ขายของไม่ว่าจะแบบออนไลน์หรือแบบขายหน้าร้าน มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน โดยส่วนตัวไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขายอะไรนัก แต่จะบันทึกเฉพาะประสบการณ์ที่ตนเองได้ลองทำมา ดังนี้
ข้อดีของขายแบบ ออนไลน์
- เขียนข้อมูลสินค้าไว้ให้ดี ละเอียด ที่ลูกค้าต้องการจะรู้ เพียงครั้งเดียว ใช้ได้ตลอด
- ไม่ต้องเฝ้าร้าน และในขณะเดียวกัน ก็ยังเปิดร้านให้ดูสินค้าได้ ตลอด 24 ชม. แม้เรานอนหลับ
- การไม่ต้องมีหน้าร้าน ทำให้ไม่ต้องออกแรงทางกายภาพเท่าไหร่
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ลงสินค้าไว้กับ platform ใหญ่ๆ ที่มีคนเข้าเยอะๆ เช่น shopee, lazada บางทีไม่ต้องโปรโมท ลูกค้าก็ค้นหามาเจอเอง
- และเวลาคนค้นหาใน google เว็บเหล่านี้มักจะอยู่ในผลการค้นหา และเป็นเว็บแรกๆที่คนจะคลิกเข้า ทำให้ไม่ต้องไปเปลืองแรงทำเว็บเอง, ทำ SEO, ลง Ads เอง
- ถ้าจะทำเว็บ ก็ทำกรณีต้องการสร้าง brand แต่แหล่งวางขายหลัก ก็สามารถฝากไว้ใน platform ที่คนนิยมได้
- หากเราตั้งราคาขายที่เหมาะสม ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีคนซื้อ เพียงแต่กำลังรอคนซื้อที่เหมาะสมอยู่
- ไม่ต้องพยายามรีบลดราคาขาย ถ้าหากสินค้านั้นไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับ รุ่น ความทันสมัย เพียงแค่วางขายไว้เฉยๆ สักวันเดี๋ยวก็มีคนซื้อ
- ตัวอย่างที่ได้เจอคือ มีของชิ้นหนึ่ง วางขายไว้นาน จนตัวเองเกือบลืมนึกถึงไปแล้ว แต่วันหนึ่งก็กลับมีคนซื้อ ทั้งๆที่ไม่ได้โปรโมทใดๆ ทิ้งไว้เฉยๆ แต่คนต้องการก็ค้นหาจนมาเจอเอง
- ไม่ต้องพยายามรีบลดราคาขาย ถ้าหากสินค้านั้นไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับ รุ่น ความทันสมัย เพียงแค่วางขายไว้เฉยๆ สักวันเดี๋ยวก็มีคนซื้อ
- การตั้งราคาขายสำหรับของมือสอง จะใช้ปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน เพื่อให้ราคาสมเหตุสมผลที่สุด
- ตั้งในราคาที่เราเองก็อยากซื้อ(ถ้าขายไม่ออก ก็จะทำให้เราเกิดความรู้สึกอยากเก็บไว้ใช้เองอยู่เหมือนกัน)
- ในฐานะคนที่เคยใช้มันมาก่อน เราอยากจะให้ราคามันเท่าไหร่ ที่เราคิดว่าสมเหตุสมผล คุ้มค่ากับราคา
- ตั้งราคาขาย ตามเปอร์เซ็นต์ อายุการใช้งานที่เหลืออยู่ เช่น ของชิ้นหนึ่ง มีอายุการใช้งานโดยปกติอยู่ที่ 4ปี คิดคร่าวๆ คือ 50เดือน ใช้ไป 6 เดือน คิดเป็น 12% ยังเหลืออีก 88% แล้วก็เอาไปคูณกับราคาเดิม เป็นราคาขายจริง เช่น ของราคา 10,000 บาท ก็เอาไปคูณกับ 88/100 ก็จะได้ 8,800 บาท
- ตั้งราคาขาย เทียบกับราคากลาง หรือ ของที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
- ตั้งในราคาที่เราเองก็อยากซื้อ(ถ้าขายไม่ออก ก็จะทำให้เราเกิดความรู้สึกอยากเก็บไว้ใช้เองอยู่เหมือนกัน)
เทคนิคการเร่งยอดขาย
- โดยส่วนตัวที่เคยทำแล้วได้ผล คือ การตั้งส่วนลด หรือ โปรโมชั่น แบบมีกำหนดเวลา จะเป็นการเร่งรัดให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้เร็วขึ้น
- ตัวอย่าง ของมือสองบางชิ้น ที่มีมูลค่ามากพอสมควร แม้จะมีคนสนใจเยอะ เพราะ ราคาไม่แพงถ้าเทียบกับราคากลางในตลาด แต่เนื่องจากมูลค่ามาก คนจึงยังไม่กล้าตัดสินใจซื้อ การลดราคาแบบมีกำหนดเวลา จะเร่งให้ความต้องการ(demand) ในช่วงเวลานั้น เพิ่มสูงขึ้น และผู้ซื้อตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น
- จริงๆ คิดว่าไม่ใช่วิธีที่ดีเท่าไหร่ เพราะ การเร่งรัดผู้อื่น ทำให้ผู้ซื้อมีโอกาสตัดสินใจไม่ถี่ถ้วน ก่อให้เกิดผลเสียได้
- แต่หากเราลดเยอะจริงๆ ราคาคุ้มค่าจริง ก็จะไม่ได้รู้สึกผิดเท่าไหร่ โดยเฉพาะ หากเราขายในราคาที่ แม้แต่เราเองก็อยากซื้อ ผู้ซื้อก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไรแหละ
- แต่หากเราไม่ได้ลดเยอะจริง แบบว่าแค่แจกคูปองส่วนลดนิดๆหน่อยๆ, ทำโค้ดส่วนลดที่ดูหายาก อันนี้อาจจะไม่ดีต่อผู้บริโภคเท่าไหร่นัก ถึงเขาจะได้ของถูกลงเล็กน้อย แต่การเร่งรัดการตัดสินใจ อาจทำให้เกิดความไม่รอบคอบ บางทีอาจจะไม่ได้ต้องการของชิ้นนั้นจริงๆก็ได้ เป็นการฟุ่มเฟือย ซื้อผิด เสียเงินเปล่าๆ
- หากจะขายถูกกว่าเจ้าอื่น เล็กน้อย ก็ขายถูกไปเลยจะดีกว่า มาใช้โปรโมชั่นส่วนลดนิดๆหน่อยๆ แต่มีโอกาสทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจผิดพลาด
Add new comment