUID=368296DD8296A0C3 /backup ntfs defaults 0 2
- จากนั้นทำการ save
- ในส่วนของการแก้ไขไฟล์ fstab จะมีการกำหนดรายละเอียดของ partition ที่เราต้องการ mount ซึ่งจะแยกรายละเอียดเป็นคอลัมน์ ด้วยการกด tab(ไม่ใช้spacebarนะ) โดยมีคอลัมน์เรียงตามลำดับ ดังนี้
- ทั้งนี้ อย่าลืมสร้างโฟลเดอร์รองรับตำแหน่งที่เราตั้งค่าในการ mount ด้วย ในที่นี้คือ /backup
- ไปที่ terminal
- พิมพ์คำสั่ง
cd /
sudo mkdir (ชื่อโฟลเดอรที่เราต้องการ ในที่นี้คือ backup)
- ทำการอัพเดตค่าที่ตั้งไว้ โดยใช้คำสั่ง
sudo systemctl daemon-reload
sudo mount -a
- เป็นอันเสร็จสิ้น
Tags
- แก้ apt repositories
- เปิด terminal พิมพ์คำสั่ง
kate /etc/apt/sources.list
- เพิ่ม
contrib non-free
ลงไปที่ท้ายแต่ละ repo - เพิ่ม # ที่บรรทัด แรก ที่เป็น repo จาก cdrom
- save
- เปิด terminal พิมพ์คำสั่ง
- เพิ่ม user เป็น sudo
- เปิด terminal พิมพ์คำสั่ง
su
แล้ว enter แล้วตามด้วยpassword
- พิมพ์คำสั่ง
sudo usermod -aG sudo "ชื่อusername ของเรา โดยที่ไม่ต้องมีเครื่องหมายคำพูด"
- พิมพ์คำสั่ง
kate /etc/sudoers
- ที่บรรทัด
root ALL=(ALL:ALL) ALL
ให้ขึ้นบรรทัดใหม่แล้วเพิ่มชื่อusernameของเรา ALL=(ALL:ALL) ALL
- ที่บรรทัด
- เปิด terminal พิมพ์คำสั่ง
- ลง Driver Nvidia(กรณีใช้ GPU ของ Nvidia นะ)
- อย่าลืมแก้ repo ในข้อ 1 ก่อน
- เปิด terminal พิมพ์คำสั่ง
sudo apt install linux-headers-amd64
- ตามด้วยคำสั่ง
sudo apt update
sudo apt install nvidia-driver firmware-misc-nonfree
- ตามด้วย
sudo apt install nvidia-cuda-dev nvidia-cuda-toolkit
sudo apt install libnvoptix1
- ติดตั้ง envycontrol เพื่อสลับโหมดระหว่าง dGPU และ iGPU(ที่มา) สำหรับ laptop ที่มี GPU 2 ตัวแยกกัน
- Download envycontrol
- ติดตั้ง
- ไปที่ terminal พิมพ์คำสั่ง เพื่อตั้งค่า ให้มีการสลับGPU อัตโนมัติ
sudo envycontrol -s hybrid --rtd3
- จริงๆมีตัวเลือกอื่นอีก ได้แก่
sudo envycontrol -s integrated
จะใช้เฉพาะ iGPUsudo envycontrol -s nvidia --force-comp
จะใช้เฉพาะ dGPU
- จริงๆมีตัวเลือกอื่นอีก ได้แก่
- กรณีที่ต่อจอแยก(external monitor) มากกว่า 1 จอ(มีจอแยกอีก 2 จอ) จะต้องตั้งค่าให้ใช้เป็น dGPU เท่านั้นจึงจะต่อออกได้ ด้วยคำสั่ง
sudo envycontrol -s nvidia --force-comp
และในหน้าจอ Login เข้าใช้งาน ให้เลือก window manager จาก Wayland เป็น X11- ทั้งนี้หากต่อแล้ว หน้าจอรวน ให้ปิดเครื่อง แล้วต่อจอแยกกับlaptopให้ครบก่อน แล้วค่อยเปิดเครื่องใหม่
- มีการใช้คำสั่ง xrander สำหรับล๊อคค่า resolution ไว้ที่เดิมตลอด ไม่แน่ใจว่าจะช่วยตอน หน้าจอรวน ไหมนะ แต่แปะไว้ก่อน https://medium.com/@AbhiXpert/add-change-the-custom-resolution-of-your-display-using-xrandr-on-ubuntu-18-04-in-a-minute-338caec6e29
- อีกวิธีหนึ่งคือ ใช้คำสั่ง reset Desktop environment ที่ใช้อยู่ เช่น กรณีใช้ KDE environment
sudo systemctl restart sddm.service
- ทั้งนี้หากต่อแล้ว หน้าจอรวน ให้ปิดเครื่อง แล้วต่อจอแยกกับlaptopให้ครบก่อน แล้วค่อยเปิดเครื่องใหม่
Tags
ช่วงที่ผ่านมาไม่ค่อยได้วิ่งออกกำลังกาย เลยไม่ค่อย active ทีจะโพสเท่าไหร่ แต่หลังจากนี้น่าจะวิ่งตลอด และโพสเรื่อยๆ ทั้งเรื่องไอเดีย ปัญหาส่วนตัวที่ยังติดอยู่ และการคิดหาทางแก้ไข
ส่วนเรื่องการอ่านหนังสือ ตอนนี้อ่านได้ดีขึ้น หลังจากทำ pencil push up ซึ่งยังต้องวิจัยต่อไปว่า วิธีทำที่ถูกต้องและได้ผลดีที่สุดควรเป็นอย่างไร หลักๆ จะเป็นการโปรแกรมระบบประสาท(CN 3) ที่ควบคุมกล้ามเนื้อ Medial rectus muscle ผ่านการฝึก(training) ให้ระบบประสาทสามารถ ควรคุมกล้ามเนื้อตาให้ทำงานได้อย่าง smooth และ เหมาะสม
การฝึก pencil push up ที่ได้ผล คือ ให้ใช้ตาทั้งสอง มองที่ลายนิ้วมือ (นิ้วชี้น่าจะสะดวกสุด) แล้วเลื่อนเข้ามาตรงกลางตาทั้ง 2 เรื่อยๆ โดยระหว่างเลื่อน ก็จ้องตามไปที่ลายนิ้วมือตลอดเวลา โดยที่สายตาต้องพยายามโฟกัสภาพลายนิ้วมือให้ชัดให้ได้มากที่สุด โดยเมื่อเลื่อนนิ้วเข้ามาใกล้ จนถึงระยะที่ลายนิ้วมือเริ่มเบลอ ไม่ชัด ให้ลองถอยนิ้วมือห่างออกไปจนภาพกลับมาชัด แล้วค่อยๆเลื่อนเข้ามาใกล้ๆอีกโดยพยายามโฟกัสภาพให้ชัดที่สุด โดยฝึกมองลายบนนิ้วมือที่เลื่อนเข้าออกไปเรื่อยๆ อย่างน้อยวันละ 15 นาที หากฝึกไปเรื่อยๆ ระยะที่สามารถโฟกัสภาพให้ชัดจะใกล้ขึ้นได้ และจะอ่านหนังสือได้ smooth ขึ้น
หลังจากที่ได้ลาออกจากงานประจำเดิม ซึ่งเป็นงานที่ไม่ชอบและไม่ถนัด และเปลี่ยนทิศทางชีวิตกลับไปศึกษาในสิ่งที่ตนเองถนัด และชอบ จึงทำให้ได้กลับมาทบทวนตัวเองอีกครั้ง ว่า เราจะควรจะดำเนินชีวิต ในรูปแบบไหน นับจากนี้ดีนะ
ถ้าพูดถึง การตั้งเป้าหมาย จริงๆจะมีอีกสิ่งหนึ่งที่มักจะถูกมองข้ามไป คือ การตั้งปณิธาน โดยลักษณะมีความแตกต่างกัน คือ
- เป้าหมาย มักเป็นสิ่งที่เรา มองเห็น หรือ คาดการณ์ได้ เท่าที่เราจะมีความรู้ หรือ จินตนาการออก และ มักจะเป็นเชิงรูปธรรม จับต้องได้ อาจจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ได้ โดยถ้าสำเร็จเป้าหมายหนึ่ง ก็มักจะต้องมีเป้าหมายต่อไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด ตราบเท่าที่ยังมีความต้องการอยู่ โดยลักษณะมักจะคล้ายๆ สิ่งที่เรียกว่า target
- ปณิธาน ไม่ใช่การมองไปข้างหน้าแบบเป้าหมาย แต่จะมุ่งกลับมาที่ตัวเราเอง โดยมักจะเกี่ยวข้องกับ หลักความคิดที่เรายึดถือ เพื่อให้เราเกิดกำลังใจ ในการเพียรพยายามต่อไป โดยจะเป็นในเชิงนามธรรม จับต้องไม่ได้ เป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แก่ใจ ลักษณะมักจะคล้ายๆกับ สิ่งที่เรียกว่า passion
โดยส่วนตัว คิดว่าการตั้งปณิธาน สำคัญกว่าการตั้งเป้าหมาย เพราะ การตั้งเป้าหมาย หลายๆครั้งมักเป็นการจำกัดกรอบตัวเอง ทั้งในเรื่องความคิด การกระทำ รวมไปถึงวิธีการ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งมักจะเป็นไปเพื่อสนองอัตตาตัวตนมากกว่า และมักจะทำให้วิสัยทัศน์ในการตัดสินใจคับแคบลง เป็นไปเพื่อเป้าหมายของตนเองเป็นหลัก โดยมาก การตั้งเป้าหมาย มักใช้เป็นเพียงการตั้งคร่าวๆ ในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น และไม่ควรจริงจังกับมัน ไปให้ความสำคัญกับปณิธานที่เราตั้งใจไว้จะดีกว่า
ในการตั้งปณิธาน จะเป็นเหมือน การตั้งเข็มทิศที่ชีวิตจะมุ่งไปในระยะยาว ต่อให้ระยะทางจะเจอความลำบาก แต่เราก็จะยังมุ่งไปตามเข็มทิศที่เราตั้งไว้ โดยอาศัยหลักความคิดที่เรายึดถือ เป็นพลัง ในการทำให้เกิดความพยายามต่อไป
วิธีการตั้งปณิธาน เท่าที่เคยลองสังเกตตนเองมา จะมีดังนี้
- ถ้าการตั้งปณิธาน เป็นไปเพื่อการเสียสละทำประโยชน์ให้ส่วนรวม มักจะทำให้เกิดกำลังใจ ให้เพียรพยายามต่อได้มาก เพราะ การทำประโยชน์ให้ส่วนรวม มันสามารถทำได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เนื่องจาก ปัญหาในชีวิตผู้คนมักจะมีมากมาย ที่สามารถพัฒนากันได้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะทางกายภาพ(วัตถุ) หรือ นามธรรม(ความรู้ ศีลธรรม)
- โดยส่วนตัวมีปณิธาน คือ อยากสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์กับชีวิตผู้คน โดยการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใดก็ตาม เพื่อพัฒนาให้ชีวิตคนดีขึ้น สะดวกขึ้น เข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น มีสติปัญญาที่ดีขึ้น มีระดับจิตใจที่สูงขึ้น มีเสรีภาพ และความเท่าเทียม เกิดเป็นสังคมที่สงบสุข โดยที่เทคโนโลยี จะเป็นเพียงส่วนเสริมในชีวิต ไม่เข้ามาแทรกแซงบิดเบือนชีวิต และต้องเอื้อให้คนอยู่กับธรรมชาติได้ดีขึ้น ไม่ใช่การเบียดเบียนธรรมชาติ
- ถ้าการตั้งปณิธาน เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนเอง มักจะไม่ทำให้เกิดแรงใจในการพยายามสักเท่าไหร่ เพราะ กำลังใจที่มาจากความคิดเพื่อประโยชน์ตนเอง มักจะมีจำกัด ต่างจากการคิดอยากพัฒนาให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ต่อให้เราได้ประโยชน์ แต่สิ่งรอบข้างไม่ได้พัฒนาขึ้น เราก็จะต้องอยู่กับสิ่งรอบข้างที่ไม่พัฒนานั้นอยู่ดี ซึ่งชีวิตก็จะวนเวียนกับสิ่งแวดล้อมแบบนี้แหละ ก็จะเป็นความรู้สึกที่แห้งแล้งประมาณนึง
ตัดจบเลย โดยขอทิ้งท้ายไว้คือ อย่าไปจริงจังกับเป้าหมาย(target) เพราะ บางทีมันเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แต่จริงจังกับปณิธาน(passion) ที่เราตั้งไว้กับตัวเองดีกว่า ว่าทุกวันนี้ชีวิตของเรา ยังคงมุ่งไปตามทิศทางที่เราเคยตั้งปณิธานไว้ไหมนะ
Tags
เนื่องจากตอนนี้อยู่หอและ ค่าไฟหอพัก แพงกว่าค่าไฟปกติ เกือบ 3 เท่า ประมาณ 9 บาท ต่อหน่วย แต่ Desktop PC เอามาทำเป็น server เมื่อคิดปริมาณพลังงานที่ใช้แล้ว อยู่ที่ 50w โดยรวมกับ ups ที่กินไฟอีก 10w ก็เป็น 60w เมื่อเปิด24 ชม เป็นเวลา 1เดือน ก็ตกอยู่ที่ 400บาท 6เดือนก็อยู่ที่ 2400บาท ซึ่งราคานี้ก็พอๆกับเช่า Web Hosting ระดับพรีเมี่ยมได้เลย
แต่เนื่องจากเว็บบล๊อกที่ทำอยู่ ก็ไม่ได้มีใครเข้ามาดูสักเท่าไหร่ มันจึงต้องการทรัพยากรการประมวลผลน้อยมากๆ
เลยต้องหาวิธีต่างๆ ในการลดการใช้พลังงานลง ที่ลองทำแล้วได้ผล มีดังนี้
- ปรับแต่ง bios ให้ลด clock frequency ของ CPU, RAM ลงกว่าระดับปกติ มากเท่าที่รู้สึกว่าไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง ลดได้ประมาณ 5w
- ปิดโปรแกรมที่ไม่ใช้ ที่รันอยู่ใน background ลดได้ 10w
- ใช้โปรแกรม powertop จะช่วยพักการทำงานของ hardware ที่ไม่ได้ใช้งานได้
https://bigstep.com/blog/go-green-how-to-optimize-server-power-usage-with-powertop
https://www.linuxlinks.com/saving-money-linux-powertop/- ทั้งนี้ ในหน้า Tunable ต้องดูดีๆ ว่าไม่ได้สั่งพักอุปกรณ์ที่เราใช้งานบ่อยๆ ไม่อย่างนั้นอาจจะหงุดหงิด หรือส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องได้ เช่น คีย์บอร์ด(ต้องกดปุ่มสักพักถึงจะกลับมาตอบสนอง), เมาส์, SSD drive(เว็บจะโหลดช้าไปเลย), wireless/lan card เป็นต้น
- ตั้งค่าเสร็จแล้ว กด esc ค้าง เพื่อออกจากโปรแกรมได้เลย
- จากนั้น อย่าลืมตั้งให้ค่าที่เราตั้งไว้ใน powertop ถูกเรียกใช้งาน ทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่อง ด้วยคำสั่ง
sudo systemctl enable powertop
- ทั้งนี้ ในหน้า Tunable ต้องดูดีๆ ว่าไม่ได้สั่งพักอุปกรณ์ที่เราใช้งานบ่อยๆ ไม่อย่างนั้นอาจจะหงุดหงิด หรือส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องได้ เช่น คีย์บอร์ด(ต้องกดปุ่มสักพักถึงจะกลับมาตอบสนอง), เมาส์, SSD drive(เว็บจะโหลดช้าไปเลย), wireless/lan card เป็นต้น
แต่วิธีที่ลองแล้วไม่ได้ผลคือ
- ปิดการทำงาน core CPU ให้เหลือ core เดียว(แต่ 2 threads นะ)
https://www.baeldung.com/linux/disable-cpu-cores- วิธีการคือ ไปที่ terminal แล้วรันคำสั่ง
sudo kate /etc/default/grub
- จากนั้น หาบรรทัดที่มีคำสั่ง
GRUB_CMDLINE_LINUX_DEFAULT="quiet
- แทรกคำสั่ง
maxcpus=2
เข้าไป ได้เป็นGRUB_CMDLINE_LINUX_DEFAULT="quiet maxcpus=2"
- รันคำสั่ง
sudo update-grub
- reboot เครื่อง
- ไม่ได้ผล กลับกลายเป็นกินไฟมากขึ้น จาก 45w เป็น 50w หาข้อมูลเพิ่มเติม ก็คือ ในปัจจุบัน cpu มีระบบจัดการพลังงานที่ดีขึ้น core ไหนที่ไม่ได้ใช้ มันก็จะไม่กินไฟอยู่แล้ว การที่เราไปแทรกแซง มันกลับจะเป็นผลเสียแทน
- วิธีการคือ ไปที่ terminal แล้วรันคำสั่ง
- เปลี่ยน display manager จาก kde เป็น xfce ซึ่งเบากว่า กินแรมน้อยกว่า มีadd-onเสริมน้อยกว่า แต่ก็ลดได้แค่ 1 w ซึ่งถือว่ามีผลน้อย อาจไม่คุ้มกับความสะดวกที่เสียไป
- ปิด display manager ไปเลย เช่น KDE จะใช้คำสั่ง
sudo systemctl stop sddm.service
ก็ลดลงไปเพียง 1 w เช่นกัน(สำหรับรายชื่อ display manager กับชื่อ service ดูได้ที่นี่ https://wiki.debian.org/DisplayManager )
- ปิด display manager ไปเลย เช่น KDE จะใช้คำสั่ง
Tags
รายจ่าย\วันที่(ก.ย.66) | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
กับข้าว+ข้าว | 100 | 70 | 70 | 80 | 80 | 70 |
ขนม | 20 | 25 | 25 | 15 | 20 | 50 |
ผลไม้ | 20 | 20 | 20 | 15 | 20 | 20 |
น้ำดื่ม | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 |
รวมค่าอาหารใน 1 วัน | 160 | 135 | 135 | 130 | 140 | 160 |
ค่าอาหารเฉลี่ยต่อวัน | 143.3333333 | |||||
ค่าอาหารต่อเดือน | 4443.333333 | |||||
ค่าไฟ เปิดเต็มชมละ 200w=1.8บาท เปิด 18ชม |
32.4 | |||||
ค่าไฟ ตอนนอน ชมละ 20w(พัดลม)+20w (เครื่องกรองอากาศ)=0.36บาท เปิด 6 ชม |
2.16 | |||||
รวมค่าไฟใน 1 เดือน |
1071.36 | |||||
ค่าหอ ต่อเดือน | 2200 | |||||
ค่าน้ำ ต่อเดือน | 200 | |||||
รวมต่อเดือน | 7914.693333 | |||||
รวม 6 เดือน | 47488.16 |
Tags
เท่าที่สังเกตตัวเอง เวลาที่อ่านหนังสือจาก e-reader หรือ หนังสือปกติ ซึ่งต้องถืออยู่ในระยะช่วงแขน (<50 ซม.) จะไม่สามารถอ่านได้นานสมาธิก็จะหลุด แบบว่าอ่านท้ายประโยค จะลืมต้นประโยคและต้องกลับไปอ่านประโยคนั้นซ้ำใหม่!
แต่หากอ่านหนังสือจาก หน้าจอ monitor ขนาดใหญ่ จะสามารถขยายหน้าหนังสือให้ใหญ่ขึ้น และ อ่านจากระยะสายตาที่ไกลขึ้นได้(>1 ม.) ซึ่งปัญหาสมาธิหลุด จากการอ่านท้ายลืมต้นประโยค ก็ไม่เกิด และอ่านได้ดีกว่า
ซึ่งจริงๆมันไม่ควรจะเป็นแบบนั้น ควรจะอ่านจากหนังสือได้นานกว่า และ สบายตากว่า การอ่านจากหน้าจอสิ!
ทำให้นึกถึงแต่ก่อน ที่เคยตรวจสายตากับพี่นักทัศนมาตร ท่านหนึ่ง ซึ่งใช้เครื่องมือตรวจเยอะมาก และ ตรวจทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับตา ในตอนนั้นพบว่ามีปัญหาเรื่อง กล้ามเนื้อตา ไม่สามารถเหล่ตาเข้ามาหากันได้อย่างเหมาะสม ขณะมองใกล้ ซึ่งเรียกว่าภาวะ convergence insufficiency โดยทางแก้ที่เคยได้รับคำแนะนำคือ ให้ทำ pencil puch up แต่ตอนนั้นทำได้สักพักก็หยุดทำไป เพราะ ไม่ค่อยมีเวลา ประกอบกับไม่มีตัวชี้วัดว่าดีขึ้นหรือยัง เลยไม่ได้ทำต่อ
จึงขอบันทึกไว้ก่อน เพราะ สาเหตุหลักของการไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ(แต่อ่านจากหน้าจอคอมได้ดีกว่า) ที่พยายามสรรหาวิธีการต่างๆ นานา ที่จะทำให้ดีขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจจะมีคำตอบง่ายๆด้วยการฝึกกล้ามเนื้อตาก็ได้
Tags
อันนี้เป็นตัวอย่าง live ของสำนักข่าว ABC news
คิดว่ามีข้อดีหลายอย่างเลยนะ
- ได้เห็น วัฒนธรรม การใช้ชีวิตจริง ที่ไม่ได้อยู่ในภาพยนตร์(รู้สึกตื่นเต้นมาก เหมือนได้เห็นชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง)
- ได้ฟังสำนวนการพูดแบบปกติ ที่นอกเหนือจากภาพยนตร์
- ฟรี เปิดคลอได้ทั้งวัน
*แต่ก่อนจะฝึกฟัง ต้องฝึกอ่านให้รู้ศัพท์เยอะๆ ก่อนนะ ถ้าเราไม่รู้ศัพท์ที่ไม่มากพอ ก็ไม่สามารถฝึกฟังได้รู้เรื่องเท่าไหร่