เป็นตำราเกี่ยวกับการเทรด Technical analysis ที่ดีมากตำราหนึ่ง เกี่ยวกับการเทรดกราฟเปล่า โดยไม่พึ่ง indicator ให้แง่คิดที่เปิดกว้าง และ หลักการพื้นฐานที่ดีมากๆ
ตกผลึก หลักๆ เฉพาะที่ตัวเองได้จากหนังสือ
- ราคาปิด(closing price)สำคัญมาก นักเทรดทั้งหลายจะประเมินกราฟ ด้วยราคาปิดของแท่งเทียน ใน TF ที่ตัวเองเทรด
- Major support and Resistant Zone เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะ ราคาจะวิ่งไปพักในโซนหลักเหล่านี้ เป็นโซนที่นักเทรดจะทำการเทรด เมื่อมี price action/pattern เหมือนชัยภูมิที่ตั้งในการรบ
- Back test ระบบของตนเอง หรือ ระบบใหม่ๆ ก่อนการเทรดจริง จะทำให้รู้ว่ามันมีโอกาสแค่ไหน ที่ระบบเทรดที่ตัวเองคิดหรือวาดฝันไว้สวยงาม จะได้ผลจริงๆ จัดว่าเป็นหน้าที่หลักของนักเทรดสาย technical เลย
สรุปเนื้อหา เฉพาะที่ตัวเองสนใจ
ทั่วไปที่ต้องรู้
- รู้หรือไม่ตลาด Forex จะมี 2 ตลาด ใหญ่ๆ คือ interbank market ซึ่งเป็นตลาดที่สถาบันการเงินมาการซื้อขายสกุลเงินกันจริงๆ(หรือ broker ซื้อขายเอง) และ retail market ซึ่งจะซื้อขายกันโดยอิงราคาจาก interbank market อีกที
- ที่เราเทรดกันผ่าน broker จะเป็นตลาด retail market ซึ่งกำไรของเราได้จาก broker โดยตรง แต่ขาดทุนของเราจะเป็นกำไรของ Broker โดยตรง โดยที่ broker จะสันนิษฐานว่าทุกคนที่เข้ามาเทรด ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ขาดทุนในระยะยาว เลยกล้าที่จะทำแบบนี้
- Broker จะแบ่งลูกค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ชนะตลาด กับกลุ่มที่แพ้ตลาด
- กลุ่มที่แพ้ตลาด จะเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ หรือ กลุ่มที่ยังไม่สามารถทำกำไรได้ และขาดทุนอยู่เรื่อยๆ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นกำไรให้ broker
- กลุ่มที่ชนะตลาด จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่สามารถทำกำไรได้จากการเทรด(คนที่ผ่านเกณฑ์การทำกำไรระยะยาวของ broker) โดยbrokerจะเลียนแบบการเทรดของคนกลุ่มนี้ โดยจะไปเทรดเองในตลาด interbank เพื่อให้มีกำไรมาจ่ายกลุ่มลูกค้าที่ชนะตลาดอีกที(และกำไรของตัวเองด้วย)
- Broker จะแบ่งลูกค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ชนะตลาด กับกลุ่มที่แพ้ตลาด
- นักเทรด จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Fundamental และ Technical analysis หากถามว่าแบบไหนดีกว่ากันอาจจะไม่ถูกต้อง ให้ลองคิดถึงการบอกความเร็วรถยนต์ ก็มีได้หลายวิธี เช่น การเทียบกับมาตรวัด หรือ จับระยะที่รถเบรค ก็บอกได้เช่นกัน
- Indicator เป็นเหมือนตัวช่วยบอกทิศทางตลาดให้กับนักเทรด (เป็นเหมือน Secondary adviser) โดยเฉพาะนักเทรดมือใหม่ ที่มักต้องการตัวช่วยในการบอกทิศทาง แต่มักโฟกัสผิดจุดว่า สามารถทำนายได้ทุกอย่าง ซึ่ง indicator มีมากกว่าแก๊งคอลเซนเตอร์ที่มีทั้งหมดในอินเดียเสียอีก
- สิ่งสำคัญในการเทรด ไม่ใช่การมีระบบเทรดที่มีโอกาสชนะตลาดมากๆ(มีระบบเทรดเป็นหมื่นๆบนโลกนี้) เพราะ เป็นเพียงความน่าจะเป็น มีถูกมีผิด แต่สิ่งที่สำคัญกว่าที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว คือการบริหารความเสี่ยง
บทที่ 2 Avoid trading tragedy
- ข้อเสียของ indicator คือ ความช้า จากการที่ข้อมูลต้องมากพอก่อน ถึงจะแปลผลได้
- ซึ่งต่างจากการเทรดโดยใช้กราฟเปล่า(Naked forex) ที่รวดเร็ว ทันท่วงทีกว่า และ ความรวดเร็ว หมายถึง การใช้ stop loss ที่แคบขึ้นได้ จากจุดเข้าเทรดที่เหมาะสมที่สุด นำมาสู่ กำไรจากการที่ leverage ได้มากขึ้น
บทที่ 3 Back-testing your system
- เคยสังเกตไหม ว่าทำไมวิศวกรเครื่องกลเก่งๆ แค่ฟังเสียงเครื่องยนต์ ก็รู้ว่ามีปัญหาอะไร หรือ ชาวนา ที่เข้าใจดินและเมล็ดพันธ์ สภาพอากาศ เป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ ล้วนแต่เกิดจากการฝึกฝน ผ่านประสบการณ์มาอย่างมากมาย การจะเป็น Expert trader(นักเทรดที่ชำนาญ) ก็เช่นกัน ล้วนแต่ต้องผ่านการฝึกฝนและประสบการณ์ในการดูกราฟมาอย่างมากมาย การจะไม่ฝึก แล้วอยากจะได้ผลเร็วๆ นั้นเป็นไม่ได้เลย
- ความชำนาญในการเทรด เช่น การออก position ได้อย่างทันท่วงทีกับจังหวะเวลา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เกิดจากการฝึกฝน ไม่ต่างจากนักกีฬาที่ต้องฝึกจังหวะซ้ำๆ
- การฝึกฝนจึงเป็นหนทางเดียว ที่จะทำให้เทรดได้อย่างชำนาญ
- การฝึกฝนวิธีที่ดีวิธีหนึ่งคือ การฝึกผ่านการ Back testing ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลย้อนหลัง มาฝึกเทรด ทั้งนี้การใช้ข้อมูลย้อนหลัง อาจเต็มไปด้วยข้อจำกัดนานับประการ ที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจนระบบเทรดใช้ไม่ได้ในอนาคต แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าการที่ไม่ได้ฝึกอะไรเลย อีกทั้งการฝึกจากการ Back test ย้อนหลัง จะทำให้เราฝึกได้มาก และชำนาญเร็วกว่าการฝึกอยู่แค่ในปัจจุบัน
- เหตุผลที่สำคัญของการฝึกเทรด คือ ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ จะทำให้เราเชื่อมั่นในระบบที่เราใช้ และไม่ล้มเลิกกลางคันหรือหนีไปลองระบบอื่น จะรู้ว่าการขาดทุนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และแต่ในที่สุดก็จะกลับมาชนะตลาด
- วิธีการฝึกเทรดจากการ Back testing คือ
- การใช้ Program "Metatrader" ซึ่งสามารถดึงข้อมูลกราฟในช่วงเวลาที่เราต้องการมาได้
ตัวอย่าง https://www.tradingheroes.com/how-to-do-mt5-manual-backtesting/ - จริงๆมีอีกวิธีที่คิดว่าดีกว่า คือ ใน Metatrader ใช้โหมด Strategy test > เลือกที่โหมด Visualization > เลือก EA อะไรก็ได้(ไม่ได้ใช้ เราแค่จะให้มัน run กราฟให้เรา) เลือกช่วงเวลาที่เราต้องการฝึก, เลือก Time frame ที่ต้องการ, แล้วกด start > จะได้กราฟที่ค่อยๆมีแท่งเทียนค่อยๆปรากฏขึ้นตามเวลาแบบสมจริง สามารถ กด play/pause ด้วย spacebar และ ปรับความเร็วกราฟได้ตามต้องการ
- โดยทำร่วมกับ การจดบันทึก Trading diary เองแบบ Manual บน Excel, Sheet, หรือ สมุดโน๊ต(แนะนำให้บันทึกแบบ digital เพราะสามารถคำนวณสถิติย้อนหลังได้ด้วย)
- โดยจะนับคะแนนเป็น pip ไม่ได้นับเป็นสกุลเงิน $ (แต่อาจใส่สูตรใน excel ให้คำนวณ leverage ให้เราได้ เพื่อฝึก Manage risk จริงๆ ไปด้วย)
- โดยให้ฝึก Back testing วันละ 1 ชม ทุกวัน ไปเรื่อยๆ(ไม่ควรฝึกเกิน 2 ชม.ต่อวัน เพราะ จะล้า และเทรดได้ไม่ดี)
- ข้อควรระวัง คือ อย่าแอบเลื่อนกราฟไปดูล่วงหน้า อย่าหลอกตัวเอง
- การใช้ Program "Metatrader" ซึ่งสามารถดึงข้อมูลกราฟในช่วงเวลาที่เราต้องการมาได้
- จงจำไว้เสมอว่า ก่อนที่จะเอาเงินสัก 1 cent(0.01 dollar) ไปเสี่ยง ควรจะผ่านการฝึกเทรดให้ได้ก่อนสักหลายร้อยครั้ง
บทที่ 4 Identifying Support and Resistance zones
- โซนแนวรับแนวต้าน จัดว่าเป็น หัวใจหลัก(Sweet spot) ของการดูกราฟ เป็นจุดชัยภูมิที่จะออก action สำหรับนักเทรด มี 8 ลักษณะที่สำคัญ
- Zones are an area, not a price point.
- แนวรับ-ต้าน มีลักษณะเป็นโซนราคา เหมือนคนอ้วนลงพุง ไม่ใช่จุดราคาเดียว
- ลักษณะของการอ้วนลงพุง คือ มีความแข็งแรง(firm) มีการดีดกลับของราคา(repulsive) และ มีลักษณะที่คาดการณ์ได้(predictable characteristic)
- ราคาอาจสามารถทะลุแนวราคาได้(เหมือนเวลาชกเข้าที่พุง) แต่ถ้าไม่แรงพอก็จะถูกโซนดีดราคากลับ(เหมือนพุงที่เด้งกลับ)
- ลักษณะสำคัญคือ เป็น zone ที่ทำให้เกิดการกลับตัว(reverse)ของราคา
- Zones are like fine wine; they get better with age.
- มักเป็นที่ถกเถียงกันว่า zone ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว ยังมีผลอยู่หรือไม่ ซึ่งถ้าดูจาก chart จะพบว่า ราคายังมีแนวโน้มการกลับตัวที่ zone ราคาเดิมได้เสมอ แม้จะเก่ามากแล้วก็ตาม
- แต่ทั้งนี้ให้ความสำคัญกับโซนล่าสุดก่อนเสมอนะ อย่างไรโซนปัจจุบันก็ยังมีผลมากกว่าโซนอดีต
- เหมือนความทรงจำของคนเรา มักจะจดจำเหตุการณ์เก่าๆ ที่มีความสำคัญต่อเราได้เสมอ และเรายังคงรู้สึกอยู่กับมัน ผู้คนในตลาดก็ไม่ต่างกัน โซนราคาแม้จะผ่านมานานแล้วในอดีต แต่ก็ยังมีผลอยู่เสมอ
- มักเป็นที่ถกเถียงกันว่า zone ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว ยังมีผลอยู่หรือไม่ ซึ่งถ้าดูจาก chart จะพบว่า ราคายังมีแนวโน้มการกลับตัวที่ zone ราคาเดิมได้เสมอ แม้จะเก่ามากแล้วก็ตาม
- Zones are spots on the chart where price reverses, repeatedly.
- เป็น zone ที่ทำให้ราคาเกิดการกลับตัว
- รวมถึง zone ที่ราคาวิ่งมาย่ำบ่อยๆ ยิ่งราคาอยู่ที่zone นั้นๆบ่อย จะยิ่งมีแนวโน้มเป็น Major zone(แต่ถ้าราคามาพักตัวแค่ไม่นานแล้วไปต่อ จะเป็น Minor zone)
- Zones may be extreme highs or lows on the chart.
- Zones are where naked traders find trading opportunities.
- นักเทรด จะรอราคา มาที่โซนเหล่านี้ จึงจะทำการเทรด(จะไม่ทำการเทรดใดๆ หากราคาไม่มาถึงโซนเหล่านี้)
- แต่ไม่ใช่ว่าเทรด เพราะ แนวราคาอย่างเดียว จะมีปัจจัยอื่นประกอบที่ต้องคำนึงถึงด้วย(จะแนะนำในเนื้อหาต่อไป) แต่ถือว่าเป็น เงื่อนไขข้อแรกของการเทรด เป็นชัยภูมิเดียวที่นักเทรดจะเริ่มทำงาน
- Support and resistance zones rarely need to be modified.
- Line charts help naked traders find zones.
- Zones are often seen by many traders
- Zones are an area, not a price point.
- เทคนิคการหาโซน มี 3 ข้อหลักๆ
- เริ่มจาก Timeframe ใหญ่
- ถ้าเราอยากรู้จักใครสักคนมากขึ้น เราก็ต้องรู้ข้อมูลในอดีตของคนๆนั้นว่าทำอะไรมาบ้าง
- กราฟก็เช่นกัน โซนในอดีตของกราฟ ก็จะบ่งบอกถึงพฤติกรรมในอนาคตได้
- วิธีง่ายๆเลย คือ ขยับขึ้นไป 1 Timeframe ของ Timeframe ที่เราจะเทรด
- หาโซนราคา ที่กราฟมีการแตะโซนราคานั้นบ่อยมากที่สุด ยิ่งกราฟแตะโซนราคานั้นบ่อยแค่ไหน โซนนั้นก็ยิ่งมีความสำคัญมาก
- ใช้ line chart(กราฟเส้น)
- เวลาปรับเป็น line chart จะเป็นChartของราคาปิด(Closing price) ทำให้สามารถมองออกได้ง่ายขึ้นว่า มีโซนราคาไหนที่มีอิทธิพลในการสะท้อนกราฟให้กลับตัว
- จะมีประโยชน์มาก ในการใช้หา zone ที่ซ่อนอยู่ โดยเฉพาะในตอนที่ Chart ดูเหมือนจะวิ่งสับสน ดู zone ไม่ออก
- ราคาปิด(Closing price) เป็นราคาที่สำคัญที่สุด เพราะ เป็นการแสดงผลลัพธ์ของการสู้กันระหว่างแรงซื้อกับแรงขาย
- ราคาปิดของตลาด Newyork ตอน 5PM(ตี 4 ไทย) ก็สำคัญมากเช่นกัน เป็นราคาที่นักเทรด จะตัดสินใจ ว่าจะเปิด position ต่อไปหรือไม่ หรือปิดก่อน
- จริงๆ อีกวิธีคือ การปรับ TF ที่ใหญ่ขึ้น จน noise หายไป ก็จะมองโซนหลักออกได้ง่ายเหมือนกัน แต่โดยส่วนตัวลองแล้วพบว่า หากใช้ line chart ด้วย จะทำให้การมองหา zone ทำได้ง่ายขึ้นกว่ามากๆ(อย่างมีนัยสำคัญ)
- เวลาปรับเป็น line chart จะเป็นChartของราคาปิด(Closing price) ทำให้สามารถมองออกได้ง่ายขึ้นว่า มีโซนราคาไหนที่มีอิทธิพลในการสะท้อนกราฟให้กลับตัว
- ไม่สนใจโซนย่อยๆ (Ignore Minor zones)
- Minor zone เป็นโซน ที่อยู่ใน Timeframe ที่เล็กลงมา จากที่เราเทรด ซึ่งไม่ได้มีผลกับการเทรด ไม่ควร mark บน chart เพราะจะทำให้สับสน รบกวนแผนการเทรด(trade set-up และ จุด Take profit)
- Zone ที่จะ Mark ในกราฟได้ ต้องมาจาก TF ที่ใหญ่กว่าที่เราจะเทรด และ ในTF เดียวกันกับที่เราจะเทรดเท่านั้น
- Minor zone มีความสำคัญในการเทรด คือ มักเป็นจุดที่ราคาพักตัวสักพักหนึ่ง ก่อนที่จะเคลื่อนที่ต่อ เช่น เวลากราฟ pull back ก่อนจะลงต่อ เป็นต้น แต่จะต่างจาก Major zone ตรงที่ ไม่ได้ทำให้เกิดการกลับตัวของราคา
- โดยปกติ ควรมีอย่างน้อย 2 zone สำคัญ ที่อยู่ใกล้เคียงกับราคาปัจจุบัน และ ที่เหมาะสม คือ ควรมี zone อยู่กระจายทั่วๆกราฟ
- การระบุZone เป็นงานที่สำคัญมาก ที่นักเทรด ต้องฝึกจนมีความคุ้นชิน จนสามารถระบุโซนได้ โดยไม่ยาก
- Minor zone เป็นโซน ที่อยู่ใน Timeframe ที่เล็กลงมา จากที่เราเทรด ซึ่งไม่ได้มีผลกับการเทรด ไม่ควร mark บน chart เพราะจะทำให้สับสน รบกวนแผนการเทรด(trade set-up และ จุด Take profit)
- เริ่มจาก Timeframe ใหญ่
- ปัญหาในการระบุZone
- ระบุโซนยาก - ให้ใช้ line chart
- Zone มากเกินไป - ลักษณะของ zone ที่ดี คือ ควรกระจายห่างเท่าๆกัน ทั่วกราฟ และ ต้องการเวลาพอสมควร กว่ากราฟจะถึงจุด ที่จะเริ่มการเทรดได้ (นักเทรดต้องอดทนรอได้)
- ถ้าZone ถี่เกินไป เราจะมีโอกาสในการเทรดมากเกินไป ซึ่งมันไม่เหมาะสม(มักจะเกิดจากการมี Minor zone รวมอยู่ด้วย)
- การเทรดบน Minor zone อาจทำให้พบกับปัญหาการเทรดเสียหลายๆครั้ง เพราะ Minor zone ไม่ใช่ critical zone สำหรับการออก action การเทรดบน Major zone ย่อมมีโอกาสใหญ่ ที่ดีกว่าเสมอ
- จำไว้ว่า หาแค่ Major zone ซึ่งเป็นโซนที่ทำให้เกิดการกลับตัวของราคา เท่านั้น ส่วน Minor zone ที่เป็นเพียงจุดพักตัวของราคา ไม่ต้องไปใส่ใจ
- ใน Forex TF day แต่ละ zone มักจะห่างกันประมาณ 100 pip, TF week มักจะห่าง 500 pip
- ถ้าZone ถี่เกินไป เราจะมีโอกาสในการเทรดมากเกินไป ซึ่งมันไม่เหมาะสม(มักจะเกิดจากการมี Minor zone รวมอยู่ด้วย)
- มีZone แต่ราคาไม่แน่ชัด - เป็นปกติของ zone ที่จะมีลักษณะเป็น ช่วง เหมือนพื้นที่อ้วนๆบนกราฟ(beer belly) ไม่ใช่จุดราคาเสียทีเดียว จึงไม่จำเป็นที่หาจุดราคาที่แม่นยำ ขอเพียงเจอ zone ที่ทำให้ราคากลับตัวได้ก็พอ
- บางครั้งราคาอาจจะ แค่เฉียดๆโซน(brush against the beer belly) หรือ อาจจะทะลุเข้ามาในโซน(push into the beer belly) แล้วกลับตัว ก็นับว่าเป็นโซนเดียวกัน
- เหมือนกับว่า Zone ไม่มีผลกับกราฟ - บางทีเหมือนกราฟ ดูเหมือนจะทะลุผ่าน Zone ไป ไม่ได้สนใจหรือมี reaction ใดๆ กับ zone วิธีตรวจสอบ คือ ให้ลองปรับเป็น Line chart จะเห็นชัดขึ้นมากๆ ว่าก่อนที่กราฟจะทะลุ zone มีการสะท้อนกลับไปมา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะทะลุไป
- กราฟที่วิ่งเหนือ Zone อาจไม่ได้หมายความว่า break zone - เพราะ โซนเป็นช่วงราคาอ้วนๆ(ข้อ 3) อาจเป็นการวิ่งในโซนอ้วนๆอยู่ หากไม่พ้นก็สามารถกลับตัวได้ อีกลักษณะหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ เมื่อสิ้นสุดวัน จะไม่สามารถปิดตัว(close price) เหนือZoneได้ และกลับตัวลงมาใต้โซน
- การเทรดรูปแบบกลับตัว เรียกว่า reversal set-up, การเทรดรูปแบบทะลุโซนเรียกว่า breakout set-up
- สรุปหลักการ เมื่อราคามาถึง Major Zone นักเทรดจะต้อง เริ่มตื่นตัวและเฝ้ามองอย่างกระชั้นชิด โดยหากมี Catalyst เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ก็จะทำการเทรดทันที โดยการที่ราคามาถึงโซน เป็นสัญญาณแรกสุดในการเริ่มการเทรด
- เพิ่มเติม ระหว่างการเทรด จะไม่สนใจ กราฟ pattern ที่เกิดที่ Minor zone ซึ่งมักจะหลอกตาเราได้เสมอๆ แต่จะรอจนกว่ากราฟจะไปยัง Major zone ถัดไป เท่านั้น ** (การเทรดที่ดีจะเป็นการเด้งรอบใหญ่ระหว่าง Major zone เท่านั้น)
- หรือก็คือ เปิด order แล้ว จะไม่เข้าไปยุ่งใดๆ จนกว่าจะเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะ TP หรือ SL
Part 2: Naked-Trading Methodology(Catalyst)
- Catalyst คือ price pattern ที่จะบ่งบอกแนวโน้ม ว่าราคาจะไปทิศทางไหนต่อ โดยจะมีความสำคัญต่อการเทรด เมื่อเกิดอยู่บนโซน แต่หากเกิดนอกโซน จะเป็นเพียง price pattern ที่น่าสนใจ
- ตลาดแบ่งได้ 2 ช่วง คือ ช่วงที่sideway กับ ช่วงที่มี trend
- ระบบเทรดหนึ่งๆ จะใช้ได้ดีกับตลาดแค่รูปแบบหนึ่ง(Trend/Sideway)เท่านั้น เช่น ถ้าเอาระบบเทรดที่ใช้ได้ดีกับช่วงมี Trend ไปใช้กับตลาดช่วง sideway ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
- หลักการเข้าเทรด ทั่วไป จะเหมือนกันในทุก catalyst (แต่อาจจะมีรายละเอียดพิเศษ สำหรับแต่ละตัว)คือ
- เข้าเทรดด้วย Stop order
- วาง Stop loss ที่ฝั่งตรงข้ามของแท่งเทียน
- วาง Take profit ที่ Major zone ถัดไป(แต่ถ้า RR น้อยไป จะทนถือยาว ไปที่ zone ที่ไกลขึ้นไปอีก)
- จะไม่ยุ่งกับ order ที่เข้าไปแล้ว คือ ไม่ปิดก่อนการ TP/SL เพราะ บางทีกราฟอาจผันผวนจาก minor zone แต่สุดท้ายจะต้องไปถึง Major zone เสมอ
บทที่ 5: The last kiss
- Breakout strategy กลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ในจังหวะที่ ตลาดเปลี่ยนจาก ช่วง Consolidation(sideway) เป็น Trend
- เป็นกลยุทธ์ที่ต้องใช้การรอคอย นักเทรดกลยุทธ์นี้จะต้องมีความอดทนสูง
- สิ่งที่จะบอกว่าเริ่มเกิดการ break คือ เมื่อกราฟเริ่ม break support and resistance zone ที่กราฟกำลัง sideway อยู่
- กลยุทธ์ มีดังนี้
- ขั้นแรก จะเป็นการ ระบุแนวของ consolidation zone ก่อน โดยให้วาดกล่อง(Box)ครอบคลุมแท่งเทียน ที่เคลื่อนตัวในช่วง consolidation ทั้งหมด โดยต้องคลุมทั้งราคาสูงสุดและต่ำสุดทั้งหมดที่อยู่ในช่วงนั้น โดยทั้งขอบบนและล่างควรมีแท่งเทียนสัมผัส อย่างน้อย 2 ครั้ง
- ต่อมา กลยุทธ์ จะเริ่มทำงาน เมื่อกราฟมีการ break support หรือ resistance ของ consolidation zone(กล่องที่วาดคลุมไว้)
- แต่ยังไม่เข้า เพราะ จะมีปัญหาคือ Fake-out(ทะลุหลอก) ซึ่งเป็นการเบรคโซนกล่อง แต่ก็กลับมาวิ่งในโซนเหมือนเดิม
- จะเข้าเทรดเมื่อ กราฟมีการกลับมา retouch ขอบของโซนกล่อง แล้วสามารถยืนระยะไม่กลับเข้ากล่องได้ ซึ่งแสดงถึงการที่ตลาดมีการมองทิศทางราคาว่าแยกตัวจากขอบเขตของกล่องแล้ว แสดงถึงการมีแรงพอที่จะไปต่อ เรียกขั้นตอนนี้ว่า The Last kiss(จูบจากลา)
- The last kiss เป็นเครื่องมือในการกรอง fake out ส่วนใหญ่ออกไปได้มาก แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่ก็ช่วยลดการ Fake out ได้อย่างมหาศาล
- แต่แค่ยืนระยะนอกกล่องได้ก็ยังไม่พอ แต่จะเข้าเทรดจริงๆก็ต่อเมื่อ หลังจากที่ราคากลับมา retouch กล่อง ต้องเกิดสัญญาณแท่งเทียนใหญ่ๆ(ตำราใช้คำว่า 'print bullish/bearish candlestick after retouching') เช่น engulfing, แท่งเทียนไส้ยาวๆ(hammer, shooting star) เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงแรงหนุนที่มากพอ ในทิศทางที่หลุดออกจากกล่อง
- การวาง Stop loss จะวางได้ 2 แบบ ทั้งวางที่กึ่งกลางระหว่าง consolidation zone(Stop loss กว้าง) หรือ วางที่ขอบที่มีการ retouch ไปแล้ว(Stop loss แคบ) ซึ่งระยะความกว้าง stop loss จะต่างกัน
- ที่นิยมมากที่สุดคือวางไว้ที่ ขอบของกล่อง เพราะ stop loss แคบกว่า โอกาสโดนกิน stop loss ก็ไม่มาก เพราะ มีสัญญาณแท่งเทียนใหญ่ๆ เกิดร่วมด้วยแล้ว
- เรื่องการ Take profit จะกล่าวต่อไป แต่คร่าวๆ คือ ณ Major Zone ถัดไป หรือ ถือยาวไปโซนที่ไกลขึ้น
บทที่ 6: The Big shadow
- เป็น catalyst ประเภท reversal strategy(ราคากลับตัว) โดยการดู คู่แท่งเทียนสองแท่ง engulfing กัน โดยแท่งเทียนแท่งที่ 2 จะทำการ engulfing แท่งเทียนแรก(มีขนาดใหญ่กว่า จนกลืนกินแท่งเทียนแรก เหมือนเงาขนาดใหญ่ - big shadow) ซึ่งมักเกิดในเวลาที่ราคา ชนขอบ ของ support หรือ resistance ที่ Major zone แล้วเกิดการกลับตัว ซึ่งแสดงถึง การที่ราคาหมดแรงส่งในทิศทางเดิม จนเริ่มจะกลับตัว(พุ่งแรงทะลุ zone แล้วดีดกลับ)
- เช่นเดียวกันกับทุก Catalysts คือ จะมีผล ก็ต่อเมื่อ ถูก 'print' อยู่บน Major zone เท่านั้น(ถ้าเกิดนอก zone ก็เป็นเพียง price pattern ที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้ใช้ในการเทรด)
- ลักษณะที่ต้องมี
- ถ้าจะให้ดีที่สุด(ideally) big shadow ควรมีขนาดครอบคลุม 5 แท่งเทียนก่อนหน้า(หรืออย่างน้อย เป็นแท่งเทียน engulfing ที่ใหญ่กว่าแท่งเทียนอื่นๆ ใน TF) จะมีโอกาสสำเร็จมากกว่า big shadow ที่เล็กกว่า แต่อาจจะพบไม่บ่อย เอาแค่ engulf แท่งเทียนก่อนหน้าก็ได้
- ราคาปิด (Closing price) ของแท่งเทียน engulfing ควรจะ ปิดแบบเต็มแท่ง ให้ได้มากที่สุด หรืออย่างน้อยให้ ปิดใกล้สุดขอบราคา ของแท่งเทียนที่ engulfing ให้ได้มากที่สุด และต้องปิดเหนือ(กรณี bullish) หรือต่ำกว่า(กรณี bearish) แท่งเทียนก่อนหน้าด้วย
- ต่อให้เป็นแท่งเทียน engulfing ที่ยาวมาก แต่สุดท้ายราคาปิดที่กลางแท่งเทียน(แม้ว่าจะยังกลืนกินแท่งเทียนก่อนหน้าอยู่) ก็จะไม่ใช่ engulfing ที่ดี
- การรอ ราคาปิด ในแต่ละแท่งเทียน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก จะใช้พิจารณา ในทุกๆ Catalyst ในการเทรด
- Room to the left(ที่ว่างทางซ้าย)
- เป็นลักษณะที่เกิดจาก การที่ราคาพุ่งต่อเนื่องจนหมดแรง โดยแท่งเทียนจะมีการเรียงตัวในแนวดิ่ง(ราคาพุ่ง) แล้วเกิด engulfing(the Big shadow)ในที่สุด(สัญญาณหมดแรง) โดย จะไม่มีแท่งเทียนอยู่ในระดับเดียวกัน(แนวราบ) อย่างน้อย 6-7 แท่ง ก่อนหน้าแท่งเทียน engulfing จึงเรียกว่า มีที่ว่างทางซ้าย(room to the left)
- ซึ่งพบได้ชัดเจน คือ ช่วง all-time high และ all-time low ที่กราฟมีการวิ่งทะลุไปในราคาที่ไม่เคยเกิด(exploratory stab)
- อีกกรณีหนึ่ง คือ กราฟไม่ได้วิ่งผ่าน zone เหล่านั้นมาเป็นเวลานาน(นานจนในกราฟ TF นั้นๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ระยะเวลา 2-3 เดือน ซึ่งเลยขอบสำหรับกราฟ TF 1h) ก็มักจะเกิดลักษณะซ้ายโล่งเช่นกัน เพราะ เหมือนกับเป็นการวิ่งทะลุไปในราคาที่ไม่เคยเกิด(เมื่อนานมาแล้ว)
- ยิ่งที่ว่างทางซ้ายมีมากเท่าไหร่ The Big Shadow จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
- เทคนิค ลองวาดกล่อง ต่อไปทางซ้าย จากคู่แท่งเทียนที่ engulfing กัน ถ้าซ้ายโล่ง จะเป็น The big shadow ที่ดี
- ข้อสังเกต คือ กรณีที่ซ้ายไม่โล่ง คือ Big shadow ถูก print อยู่บน zone ที่มี price action หนาแน่น(มี sideway ซับซ้อน) อาจจะทำให้ Big shadow ไม่ได้ผล เพราะ ไม่ใช่ลักษณะของราคาที่วิ่งจนหมดแรงส่ง(พุ่งแรงทะลุ zone แล้วดีดกลับ) อาจจะเป็นลักษณะที่ ยังมีแรงวิ่งเหลืออยู่
- เป็นลักษณะที่เกิดจาก การที่ราคาพุ่งต่อเนื่องจนหมดแรง โดยแท่งเทียนจะมีการเรียงตัวในแนวดิ่ง(ราคาพุ่ง) แล้วเกิด engulfing(the Big shadow)ในที่สุด(สัญญาณหมดแรง) โดย จะไม่มีแท่งเทียนอยู่ในระดับเดียวกัน(แนวราบ) อย่างน้อย 6-7 แท่ง ก่อนหน้าแท่งเทียน engulfing จึงเรียกว่า มีที่ว่างทางซ้าย(room to the left)
- กลยุทธ์
- เข้าเทรดโดยการวาง stop order (buy/sell stop) เลยแท่งเทียนไปอีก เผื่อกรณีที่ราคาไม่มาตามคาด ก็จะไม่ต้องเสียขาดทุน(no order triggered)
- การวาง Stop loss จะวาง เลยแท่งเทียน big shadow ไปอีกเล็กน้อย(few pips) ด้านตรงข้ามกับที่วาง stop order
- การ Take profit คือ ที่ zone ถัดไป หรือ ถือยาวไปโซนที่ไกลขึ้น
บทที่ 7: Wammies and Moolahs(W&M)
- เป็นรูปแบบการกลับตัว(reversal pattern) โดยการดู double top / double bottom ที่ Major zone ซึ่งเป็นรูปแบบ"การกลับตัวที่พบมากที่สุดในตลาด" โดยเหตุผล คือ ปกติก่อนที่จะมีการกลับตัวที่ Major zone ตลาดชอบที่จะ ทดสอบความแน่ชัด ด้วยการกลับมาแตะzone อีกครั้ง(รวมเป็น 2 ครั้ง) ก่อนจะกลับตัว
- (Single top/bottom ก็มีเช่นกัน แต่จะเป็นลักษณะของ The Big Shadow)
- Wammies คือ Double bottom เพราะ กราฟลักษณะเหมือน W ส่วน Moolahs คือ Double top เพราะ กราฟลักษณะเหมือน M
- W&M จะมีลักษณะพิเศษที่ต้องมี ที่ช่วยลดโอกาสผิดพลาด ที่เพิ่มมาจาก Double top/bottom แบบเดิม คือ
- ในการสัมผัสกับ Major zone ครั้งที่ 2
- ต้องมีการทำ Higher low ใน Double bottom(W) - แสดงถึง up trend
- ต้องมีการทำ Lower high ใน Double top(M) - แสดงถึง down trend
- การสัมผัสกับโซน ครั้งที่ 1 และ 2 ต้องห่างกันอย่างน้อย 6 แท่งเทียน และยิ่งห่างมากยิ่งดี แต่ถ้าสัมผัสโซนถี่ๆ อาจมีแนวโน้มที่จะทะลุโซน(break)มากกว่าการกลับตัว(reversal)
- ในการสัมผัสกับ Major zone ครั้งที่ 2 ต้องมีการ print แท่งเทียน Bullish/Bearish candlestick ซึ่งอาจไม่ต้องถึงกับ engulfing(Big shadow) ก็ได้(แต่ถ้าได้จะยิ่งดี) ซึ่งจะเป็นสัญญาณในการเข้าวาง stop order
- นอกจากนี้หากมี "room to the left"(ซ้ายโล่ง เหมือน The big shadow) ซึ่งแสดงถึงการที่ไม่มี price action ที่ราคานั้น จะเป็นการกลับตัวที่รุนแรง(Major reversal)
- ในการสัมผัสกับ Major zone ครั้งที่ 2
- กลยุทธ์
- เข้าเทรดหลังจากมีการ print แท่งเทียน bullish/bearish candlestick ในการแตะ zone ครั้งที่ 2 โดยวาง Stop order เลย แท่งเทียนดังกล่าว เล็กน้อย(few pips) - Stop order ข้อดี คือ ถ้าเรามองตลาดผิด order ก็จะไม่ถูก trigger เราก็จะไม่เสียเงินฟรี
- วาง Stop loss เลย จุดสิ้นสุดราคา ของ การแตะครั้งแรก ไปอีกเล็กน้อย(few pips)
- การ Take profit คือ ที่ zone ถัดไป หรือ ถือยาวไปโซนที่ไกลขึ้น
บทที่ 8: Kangaroo Tails
- เป็น reversal pattern โดยมีลักษณะคือ มีการทิ้งไส้(wick)แท่งเทียนยาวๆ แต่ส่วนbody(ราคาเปิดและปิด) จะเล็กๆ ไม่เกิน 1/3 ของแท่งเทียน และจะอยู่ที่สุดปลายสุดคนละฝั่งกับไส้แท่งเทียน(ไม่อยู่กลางแท่งเทียน) เหมือนกับจิงโจ้ ที่มีส่วนตัวสั้นๆกับหางยาวๆเมื่อมองจากด้านบน
- หางยาวๆ แสดงถึงการที่ราคาพุ่งเลยโซนมา มากเกินไป แต่โซนยังคงรั้งไว้ได้ และมีแนวโน้มจะกลับตัว ซึ่งมักจะเกิดร่วมกับเหตุการณ์ใหญ่ๆในโลก และการกลับตัวอย่างรวดเร็ว(ภายในแท่งเทียน) แสดงถึง ความตื่นตัวกับเหตุการณ์นั้นๆของตลาด
- สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพื่อให้เกิดพลังในการกลับตัว
- ส่วนหาง ต้องยาวกว่าแท่งเทียนก่อนๆ(ยิ่งยาวยิ่งดี) ถ้าสั้นกว่าแท่งเทียนก่อนๆ จะไม่มีพลังในการกลับตัว รวมถึงมักเป็นเพียงการหยุดพักตัว ก่อนที่จะวิ่งต่อในทิศทางเดิม(ไม่กลับตัว)
- ระวังแท่งเทียนใหญ่ๆ ก่อนหน้า ถ้าเกิด kangaroo tail แต่เล็กกว่า ก็จะยังคงมีแรงไปต่อในทิศเดิมได้
- ส่วน body ของ kangaroo tail ต้องปิดอยู่ในช่วงราคาของแท่งเทียนก่อนหน้า(High, Low ของไส้เทียนก็นับนะ) แสดงถึง การที่ราคาไม่สามารถเลยพ้น Zone ของแนวก่อนหน้า
- ต้องเกิดบน Major zone โดยเฉพาะโซนที่มีการกลับตัวบ่อยๆ(เช่นเดียวกับทุก catalyst ถ้าเกิดนอกโซน จะไม่มีนัยสำคัญ)
- Room to the left เป็นลักษณะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามีร่วมด้วยจะดีมาก (เหมือนกับ The Big Shadow) คือ ถ้าเกิดใน zone ที่ราคาไม่มี price action มานาน ซึ่งหมายถึงทางด้านซ้ายจะโล่งไม่มีแท่งเทียนอยู่ จะยิ่งเพิ่มโอกาสการกลับตัวได้มาก
- ส่วนหาง ต้องยาวกว่าแท่งเทียนก่อนๆ(ยิ่งยาวยิ่งดี) ถ้าสั้นกว่าแท่งเทียนก่อนๆ จะไม่มีพลังในการกลับตัว รวมถึงมักเป็นเพียงการหยุดพักตัว ก่อนที่จะวิ่งต่อในทิศทางเดิม(ไม่กลับตัว)
- กลยุทธ์
- เข้าเทรด ด้วย buy stop โดยวางที่ราคา ห่าง แท่งเทียน kangaroo tail เล็กน้อย(few pips)
- ไม่ควรเข้า ด้วยการรอจังหวะ retracement เพราะ ถ้าราคา retrace ได้ โอกาสจะเป็นไปตาม kangaroo tail ก็มักจะน้อยลง แต่ถ้าเทรดด้วย buy stop ราคาก็มักจะไม่ trigger
- วาง stop loss เลยส่วนหางของ kangaroo tail ไปอีกเล็กน้อย
- Take profit ที่ zone ถัดไป หรือ ถือยาวไปโซนที่ไกลขึ้น
- เข้าเทรด ด้วย buy stop โดยวางที่ราคา ห่าง แท่งเทียน kangaroo tail เล็กน้อย(few pips)
บทที่ 9: The Big Belt
- เป็น reversal catalyst เกิดจากในวันหยุด มีข่าว หรือ เหตุการณ์ต่างๆหรือ นักเทรดมีการประมวลข้อมูลจากสัปดาห์ก่อน พอเปิดตลาด จึงทำการเข้าเทรดโดยทันที แต่เป็นการเทรดที่ไม่ถูกต้อง ทำให้สุดท้ายราคากลับมาที่เดิม และมักจะกลับตัว
- ลักษณะสำคัญ คือ
- เมื่อเปิดการเทรดในสัปดาห์ ราคาจะเปิด Gap จากแท่งเทียนสัปดาห์ก่อน ทะลุ Major zone แต่สุดท้ายราคาจะค่อยๆถูกดีดกลับมาฝั่งเดิม และ ปรากฏเป็น แท่งเทียนใน TF day ที่มี ราคาเปิด-ปิดของวัน ใกล้เคียงกับราคาสูงสุด-ต่ำสุด(แท่งเทียนจะไม่ค่อยมีไส้เทียน เป็นแท่งเทียนเต็มแท่ง โดยเฉพาะราคาปิด)
- ถ้ามี room to the left ด้วย จะยิ่งดีมาก
- เกิด (print on) อยู่บน Major zone
- ให้เทรดในระดับ TF day เท่านั้น จะมี win rate สูงสุด
- เทคนิคง่ายๆ คือ ทุกสัปดาห์ ในวันที่สองของการเปิดตลาด ให้ดูกราฟของวันแรกในสัปดาห์ ใน TF day ว่าแท่งเทียนที่เปิดวันแรก กราฟไหน มีลักษณะของ The big belt ก็เทรดกราฟนั้น
- มักเกิดใน Major currency pairs ได้แก่ EUR/USD, USD/CHF, USD/JPY, GBP/USD
- กลยุทธ์
- เทรดใน TF day เท่านั้น
- วาง stop market order ห่างจากราคาของ the Big belt เล็กน้อย(few pips)
- วาง Stop loss ที่ ห่างปลายอีกฝั่งของแท่งเทียนเล็กน้อย(few pips)
- วาง take profit ที่ Major zone ถัดไป หรือ ถือยาวไปโซนที่ไกลขึ้น
- เทรดใน TF day เท่านั้น
บทที่ 10: The Trendy Kangaroo
- เป็น Catalyst ประเภท Trend following โดยจะเข้าเทรด โดยใช้สัญญาณ kangaroo tail ที่เกิดในขณะที่ตลาดมีการพักตัว(pause of the market) ในกรอบราคาแคบๆ(small consolidation zone)
- kangaroo tail ลักษณะส่วนใหญ่จะเหมือนเดิม (มี tail ยาวๆ, มีขนาด body ที่ไม่เกิน 1/3 และ ราคาปิดอยู่ในช่วงกรอบราคา ของแท่งเทียนก่อนหน้า) เพียงแต่ไม่มี room to the left เพราะไม่ใช่การกลับตัว
- ลักษณะสำคัญ คือ
- ต้องดูก่อน ว่าใน TF ที่เราจะเทรด มี Trend หรือไม่
- ถ้าดูไม่ออก ลองถามเด็ก 10 ขวบดู ว่ามันดูเฉียงขึ้น เฉียงลง หรือ กลับไปกลับมา - อย่าลืม แถมขนมให้เด็กด้วยนะ
- คอยจับตาดู ขณะที่ Trend มี การพักตัวในกรอบราคาแคบๆ โดยจะเป็นกลุ่มแท่งเทียนเล็กๆสั้นๆ ต่อกันประมาณ 3-10 แท่ง เรียกว่า small consolidation zone
- จะเข้าเทรด หากใน consolidation zone มีการ print แท่งเทียน kangaroo tail เกิดขึ้น โดยที่ ส่วน tail ยื่นหลุด zone แต่ส่วน body กลับมาปิดตัวในzone
- สิ่งสำคัญ คือ ส่วน tail ต้องยาวทะลุ zone และ ยาวกว่าแท่งเทียนก่อนๆ อย่างชัดเจน (ยิ่ง tail หลุดจากกรอบยาวๆ จะยิ่งดี) หากแม้ tail จะยาว แต่ยังคงอยู่ใน zone จะไม่นับว่ามีผล
- room to the left มักจะไม่มี หรือ มีก็เพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นการเกิดสัญญาณในทิศทางเดียวกับ trend(จึงมี price action ที่ด้านซ้าย) ไม่ใช่ การกลับตัว(reverse) แบบ kangaroo tail ปกติ
- แต่หากยิ่งมีการ consolidation นาน จะยิ่งดี(มีแท่งเทียนต่อกันเยอะๆ) ก็จะเกิด room to the left ได้มากขึ้น
- อาจจะมีบางกรณีที่ kangaroo tail ไม่ได้ print บน Major zone แต่เกิดบน minor zone ก็นับเหมือนกัน
- กรณีสำหรับ Trend follow สามารถเข้าได้ใน minor zone เพราะ จะมีแรงส่งมาเรื่อยๆอยู่แล้ว ไม่เหมือนกับ reversal ที่ต้องเข้าใน Major zone เท่านั้น(ไม่อย่างนั้นแรงกลับตัวจะไม่พอ)
- ต้องดูก่อน ว่าใน TF ที่เราจะเทรด มี Trend หรือไม่
- ข้อควรระวัง
- ถ้ามี Big correction เกิดขึ้น(เกิด reversal catalyst ที่ Major zone แล้วมีการวิ่งกลับ trend มากกว่าปกติ) อาจเป็นสัญญาณว่าเทรนด์จบแล้ว แม้จะเกิด kangaroo tail ภายหลัง ก็จะไม่ใช่ Trendy kangaroo ที่ดี
- Trendy kangaroo tail ที่ดีที่สุด จะเกิดหลังจากการพักตัว(print after a pause) ซึ่งเป็น consolidation zone เล็กๆ ไม่ใช่ big correction
- ถ้ามี Big correction เกิดขึ้น(เกิด reversal catalyst ที่ Major zone แล้วมีการวิ่งกลับ trend มากกว่าปกติ) อาจเป็นสัญญาณว่าเทรนด์จบแล้ว แม้จะเกิด kangaroo tail ภายหลัง ก็จะไม่ใช่ Trendy kangaroo ที่ดี
- กลยุทธ์ เหมือนกับการเทรดปกติ คือ
- Stop order ที่ราคาเลยแท่งเทียน kangaroo tail เล็กน้อย (ไม่ใช่เลย consolidation zone นะ)
- Stop loss ที่ปลาย tail
- Take profit ที่ zone ถัดไป หรือถือยาว ไปโซนที่ไกลขึ้น
บทที่ 11: Exiting the trade
- Trader จะมีนิสัยการเก็บกำไรอยู่ 2 แบบ คือ runner(รันเทรนด์ win rate ต่ำ แต่เก็บกำไรก้อนโต) และ gunner(เทรดสั้น win rate สูง เพราะ เก็บกำไรระยะสั้น - RR อาจจะน้อยกว่า 1:1 แต่ถ้า win rate 80% ก็ทำกำไรได้)
- ไม่ว่าจะเทรดสไตล์ไหน ไม่มีอะไรผิด ถ้าเราคิดว่าเหมาะสมและสมเหตุสมผลสำหรับเรา เพียงแต่ต้องยึดกับการเทรดนั้นๆไปตลอด
- กลยุทธ์การออก(Take profit) กลยุทธ์เหล่านี้ เป็นรูปแบบ hand free trading(ไม่ต้องมาคอยดูราคาว่าถึงไหน)
- Gunner หลักการส่วนใหญ่ จะเป็นการ TP ที่ Major zone ถัดไป เพราะ zone เป็นจุดที่ราคาจะกลับตัว แต่อีกนัยหนึ่ง คือ เป็นจุดที่ดึงดูดราคาเข้าหาตัวเองด้วย เพราะ ราคาจะต้องไปวิ่งไปพักตัวที่ zone เสมอ
- Zone exit เป็นการออกใน zone ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งจะเป็นโซนถัดไป ที่มองเห็นได้จาก TF เดียวกัน (ไม่ใช่ zone ที่มาจากการมองใน TF ใหญ่กว่า)
- การ TP จะ TP ก่อนถึง zone เล็กน้อย เพราะ บางทีราคาแค่เฉียดๆโซนแล้วกลับตัว
- RR อาจจะน้อยกว่า 1:1(เพราะ ต้องเผื่อความกว้าง spread และ การ TP ก่อน zone) แต่ win rate อาจมากถึง 80% ก็สามารถทำกำไรได้
- Split exit เนื่องจากบ่อยครั้ง ราคามักจะเลย zone ไปอีก จึงทำการแบ่งครึ่ง position และ ให้ TP ที่ zone ถัดจากกันไป ทั้งนี้กำไรรวมมักจะมากกว่า zone exit ธรรมดา
- การ TP - position แรก ก็ TP ที่ zone แรก, position ที่สอง ก็ TP ที่ zone ถัดไป
- ส่วนการ Stop loss เมื่อได้กำไรจาก zone แรก ก็เลื่อน stop loss ของ อีก position มาที่จุด entry เพื่อกันขาดทุน
- Zone exit เป็นการออกใน zone ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งจะเป็นโซนถัดไป ที่มองเห็นได้จาก TF เดียวกัน (ไม่ใช่ zone ที่มาจากการมองใน TF ใหญ่กว่า)
- Runner ในขั้นต้นจะมีการแบ่งปิดก่อน และที่เหลือจะออกด้วย trailing exit ซึ่งต้องมี cusion เพียงพอ เพื่อรองรับเวลาที่ราคาวิ่งสวนทาง ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถเก็บกำไรได้ เวลาที่เทรนด์วิ่งไปไกล
- Ladder exit จะเป็นการเลื่อน stop loss ไปทีละขั้น ตาม zone ที่ราคาเคลื่อนไป โดยจะวาง stop loss อยู่ที่ zone ก่อนหน้าของราคาเสมอ เช่น
- หากราคาไปถึง zone แรก ก็จะเลื่อน SL มาที่ Entry price
- หากราคาไปถึง zone ที่ 2 ก็จะเลื่อน stop loss มาที่ zone แรก เป็นต้น
- ข้อดี คือ มีความยืดหยุ่นกับตลาด เพราะ stop loss ตาม zone จึงรองรับความผันผวนได้สูง ก็มีโอกาสที่จะ follow trend ได้ไกล
- ข้อเสีย คือ อาจเสียกำไรได้เยอะ เพราะ stop loss กว้าง หรือ บางทีได้กำไรอยู่แต่สุดท้ายกลับมาขาดทุน อาจไม่เหมาะกับ runner เพราะ มักจะเทรดเสียเป็นประจำอยู่แล้ว จึงไม่ชอบกลยุทธ์ที่เสี่ยงขาดทุนเยอะในการเทรดแต่ละครั้ง
- Three-Bar exit จะไม่ใช้การเลื่อน stop loss ไปตาม zone แต่เลื่อนไปตาม ราคาสูงสุด หรือ ต่ำสุด(ขึ้นอยู่กับว่า buy/sell) ของ candle stick 3 ตัวล่าสุด
- โดยหากเป็นการ buy trade จะเลื่อนมาที่ราคาต่ำสุด, sell จะเลื่อนมาที่ราคาสูงสุด
- ข้อดี คือ โอกาสขาดทุนน้อย จึงเหมาะกับ runner เพราะ ปกติ ขาดทุนบ่อย หลายครั้ง การเสียน้อยจึงดีกว่า แล้วไปเก็บ strong trend วิ่งแรงๆทีเดียว
- ข้อเสีย คือ รองรับความผันผวนได้ต่ำ ถ้าไม่ใช่ strong trend จะถูกกิน stop loss ได้อย่างรวดเร็วมาก เพราะ ตาม trend กระชั้นชิดเกินไป อาจไม่ชอบสำหรับ gunner(แต่ก็ใช้ได้เหมือนกัน ซึ่งจะกลายเป็น gunner ที่สามารถ run big trend ได้)
- Ladder exit จะเป็นการเลื่อน stop loss ไปทีละขั้น ตาม zone ที่ราคาเคลื่อนไป โดยจะวาง stop loss อยู่ที่ zone ก่อนหน้าของราคาเสมอ เช่น
- Gunner หลักการส่วนใหญ่ จะเป็นการ TP ที่ Major zone ถัดไป เพราะ zone เป็นจุดที่ราคาจะกลับตัว แต่อีกนัยหนึ่ง คือ เป็นจุดที่ดึงดูดราคาเข้าหาตัวเองด้วย เพราะ ราคาจะต้องไปวิ่งไปพักตัวที่ zone เสมอ
- Managing exits
- ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ การ retrading the last trade คือ การเอาการเทรดก่อนหน้า มาเป็นกลยุทธ์การเทรดในครั้งต่อมา เช่น เทรดครั้งก่อน หลังจาก TP ไป ราคาวิ่งต่อไปอีก 100 pips ในครั้งถัดมา จึงคิดว่าจะเปลี่ยนจาก gunner มาเป็น runner เป็นต้น
- ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะ การเทรดแต่ละครั้งไม่ได้เกี่ยวข้องกัน มีความแตกต่างกัน ควรจะคงกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตนเองไว้ไม่เปลี่ยนแปลง
- Gunner ก็ต้องยอมรับว่าหลังจาก TP กราฟอาจยังวิ่งต่อได้
- Runner ก็ต้องยอมรับว่า จะต้องถูก SL หลายครั้ง กว่าจะได้กำไรก้อนใหญ่สักครั้ง
- ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ การ retrading the last trade คือ การเอาการเทรดก่อนหน้า มาเป็นกลยุทธ์การเทรดในครั้งต่อมา เช่น เทรดครั้งก่อน หลังจาก TP ไป ราคาวิ่งต่อไปอีก 100 pips ในครั้งถัดมา จึงคิดว่าจะเปลี่ยนจาก gunner มาเป็น runner เป็นต้น
Part 3: Trading Psychology
บทที่ 12: The Forex cycle
- Cycle of doom(วงจรแห่งความล้มเหลว)
- The Search: ถ้าหา Trading system ที่เหมาะกับตนเองได้ คือ ผ่านข้อ 1
- The Action:
- ถ้าสามารถ อดใจ ทำการ test trading system ก่อนการนำไปใช้จริง คือ ผ่านข้อ 2 และ ไม่ต้องไป ข้อ 3(มีเพียงคนกลุ่มน้อยที่จะผ่านข้อนี้)
- แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทำการ test อาจจะได้กำไรในครั้งแรกๆ แต่มักจะตามมาด้วยการขาดทุนสะสม หรือ เมื่อลองเพิ่ม risk เพื่อหวังกำไรมากขึ้น ก็เริ่มประสบกับ drawdown ทันที
- เมื่อเริ่มผิดหวังกับการเทรด แสดงถึงการหมดความเชื่อมั่นในระบบของตนเอง ก็จะนำมาสู่ข้อที่ 3
- The Blame: โทษ trading system ทั้งๆที่ตัวเองยังไม่เคย test ระบบ จนเข้าใจมันดีพอ จากนั้นก็จะไปเริ่ม ข้อ 1 ใหม่ วนไปเรื่อยๆ
- ปัญหาจริงๆของ cycle of doom คือ Trader เข้าใจว่า กำไรมาจากระบบเทรด ซึ่งไม่ถูกต้อง จริงๆกำไรมาจากตัว Trader เองต่างหาก trading system เป็นเพียงเครื่องมือให้ Trader สกัดเอากำไรออกมาจากตลาด ซึ่งไม่ได้สำคัญเท่าการ execution ของ Trader เอง
- ตัวผู้เขียนตำราเล่าให้ฟังเองว่า เคยติดอยู่ใน cycle นี้หลายปี แต่หลังจากที่ใช้เวลาอีกหลายปี ก็สามารถเข้าถึงการทำกำไรได้ อีกทั้งสามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอจริงๆ ซึ่งอย่างแรกเลย คือ ต้องรู้ตัวก่อนว่าเรากำลังติดอยู่ใน Cycle คือ การเข้าใจผิด คิดว่าระบบจะทำกำไรให้ ซึ่งจริงๆมันเกิดจากตัว Trader เอง
- แม้แต่ Trader ที่ใช้ระบบเดียวกัน คนหนึ่งทำกำไรได้ แต่อีกคนกลับขาดทุน
- สิ่งเดียวที่จะทำให้ออกจาก cycle นี้ได้ คือการ Back testing ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
บทที่ 13: Creating your own system
- เขียนกฎเกณฑ์ของระบบในการเทรดให้กับตัวเอง ในการตัดสินใจต่างๆ โดยเขียนให้ละเอียด ครอบคลุม และชัดเจน เพื่อลดโอกาสการแอบละเมิดกฎ และ ถ้าจะให้ดี คือ เขียนไว้ในที่ๆจะสามารถมองเห็นได้เสมอในระหว่างการเทรด
- การละเมิดกฎ มักจะทำด้วยเหตุผลที่ว่า "just this" เช่น แค่ครั้งนี้ ที่ใช้ risk มากขึ้น, แค่ครั้งนี้ ที่เลื่อน stop loss เป็นต้น
- กฏเกณฑ์มาจากการสร้างระบบเทรดที่ เหมาะสมกับตนเอง ดังที่จะกล่าวต่อไป ดังนี้
การสร้างระบบเทรดที่เหมาะกับตนเอง มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้
- นักเทรด มี2 รูปแบบ
- Market specialist คือ เทรดตลาดเดียว คู่เงินเดียว แต่ใช้ทุกกลยุทธ์(ทุก catalysts ที่มี) บางทีอาจสามารถเทรดทั้งระยะสั้นและระยะยาวพร้อมๆกัน ในคู่เงินเดียว เช่น มี daily TF kangaroo tail จึง long EUR/USD ระยะยาว แต่ มี h1 TF last kiss จึง short EUR/USD ระยะสั้น เป็นต้น
- ข้อดี คือ
- จะทำให้รู้ Character/ลักษณะเฉพาะ ของตลาด และ เชี่ยวชาญในตลาดนั้นๆ
- win rate มักจะสูง(เพราะ เทรดจนเข้าใจ character, จับจังหวะตลาดได้ดี) และ นักเทรดเหล่านี้มักจะเป็นกลุ่มที่ทำเงินได้มากที่สุด
- ถ้าอยู่ในตลาดนานๆ อาจเกิดการสังเกตพบ correlation กับตลาดอื่นได้ เช่น EUR/USD สัมพันธ์กับ dow jone เป็นต้น แต่ความสัมพันธ์นี้อาจไม่ได้คงอยู่ตลอดไป และ เปลี่ยนได้เรื่อยๆ
- ข้อดี คือ
- Trading specialist คือ เทรดหลายตลาด แต่ใช้กลยุทธ์เดียว(เลือก catalyst อันที่ถนัด มาอันเดียว) รวมถึงสามารถเทรดได้ในหลาย TF นะ
- ข้อดี คือ
- แต่ละ Catalyst มีรายละเอียดในการใช้ การเทรดโดยใช้เครื่องมือเดียวจนชำนาญ จะทำให้เรารู้ว่าลักษณะกราฟแบบไหน มั่นใจมาก หรือ มั่นใจน้อย หรือ ไกล้เคียงกับรูปแบบ ideal มากแค่ไหน
- ซึ่งความชำนาญ ต้องเกิดจากการฝึกฝน สังเกต และ สั่งสมประสบการณ์ซ้ำๆ จนจำได้แม่น เป็น reflex แต่หากฝึกเครื่องมือหลายอย่างพร้อมกัน อาจไม่สามารถ ติดตาม สังเกตผล ได้ครอบคลุม และ พัฒนาความชำนาญขึ้นไปได้ยาก
- การฝึกโดยใช้เครื่องมือ(catalyst)เดียว ซ้ำๆ จะทำให้พัฒนาได้ดีกว่า หากชำนาญตัวหนึ่งแล้ว ก็สามารถฝึกตัวอื่นต่อได้เช่นกัน
- ถ้าฝึกมานานและชำนาญมากขึ้น อาจจะรู้ว่า catalyst แต่ละตัว มี TF ที่ใช้งานได้ดี ต่างกันไป เช่น the last kiss อาจใช้ได้ดีกับ TF 4h ในขณะที่ the big shadow ใช้ได้ดีกับ day หรือ 5min เป็นต้น(อันนี้ตัวอย่างสมมติเฉยๆนะ)
- ข้อดี คือ
- Market specialist คือ เทรดตลาดเดียว คู่เงินเดียว แต่ใช้ทุกกลยุทธ์(ทุก catalysts ที่มี) บางทีอาจสามารถเทรดทั้งระยะสั้นและระยะยาวพร้อมๆกัน ในคู่เงินเดียว เช่น มี daily TF kangaroo tail จึง long EUR/USD ระยะยาว แต่ มี h1 TF last kiss จึง short EUR/USD ระยะสั้น เป็นต้น
- การเลือก Timeframe
- นิสัยส่วนตัว Timeframe ไหนที่เรารู้สึก ว่าเทรดแล้ว comfortable สบายที่สุด(เอาแบบไหนก็ได้ เอาที่สบายใจ)
- ความอดทนในการรอคอย
- ถ้าความอดทนสูง จะเหมาะกับการเทรดระยะยาวที่ต้องรอนานกว่า สามารถทนเห็นกำไรที่หายไป จากความผันผวนของราคา
- ส่วนความอดทนต่ำ จะเหมาะกับการเทรดระยะสั้น ที่เก็บกำไรแล้วจบ
- เวลาที่มีให้กับการเทรดในแต่ละวัน ถ้าไม่มีเวลาว่าง การเทรด Timeframe ใหญ่จะง่ายที่สุด การเทรดใน TF เล็ก จะเหมาะกับคนที่มีเวลาว่างทั้งวัน
- ประสบการณ์
- นักเทรดที่ยังไม่มีประสบการณ์ มักจะเริ่มฝึกเทรดจาก TF ใหญ่ได้ดีกว่า
- TF เล็ก ต้องใช้การ focus ที่มากกว่า รวมถึงประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญใน catalysts ที่จะสามารถมองกราฟ แล้วออก action ได้ทันท่วงที
- กฎความเสี่ยง
- Risk appetite โดยคร่าวๆ ความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ คือ การใช้ความเสี่ยงที่เรายังสามารถนอนหลับได้เป็นปกติ เมื่อเปิด position ข้ามคืน แต่หากเกิดใช้ความเสี่ยงมากจน เราต้องตื่นมาดูกลางดึก หรือ ดูกราฟทั้งวัน แสดงว่ากำลังใช้ความเสี่ยงที่มากเกินไป
- Maximum Drawdown คือ %การขาดทุนรวมสูงสุดที่นับได้ หากเกินกว่านี้จะหยุดเทรดก่อน
- การกำหนดเป็น สัปดาห์ อาจจะง่ายที่สุดสำหรับนักเทรดทั่วไป เช่น ขาดทุนสูงสุดไม่เกินสัปดาห์ละ 5% เป็นต้น
- หรือหากเป็นนักเทรดระยะยาว อาจกำหนดเป็น เดือนละ 10% หรือ ระยะสั้น อาจกำหนดเป็น วันละ 1 %
- เมื่อถึง draw down จะหยุดเทรด เพื่อ
- หลีกเลี่ยงการพยายามเอาคืน(เป็นสาเหตุที่พอร์ตระเบิดได้เร็วที่สุด)
- เพื่อพักและกลับมา ด้วยการมีความคิดแจ่มใส
- เมื่อหยุดเทรดแล้ว สิ่งที่จะทำ คือ
- พักผ่อน อาจจะหยุดสุดสัปดาห์ 1-2 วัน
- กลับมา Back-test ระบบ ว่ายังเหมาะสม ใช้ได้หรือไม่
- ประเมินการเทรดของตัวเอง(จาก trading diary) ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น ไม่ทำตามกฏเกณฑ์ของระบบ เป็นต้น โดยตามดู diary ไปจนถึงช่วงก่อนที่จะ draw down ด้วย ว่าต่างกันอย่างไร
- ตัดสินใจว่า ระบบเทรด ยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ถ้าลอง back test แล้ว ไม่มีปัญหา ก็อาจเป็นเพียง bad luck แต่ให้ลองอีกขั้นคือ test กับข้อมูลตลาดในปัจจุบันด้วยการลองเทรด demo หากว่าเราทำตามกฎของระบบเราทุกอย่างแล้ว แต่ไม่สามารถทำกำไรได้ อาจจะต้องเปลี่ยนระบบเทรด
- ทดสอบแล้วว่าระบบยังใช้งานได้ สิ่งที่ต้องทำต่อมา คือการสร้างความมั่นใจให้กลับคืนมา วิธีที่ดีที่สุดคือ back test และ อีกวิธีคือ positive mindset(บทต่อไป)
- นักเทรดทุกคน จะต้องพบเจอกับช่วงเวลายากลำบากนี้เสมอ แต่จำไว้ว่า เราสามารถถอยออกมาพัก แล้วดูให้แน่ชัดก่อนได้ ว่าปัญหาเกิดจากอะไร ตลาดมีเวลาให้เราทำกำไรได้เสมอ ไม่ต้องรีบ การออกมาพักจะทำให้สมองแจ่มใส และ จะสามารถกลับไปเทรดได้ดีขึ้น
- การกำหนดเป็น สัปดาห์ อาจจะง่ายที่สุดสำหรับนักเทรดทั่วไป เช่น ขาดทุนสูงสุดไม่เกินสัปดาห์ละ 5% เป็นต้น
- Correlated trades(การเทรดกระจาย(basket trade)ในคู่เงินที่มีสกุลเงินเดียวกัน)
- โดยพื้นฐาน คือ ถ้าจะเทรด กลุ่มคู่เงิน ที่มีสกุลเงินซ้ำกัน เช่น กลุ่ม JPY ได้แก่ USDJPY, EURJPY, GBPJPY,... เป็นต้น จะลดrisk ลง ให้ได้ risk รวม ของคู่เงินทั้งหมด ไม่เกิน risk การเทรดต่อครั้ง
- เช่น โดยปกติ risk ต่อ 1 การเทรด คือ 1% ถ้าเทรดรวดเดียว 5คู่เงิน ในกลุ่ม JPY ก็จะลด risk แต่ละคู่เงินเหลือ 0.2% เพื่อให้ได้ risk รวมไม่เกิน 1%
- หรืออาจแค่ลด risk ลง เพื่อไม่ให้ถึง max draw down ก็ได้ เช่น หาก Max DD ต่อสัปดาห์คือ 5% ถ้าเทรดรวดเดียว 5 คู่เงิน อาจลด risk เหลือคู่ละ 0.6% ก็ได้ risk รวม 3% ซึ่งหากเกิดผิดพลาด ก็ยังเหลืออีก 2% ไว้เทรดต่อ
- เพราะ กราฟที่เป็นกลุ่มเดียวกันมักจะวิ่งลักษณะคล้ายกัน(แต่อาจมีบางกราฟที่วิ่งดี หรือ แย่กว่ากราฟอื่น การเทรดเป็น basket เป็นการกระจายโอกาส) ถ้าใช้ risk แยกกัน แล้วเกิดผิด ก็จะถึง max draw down อย่างรวดเร็ว
- โดยพื้นฐาน คือ ถ้าจะเทรด กลุ่มคู่เงิน ที่มีสกุลเงินซ้ำกัน เช่น กลุ่ม JPY ได้แก่ USDJPY, EURJPY, GBPJPY,... เป็นต้น จะลดrisk ลง ให้ได้ risk รวม ของคู่เงินทั้งหมด ไม่เกิน risk การเทรดต่อครั้ง
- Managing the trades
- การเทรดสามารถ manage ได้ทั้งจาก entry price และ exit price
- Entry price เช่น market order(ณ ราคาปัจจุบัน), limit order(เข้าเวลาที่ราคาเคลื่อนผิดทาง หรือมีการ retrace), stop order(เข้าเวลาที่ราคาเคลื่อนไปในทางที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งตำราแนะนำวิธีนี้ เพราะ ถ้าคาดการณ์ผิดก็จะไม่ต้องเสียเงินฟรี)
- Exit price
- ไม่เปลี่ยนแผนการเทรด
- นักเทรดหลายคน เชื่อว่า การเทรดทั้งหมด(Entry price, TP, SL) ควรถูกกำหนดตั้งแต่การวาง order แล้ว และไม่ควรมีการเข้าไปยุ่งกับการเทรดอีก ส่วน win หรือ loss เป็นหน้าที่ของตลาด
- แม้แต่การ loss ก็ยังอยู่ในแผนของเรา เพราะเราได้ควบคุม risk limit ไว้ตั้งแต่แรกแล้ว จึงอาจไม่จำเป็นเท่าไหร่ที่จะไปยุ่งกับการเทรดอีก
- วิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับนักเทรดที่มีอาชีพหลักอย่างอื่นอยู่ด้วย หรือ นักเทรดที่เป็น gunner (ที่ไม่ได้ TP ไกลๆอยู่แล้ว)
- แต่ถ้าเป็น runner จะต้องมีการคอยขยับ trailing stop ซึ่งถือว่าเป็นข้อยกเว้น เพราะเป็นกฏการ run trend
- เป็นแนวคิดที่ทำให้เกิดการ จำกัดการเข้าไปดูกราฟ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก
- ทั้งนี้จะเทรดแบบเฝ้าหน้าจอตลอดเวลา(Full time บางคน) หรือ จะปล่อยแบบ hand free ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ถ้า back test แล้วคิดว่ามันดีกว่า(และควรเทรดให้ได้อย่างที่ Back test)
- กรณีที่จะเปลี่ยนแผนการเทรด
- เช่น มี catalyst เกิดที่ Major zone ถัดไป แต่หากไม่ได้เกิดที่ Minor zone จะไม่นับว่ามีผล
- ไม่เปลี่ยนแผนการเทรด
- การเทรดสามารถ manage ได้ทั้งจาก entry price และ exit price
- Knowing your trading personality
- สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ถ้าสุขภาพไม่ดี จะมีผลต่อการตัดสินใจในการเทรดได้อย่างมาก โดยอาจจะตั้งกฏประจำตัวเลยเช่นว่า
- ถ้าวันไหน นอนไม่ถึง 7 ชม จะไม่เทรดในวันนั้น
- ถ้าวันไหน ไม่ได้ออกกำลังกาย จะไม่เทรดในวันนั้น
- ฝึกสมาธิทุกวัน จะทำให้เทรดได้ดีขึ้น
- ถ้าวันไหน ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกลฮอล์ ห้ามเทรดในวันนั้นเป็นอันขาด(ที่เหมาะสมจริงๆ คือ ไม่ต้องดื่มเลยตลอดชีวิต)
- ถ้าเปิด order ไว้ แล้วนอนไม่หลับ แสดงว่า (1) เราอาจจะใช้ risk มากเกินไป หรือ (2) เราไม่เหมาะกับการเทรดยาว
- การเทรดเป็นอะไรที่ ผลาญหรือดูดกลืน พลังงานสมองและพลังใจ เยอะ แม้ว่า Full time trader จะสามารถเทรดวันละมากกว่า 6 ชม ได้ แต่สำหรับคนที่ทำงานประจำ แล้วมาพยายามเทรดต่ออีก 6 ชม. จะทำให้การเทรดล้มเหลวได้ง่ายๆ
- กฏเกณฑ์การเทรดของเราชัดเจนแค่ไหน(less subjective)
- ตัวอย่าง จะเทรด big shadow ที่ใหญ่ๆ เท่านั้น ใน TF day ซึ่งยังสามารถระบุรายละเอียดที่ชัดเจนได้มากขึ้นอีก เช่น แท่งเทียนใหญ่แค่ไหน(เช่น อย่างน้อย 15% ของ 5 แท่งเทียนก่อนหน้า), engulfing กี่แท่งเทียน, ราคาปิดไม่เกิน 15pip ของราคาต่ำสุด, ใช้ stop loss ด้วย 3 bar exit(เพราะ เป็นเทรนด์รุนแรง)
- เลือก Timeframe ที่เหมาะสม
- ถ้าเราไม่ได้มีเวลาดูกราฟวันละ 4-5 ชม เราไม่ควรเทรด TF เล็ก เพราะ ต้องใช้ action รวดเร็ว แม่นยำ(ใช้ความชำนาญสูง) แล้วต้องคอยดู position ตลอดเวลา เพื่อปิดกำไร(เว้นเสียแต่ว่าเรามีระบบปิด position อัตโนมัติ)
- เรียกได้ว่า การเทรดTF เล็ก มี small margin of error(ถ้ามี error นิดหน่อย คือ พลาดเลย) เช่น
- ถ้าต้องการกำไร ระยะ 10 pips โดยระยะ spread อยู่ที่ 2 pips ก็หมายความว่าต้องจ่าย 2 pips จากกำไร 12 pip ซึ่งเทียบเท่า 16% ที่ถูกหัก commission ไป
- หรือกระทั่ง poor execution ที่มีการ slip up ของราคาแม้เพียงเล็กน้อย เช่น 3 pips ก็ทำให้เสียกำไรไป 30% (จากเดิม 10 pips เหลือ 7 pips หรือ จาก 100$ เหลือ 70$)
- เรียกได้ว่า การเทรดTF เล็ก มี small margin of error(ถ้ามี error นิดหน่อย คือ พลาดเลย) เช่น
- หลายๆคนพบว่า การดูกราฟเพียงวันละครั้ง วาง order แล้วจบ ไปทำอย่างอื่นไม่ต้องมาดูอีก เป็นอะไรที่ง่ายกว่ามาก และเมื่อทำไปมากๆ จนสำเร็จและชำนาญ จึงค่อยเทรดใน TF ที่เล็กลง
- ถ้าเราไม่ได้มีเวลาดูกราฟวันละ 4-5 ชม เราไม่ควรเทรด TF เล็ก เพราะ ต้องใช้ action รวดเร็ว แม่นยำ(ใช้ความชำนาญสูง) แล้วต้องคอยดู position ตลอดเวลา เพื่อปิดกำไร(เว้นเสียแต่ว่าเรามีระบบปิด position อัตโนมัติ)
- สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ถ้าสุขภาพไม่ดี จะมีผลต่อการตัดสินใจในการเทรดได้อย่างมาก โดยอาจจะตั้งกฏประจำตัวเลยเช่นว่า
บทที่ 14 Becoming an expert
- Expert คือ ผู้ที่ฝึกจนชำนาญในกระบวนท่าเดียว ที่สามารถทำเงินได้
- ใน hedge fund จะมีคนเหล่านี้จำนวนมากที่ชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ เพียงแค่อย่างเดียว(แต่พอมาอยู่รวมกันเลย รวมความสามารถได้หลากหลาย)
- อาจจะฟังดูน่าเบื่อ แต่เราเทรดเพื่อเงิน ไม่ได้เทรดเพื่อ ความตื่นเต้นเร้าใจ ซึ่งความเร้าใจในการเทรดมาได้จากทั้ง (1) เรายังใหม่กับการกลยุทธ์นั้นๆ จึงไม่รู้ว่าการเทรดนั้นทำเงินให้เราได้จริงหรือไม่ หรือ (2) อาจเกิดจากการใช้ risk ที่มากเกินพอดี
- ถ้าอยากได้ความตื่นเต้น อาจจะไปขับรถผาดโผนเล่นก็ได้ หรือไม่ก็ไปเล่นพนัน ซึ่งนักพนันยังดีกว่า เพราะ รู้ตัวว่ากำลังเสี่ยงอยู่
- ในหนังสือจะเน้นย้ำเป็นพิเศษอยู่เสมอๆ ว่า Expert จะ focus อยู่เพียงแค่ skill/technique เดียว ที่ทำให้ตัวเองสามารถทำเงินได้
- โดยถ้าถามว่าหากชำนาญหลาย technique ได้ไหม อาจจะได้ แต่ไม่จำเป็น เพราะ จังหวะการทำเงินก็เท่ากัน แถมกว่าจะเป็น expert ทีละเทคนิคได้ ก็ต้องเสียเวลาไปกับการฝึก back test มากมายอีก
- ทบทวน step ในการเป็น expert อีกครั้ง(6 ขั้น)
- Get Comfortable with zones
- โซนเป็นชัยภูมิหลักที่นักเทรดจะออก action การเทรด
- วาดZone น้อยๆ แต่มีแต่โซนหลัก ที่แข็งแรง มีผลมากต่อราคาจริงๆ ดีกว่าการวาดโซนมากมาย แต่ไม่ได้มีผลต่อราคาเท่าที่ควร
- ถ้าไม่แน่ใจโซนไหน ก็ไม่ต้องวาด เอาเฉพาะโซนที่มั่นใจเท่านั้น
- เลือก Catalyst ที่คิดว่าเหมาะสม แค่อันเดียว
- ทำการ Back-test เพื่อทดสอบว่า ระบบเทรดของเราใช้งานได้จริง มันจะช่วยเราเวลาที่เราเจอกับ draw down ต่อเนื่องได้ อีกทั้ง ช่วยเพิ่มความชำนาญในการเทรดได้อย่างรวดเร็ว
- มีเทคนิค คือ อาจทดลอง back test เทรด 200 ครั้ง ใน TF เล็กๆ เทียบกับ TF ใหญ่ๆ ดูว่าที่ TF ไหน เราทำเงินได้มากกว่า
- ทำการ Forward test ด้วยการเทรดพอร์ต demo กับตลาดปัจจุบัน
- เทรดจริงด้วยบัญชีเล็กๆ ซึ่งเป็นเงินที่เราเสียได้โดยไม่มีปัญหาอะไร
- เทรดด้วยบัญชีจริง หลังจากที่ได้ทดลองกับตัวเองในขั้นตอนที่ผ่านๆมาจนมั่นใจแล้ว โดยต้องมีวินัยในการทำตามระบบ ไม่ว่าจะได้กำไร หรือ ขาดทุนก็ตาม
- Get Comfortable with zones
- Do it again
- หลังจากที่ expert ใน Catalyst หนึ่งๆแล้ว ให้ทำต่ออย่างน้อย 8 เดือน จึงค่อยไปฝึก Catalyst อื่นๆ
- ทั้งนี้การฝึก Catalyst อื่นๆ ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น แต่ถ้าจะฝึกก็เพราะด้วยสองเหตุผล คือ
- เทรดท่าเดิมซ้ำๆจนเบื่อ(แม้จะได้กำไรสม่ำเสมอแล้วก็ตาม)
- เป็นการกระจายความเสี่ยง เผื่อในช่วงที่ Catalyst เดิมพบกับ draw down อีกตัวหนึ่งก็จะยังทำหน้าที่แทนได้
- เทคนิคง่ายๆ
- มีเทคนิคง่ายๆอย่างหนึ่งในการฝึกคือ ให้สังเกตดูแท่งเทียน 1 แท่งล่าสุด ใน TF หนึ่งๆ โดยแบ่งถ่าย screenshot ของแท่งเทียนนั้นๆ ใน 6 ช่วงเวลา
- เช่น แท่งเทียน 30min ก็ถ่ายภาพทุก 5 นาที
- ในแต่ละครั้งที่ถ่ายภาพ ลองพยายามเดาว่าสุดท้าย ราคาปิดของแท่งเทียน จะเป็นอย่างไร
- สิ่งที่เราจะได้จากการทดลองนี้คือ ราคาปิด(closing price)ของแท่งเทียนก่อนหน้า มีผลมากต่อแท่งเทียนถัดไป ซึ่งราคาเปิดแทบไม่ได้มีผล
- มีเทคนิคง่ายๆอย่างหนึ่งในการฝึกคือ ให้สังเกตดูแท่งเทียน 1 แท่งล่าสุด ใน TF หนึ่งๆ โดยแบ่งถ่าย screenshot ของแท่งเทียนนั้นๆ ใน 6 ช่วงเวลา
บทที่ 15 : เพิ่มความมั่นใจในการเทรด