Skip to main content

Technical analysis of the financial market

Submitted by krishrong on

บทนำ

  • ในการเคลื่อนตัวของราคา เกิดจากปัจจัยของ Supply และ Demand
    • ราคาขึ้น เกิดจาก Demand มีมากกว่า Supply
    • ราคาลง เกิดจาก Supply มีมากกว่า Demand
  • ในการวิเคราะห์จึงมี 2 แบบหลักๆ (ซึ่งทั้ง2 วิธี ก็มีพื้นฐานเดียวกัน คือ Supply and Demand)
    • Fundamental คือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาว่า Supply หรือ Demand ที่มากกว่ากัน 
    • Technical จะเป็นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของ Supply - Demand ที่ปรากฏบนกราฟ เกิดเป็นพฤติกรรมราคา เรียกว่า market action
  • ลักษณะของ Technical analysis
    • Market action discounts everything
      • อย่างที่บอกในข้างต้น คือ ทุกปัจจัยที่เกิดขึ้นบนโลก เกิดเป็นแรง Demand และ Supply แสดงผลออกมาบนกราฟ เป็น พฤติกรรมกราฟ เรียกว่า Market action
      • จริงๆ การวิเคราะห์เชิง Technical ก็มีพื้นฐานเดียวกับ Fundamental คือ เรื่อง Supply & Demand เพียงแต่วิเคราะห์คนละวิธีการ
    • Price move in trends
      • ลักษณะสำคัญของ Technical analysis คือ Trend following nature มีหลักการอยู่ว่า Trend มีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไป มากกว่าที่จะกลับตัว หากเทียบกับหลัก ปัจจัยพื้นฐาน ก็คือ ปัจจัยหนึ่งๆ จะมีแนวโน้มส่งผลระยะเวลาหนึ่ง พอหมดปัจจัยนั้นๆ จึงจะกลับตัว หรือ ตามกฏแรงเฉื่อยข้อที่ 1 ของนิวตัน คือ ราคาก็จะวิ่งตามเทรนด์ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีปัจจัยอื่นส่งผล
      • หลักการ Trend following จะสัมพันธ์กับ Fundamental คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผล มักจะกินระยะเวลาเป็นช่วงหนึ่งๆ ส่งผลมายังกราฟ เกิดเป็นลักษณะของเทรนด์ระยะยาว จนกว่าจะหมดปัจจัย จึงเกิดการกลับตัว(ซึ่งก็จะเห็นได้จาก market action ในกราฟอีกเช่นกัน)
    • History repeats itself
      • ส่วนหนึ่งในกราฟ เป็นเรื่องของจิตวิทยา (Psychology) ที่แสดงออกมาเป็น Chart pattern รูปแบบต่างๆ ที่ใช้ได้ซ้ำๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังคงเป็นส่วนใหญ่ที่เทรด ไม่ใช่ AI หรือ Algorithm
  • ข้อเสียของ Fundamental คือ
    • บ่อยครั้ง ที่ราคาเคลื่อนแบบหาเหตุผลไม่ได้ เพราะ ไม่สามารถติดตามหาเหตุผลด้าน Fundamental ได้ทั้งหมดในโลก
      • Technical สามารถติดตามพฤติกรรมราคาได้ทั้งหมด และ จะเร็วกว่าFundamental อีกด้วย เพราะ ทุกปัจจัยจะส่งผลลงมาที่ market action โดยที่ไม่มีความจำเป็นต้องหาเหตุผลใดๆ
      • หรือต่อให้มีข่าวออกมาแล้ว ทำให้รู้ว่าราคาเคลื่อนเพราะอะไร แต่ปัจจัยที่ถูกประกาศนั้นก็มักจะถูก price in ไปแล้ว การเทรด Fundamental จึงมักจะต้องเป็นการ วิเคราะห์ถึงสิ่งที่มีโอกาสจะเกิดหรือเกิดแน่ๆล่วงหน้า ให้ได้ก่อนตลาดจะรับรู้
      • หรือกระทั่ง ราคาเคลื่อนตรงข้ามกับเหตุผลด้าน Fundamental นักเทรด Technical ก็มักจะรู้ทันได้ก่อน
    • มักจะเชี่ยวชาญเฉพาะตลาดหนึ่งๆ เพราะ ในด้านปัจจัยพื้นฐาน ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาล ไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ได้ทุกตลาด ซึ่งตลาดแต่ละตลาด ไม่ได้มี Trend ตลอดเวลา จะมีช่วงที่คึกคักราคาวิ่งเป็นเทรนด์ กับช่วงที่ไม่ราคาขยับตัว ทำให้เสียโอกาสจากตลาดอื่นๆ
      • เนื่องจากเงินทุนมักจะหมุนไปเรื่อยๆในแต่ละตลาด การใช้ Technical ทำให้สามารถ monitor ทุกตลาดได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้ สามารถรู้ว่าเทรนด์กำลังไปทางตลาดไหน และ สามารถตามเทรดได้ตลอด นอกจากนี้ใน หลายๆตลาด จะได้รับผลจากปัจจัยทางเศรษฐกิจคล้ายๆกัน หากตลาดหนึ่งมีการเคลื่อนแบบหนึ่ง ตลาดอื่นๆ ก็มีโอกาสได้รับผลเดียวกัน การ monitor ตลาดแบบครอบคลุม จะทำให้มีโอกาสเห็น correlation ดังกล่าวได้
      • การเทรด Technical จะเน้นตลาดที่มี Trend หากไม่มีเทรนด์จะเปลี่ยนไปตลาดอื่น
    • ต่อให้เหตุผลทาง Fundamental ถูกต้อง แต่ในตลาดบางอย่าง ที่จังหวะการเข้าเทรดมีผลสำคัญ เช่น Future ที่มีเรื่องของ leverage เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่สามารถถือรอให้ราคากลับมาใหม่แบบ stock(หุ้น) ได้ จะต้องอาศัย Technical ในการหาจังหวะเข้าเทรดอย่างเหมาะสมอยู่ดี