Skip to main content

การศึกษาด้วยตนเอง อาจต้องกระจายความเสี่ยง

Submitted by krishrong on

เนื่องจากการที่เราจะศึกษาอะไรบางอย่างด้วยตนเอง เช่น อ่านหนังสือเตรียมสอบ หรือ อ่านเพื่อเพิ่มความรู้ใหม่ๆ เป็นต้น บางทีเราไม่มีใครมาแนะนำเราว่า ควรอ่านหนังสือเล่มไหน ใครเขียนดี หรือ บางทีรูปแบบการเรียนของเขาอาจจะไม่เหมาะกับเราก็ได้ ซึ่งหากเราไปพบเจอกับรูปแบบการเรียน หรือ ตำราที่สอนไม่เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้ของเรา อาจทำให้เราศึกษาได้ช้า และ ไม่เข้าใจ

ดังนั้น ถ้าเราอยากจะเรียนรู้ด้วยตนเอง สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือ กระจายความเสี่ยง ด้วยการ ลองใช้วิธีการศึกษาหลายๆ รูปแบบ เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมกับเรา ที่จะทำให้เราพัฒนาตนเองเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด เช่น อ่านตำรา Grammar ภาษาอังกฤษ ก็ลองอ่านจากผู้เขียนหลายๆคน เพราะ แต่ละคนก็มีรูปแบบการสอน และ เทคนิคการอธิบายที่แตกต่างกันไป ถ้าอ่านตำรานึงแล้ว รู้สึกเข้าใจยาก หรือ อธิบายไม่ชัดเจน ก็ลองเปลี่ยนตำราดูบ้าง เผื่อจะเข้าใจง่ายและชัดเจนขึ้น เป็นต้น อย่าไปยึดติดที่ตำราใดตำราหนึ่ง ใช้การสังเกตตัวเองเป็นหลัก ว่าเราเหมาะกับตำราหรือรูปแบบการเรียนไหน

ทั้งนี้การเรียนรู้ อาจจะไม่ได้จำกัดอยู่ที่ ตำราเพียงอย่างเดียว สื่อการสอนรูปแบบอื่น ก็อาจทำให้เราเข้าใจได้ดีเหมือนกัน หรือ อาจดีกว่า ซึ่งเราต้องสังเกตตัวเอง ว่าเหมาะกับแบบไหน

นอกจากนี้ อีกอย่างคือ ใน 1 วัน อย่ามุ่งเน้นไปที่การศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงอย่างเดียว ควรศึกษาหลายๆอย่าง ไปพร้อมๆกัน เพราะ

  1. การศึกษาเพียงอย่างเดียว มันจะไม่ได้พัฒนาสมอง ครบทุกส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ใน  1 วัน หากเราศึกษาเพียงอย่างเดียว ส่วนที่ใช้เยอะจะล้าง่าย พอสมองส่วนนั้นล้า ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ก็จะลดลง ต่อให้พยายามฝืนมันก็ไม่ได้ดีขึ้น(เปล่าประโยชน์)
  3. ใน 1 วัน ถ้าเราศึกษาหลายๆอย่าง พอเริ่มสมองล้า ก็เปลี่ยนเรื่องที่ศึกษา มาใช้สมองอีกส่วนได้ทันที ส่วนที่ล้าก็จะได้พักผ่อน เราจะได้พัฒนาสมองครบทุกส่วน 100% อย่างเต็มประสิทธิภาพ 
  4. ส่วนใหญ่ มักจะแบ่งเรื่องที่ศึกษา ออกเป็น 2 ส่วน ให้เหมาะสมกับสมองซีกซ้าย และ ขวา มั้งนะ หรือจะแบ่งแบบอื่นก็ได้ เช่น ภาษา คำนวณ&ตรรกะ ศิลปะ การเคลื่อนไหว เป็นต้น
    1. หรือแบ่งให้ง่ายกว่านี้คือ พอรู้สึกว่า สมองเริ่มรับอะไรไม่ไหว ก็เปลี่ยนมาทำกิจกรรม หรือ ศึกษาสิ่งที่เบาสมองลงมา แล้วสลับสัปเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆทั้งวัน
  5. วิธีสังเกตว่าสมองเริ่มล้าแล้ว คือ รับอะไรไม่ไหว อ่านได้ช้าลง ย่ำอยู่กับที่ ขอให้รู้ไว้ว่า ไม่ใช่ว่าเราโง่เลยไม่เข้าใจ แต่เพราะ สมองมันล้าต่างหาก ให้เปลี่ยนกิจกรรม ไปศึกษาอย่างอื่น สักพัก(หรือวันถัดมา) ค่อยกลับมาศึกษาต่อ ซึ่งมักจะเกิดไอเดียดีๆ และทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เคยสงสัยได้

Add new comment

The content of this field is kept private and will not be shown publicly.

Plain text

  • No HTML tags allowed.
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.