Skip to main content

ลองลดปริมาณการกินเหลือวันละมื้อ ลดเวลานอน ลดการออกกำลังกาย เพิ่มเวลาชีวิต

Submitted by krishrong on

ปัญหาในปัจจุบัน คือ ไม่มีเวลา

  • เนื่องจากในปัจจุบัน กินวันละ 2 มื้อ โดยคำนวณพลังงานอยู่ที่ 1,200 kcal ต่อวัน แต่การกิน 2 มื้อทำให้ดำเนินชีวิตไม่สะดวก คือ ต้องเสียเวลาไป 2-3 ชั่วโมง กับการจัดการธุระที่เกี่ยวกับอาหาร
  • ส่วนการออกกำลังกายด้วยการวิ่งทุกวัน วันละ 15-20นาที แต่หากรวมเวลาในการเดินไปที่สวนสาธารณะ รวมแล้วกว่า 1 ชั่วโมง ปัญหาของการวิ่งอีกอย่างหนึ่งคือ มีข้อจำกัดด้านการกระแทกของข้อเข่า ยากที่จะทำให้เกิดเป็นแบบ เน้น Intensity หรือ HIIT ได้ แต่จะกลายเป็น Endurance exercise แทน ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดอนุมูลอิสระแทน จากการบาดเจ็บเล็กๆในมัดเส้นใยกล้ามเนื้อ ซึ่งหากเกิดอนุมูลอิสระมาก จะทำให้แก่เร็ว ร่างกายจะต้องพักผ่อนมากขึ้น และไม่สามารถนอนน้อยได้

สิ่งที่จะลองทำต่อจากนี้ คือ

  • ลดอาหารลง เหลือวันละ 1 มื้อ (ทำIF 23/1) โดยกินให้ได้พลังงานอยู่ที่ 900 kcal ต่อวัน(ธัญพืชประมาณ 200กรัม ไข่เบอร์"0" - 2 ฟอง) น่าจะเพิ่มเวลาชีวิตได้ 2 ชั่วโมง
  • ลดการออกกำลังกายด้วยการวิ่งลง เปลี่ยนเป็นวิ่งสัปดาห์ละ 1ครั้ง เพื่อคงความกระฉับกระเฉง หรืออาจเลิกไปเลย?
    ส่วนวันอื่น จะออกกำลังกายแบบเน้น Intensity ได้แก่ วิดพื้น, sit up (เหมือนมีงานวิจัยว่า การออกกำลังกายแบบเน้น Intensity ช่วยให้เกิด Autophagy ที่ skeletal muscle ได้) หรือ อาจลุกขึ้นเดินเป็นเวลา3-5 นาที ทุกชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ขยับเคลื่อนไหว(มี Physical activity) โดยไม่เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งก็จะเพิ่มเวลาชีวิตได้อีก 1 ชั่วโมง
  • นอนวันละ 4 ชั่วโมง ในช่วง 4ทุ่ม-ตี2 ซึ่งเป็นช่วงเวลานอนที่ดีที่สุด เพราะ นาฬิกาชีวิต จะทำให้ hormone ที่สำคัญกับการซ่อมแซมร่างกายออกมาช่วงนี้ เช่น Growth hormone และ ในพระไตรปิฎกก็บอกเช่นกัน เรื่อง การนอนในมัชฌิมยาม โดยจากสถิติที่ว่า คนที่นอนไม่ได้ 7-8ชั่วโมงต่อวัน จะอายุสั้น โดยความเห็นส่วนตัว ข้อมูลเป็นเพียงสถิติของคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าเรากินวันละมื้อ ออกกำลังกายไม่เยอะ นอน 4 ชั่วโมง ก็ยังอายุยืนได้ จากการดำเนินชีวิตที่ไม่หนัก ไม่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ และ การ Fasting ที่ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้เร็วกว่าปกติ (เคยเห็น พระอาจารย์ที่ปฏิบัติภาวนา มีอายุมากกว่า 80 ปี กินวันละมื้อ นอนวันละ 4 ชั่วโมง เดินจงกรมทุกวัน ก็ยังแข็งแรง สติปัญญาเฉียบแหลมกว่าคนทั่วไปเสียอีก) ซึ่งหากทำแบบนี้ ก็จะเพิ่มเวลาชีวิตได้อีก 4 ชั่วโมง

ถ้าลองทำแล้วได้ผล จะมีเวลาชีวิตเพิ่มอีก 7 ชั่วโมง ต่อวัน หรือ เวลาว่างรวมในแต่ละวัน จะอยู่ที่ประมาณ 18 ชั่วโมง เต็มๆ (จากเดิม ที่มีเวลาว่างแค่ 11 ชั่วโมง)

เวลาว่างเต็มๆ 18 ชั่วโมง ทำอะไรบ้าง?

  • 6 ชั่วโมง แรก ฝึก programming
  • 6 ชั่วโมง ต่อมา อ่านหนังสือเตรียมสอบ อังกฤษ&เลข
  • 6 ชั่วโมง สุดท้าย หาความรู้รอบตัว หาโอกาส&ช่องทางหาเงิน เขียนบล๊อกเพิ่มเติม

สิ่งสำคัญ คือ ต้องเข้านอนตอน 4 ทุ่มและตื่นตี2 ให้ได้(วันไหนนอนไม่หลับ ไม่เป็นไรนะ แต่จะตั้งใจว่า จะตื่นตี 2 เสมอ) หากในระหว่างวัน ง่วง ก็ลุกขึ้นเดิน หรือ ดื่มกาแฟ

อีกแนวทางหนึ่ง คือ ใช้ชีวิตแบบพระปฏิบัติ ด้วยการ กินวันละมื้อ แค่พออิ่ม, เดินจงกรม แทนการออกกำลังกาย, นอนวันละ 4 ชั่วโมง

บันทึกการทดลอง

  • วันที่ 1
    • น้ำหนักตัว 45.3กก นอน 3.5ชม อาหาร ธัญพืช 250กรัม, ไข่ไก่ 2 ฟอง, ลูกพลับ 1 ลูก, กาแฟ 2 แก้ว
    • มีเวลาชีวิตมากขึ้นจริงๆแฮะ เอาไปทำอะไรได้หลายอย่างเลย แต่ก่อนทำได้แค่ 2 อย่าง หลักๆในแต่ละวัน คือ อ่านหนังสือเตรียมสอบกับเขียนบล๊อก แต่ตอนนี้มีเวลาชีวิตเพิ่ม สำหรับเรียนเขียนโปรแกรมเสียที ถือว่าคุ้มค่าอยู่นะ
    • รู้สึกความคิดช้าลง,ทื่อลงหน่อย จากความง่วง จากการลดเวลาพักผ่อน คงต้องปรับตัวสักพัก แต่การอ่านหนังสือยังอ่านได้ปกตินะ
    • ความง่วงก็มีนะ แต่กินกาแฟช่วยไปหลังตื่นนอน ก็ช่วยได้บ้างแต่ก็ยังมีเหลือนิดหน่อย
    • เคยได้ยินว่า ถ้านอนน้อยอาจมีความเสี่ยงทำให้ ระบบเผาผลาญทำงานได้น้อยลง ระบบจัดการน้ำตาลในเลือด(Insulin sensitivity)ทำงานด้อยประสิทธิภาพลง รวมถึงความอยากอาหารมีมากขึ้น อยากกินน้ำตาลมากขึ้น ต้องควบคุมการกินดีๆ
    • รู้สึกตื่นตัวกว่า เหมือนสามารถใช้ความคิดทำงานได้ทั้งวัน ใช้เวลาได้คุ้มค่ากว่า ช่วงนอนเยอะจนไม่มีเวลาเสียอีก แต่จริงๆ เคยอ่านเจอว่า ถ้าพักผ่อนไม่พอมากๆ จะตื่นตัวแบบขาดสมาธิได้ จะกลายเป็นตื่นตระหนก ประหม่าตกใจ วิตกกังวลง่าย(anxiety)แทน ต้องคอยสังเกตตัวเองด้วย
      • รู้สึกอยากปฏิบัติธรรม เจริญสติมากขึ้น เพราะ ทำให้รู้สึกมี สติในการคอยรู้สึกตัว เกิดง่ายขึ้น ไม่เหมือนนอนนานๆ จะสบายและลืมการรู้ตัวง่าย
      • มีสติเกิดด้วยตัวเอง โดยไม่จงใจให้เกิด 1 ครั้ง ตอนนั่งสมาธิก่อนนอน
    • ลมหายใจ มี Fruity odor เวลา 8.00น แสดงถึงภาวะ ketosis ที่เข้มข้นขึ้น
  • วันที่ 2
    • น้ำหนักตัว 45.15กก นอน 8ชม อาหาร ธัญพืช 200กรัม, ไข่ไก่ 2 ฟอง, ลูกพลับ 1 ลูก, กาแฟ 3 แก้ว
    • เมื่อคืนเผลอนอนยาว เนื่องจากไม่ได้ตั้งนาฬิกาปลุก และ ไม่ได้ตั้งใจก่อนนอนว่าจะตื่นตี2(ก่อนนอนเผลอหลับสบายไปเลย จนลืมนึก)
    • นั่งสมาธิตอนเช้าหลังตื่น 30 นาที พอเข้าใจมากขึ้นว่า ไม่ใช้ทุกวันจะได้สมาธิเหมือนกัน แต่ต้องนั่งให้ได้ทุกวัน ฝึกไปเรื่อยๆ จะค่อยๆชำนาญขึ้นๆ
    • ช่วงนี้ไอเดียดีๆไม่ค่อยเกิด คงเป็นเพราะ ไม่ได้วิ่งละมั้ง การเดิน ก็ทำให้ไอเดียเกิดได้เหมือนกันนะ แต่ต้องเดินเยอะๆ อย่างน้อยเป็นเวลา 30นาที-ชั่วโมงต่อวัน อาจต้องอาศัยเดินเป็นช่วงเวลาสั้นๆกลับไป-มา ครั้งละ 5 นาที โดยเดินทุกชั่วโมง ก็น่าจะได้วันนึง รวมๆ 12 รอบ ก็ครบชั่วโมงพอดี การเดินช่วยให้กระฉับกระเฉง ความคิดโลดแล่น มีไอเดียดีๆตอนทำงาน หรืออ่านหนังสือได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ ตอนเดินอาจจะลองหัดฝึกสติรู้สึกตัว หรือ รู้สึกลมหายใจไปด้วยก็ได้ เป็นการปฏิบัติธรรมฯไปในตัว
    • วันนี้ตอนอ่านหนังสือ เหมือนโฟกัสที่ตัวหนังสือไม่ค่อยได้อีกแล้ว มันไม่ได้เป็นภาพซ้อน แต่เหมือนเวลาอ่าน จะต้องคอยมองคำในประโยคกลับไปกลับมา เพราะ กล้ามเนื้อตาไม่สามารถดึงตาทั้งสองเข้าหากันได้มากพอขณะมองใกล้ จึงมองภาพนิ่งๆไม่ได้ แต่พอมองห่างๆ ก็อ่านได้มากขึ้น แสดงว่า อาการของตาเหล่ซ่อนเร้น (exophoria) ที่เป็นอยู่ เริ่มกลับมาแล้ว อาจจะต้องหัดลองทำ pencil push up อีกทีหนึ่ง แม้จะไม่มีงานวิจัยอย่างชัดเจนว่า ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตา แต่ถ้ากล้ามเนื้อตา มันเกิดการล้าได้ มันก็ต้องฝึกให้แข็งแรงขึ้นได้สิ?!
      • มีวิธีแก้ไขเบื้องต้นคือ มองไกลๆ พอจะช่วยลดการใช้กล้ามเนื้อตา ที่ทำหน้าที่เหล่ตาเข้าหากันได้บ้าง
      • วิธีอื่นที่ได้ผลดีกว่า pencil push up คือ vision therapy ซึ่งวิธีง่ายๆที่เราทำคือ Stereogram เป็นการเหล่ตาเพื่อรวมภาพ 2 ภาพ ที่มีความใกล้เคียงกัน ฝั่งซ้ายและขวา รวมเป็นภาพเดียวกัน ด้วยการเหล่ตาเข้าหากัน เกิดเป็นภาพใหม่ตรงกลางระหว่างภาพทั้ง2
      • ทำก่อนนอน วันละ 5 นาที
    • ก่อนนอนนั่งสมาธิ 10 นาที และ พยายามตั้งใจก่อนนอนว่าจะตื่นเช้า(แบบว่า กลัวจะตื่นไปไม่ทันรถ ฯลฯ)
  • วันที่ 3
    • น้ำหนักตัว 45.5กก นอน 3.5ชม อาหาร ธัญพืช 220กรัม, ไข่ไก่ 1 ฟอง, ขนม 200kcal, ลูกพลับ 1 ลูก, กาแฟ 2 แก้ว, โดยประมาณ วันนี้ได้พลังงาน 1,100kcal
    • วันนี้นอนน้อยได้แล้ว หลังจากที่เมื่อคืนพยายามตั้งใจก่อนนอนไว้มาก วันนี้ตื่นก่อนนาฬิกาปลุกด้วย แต่อย่างไรก็ยังมีง่วงๆเบลอๆนิดๆ มีเพลียๆ
    • การกินมื้อเดียว และอดเป็นเวลาเกือบ 24 ชั่วโมง ทำให้เริ่มเกิดกระบวนการย้อนวัยในระดับเซลล์ (Autophagy) สังเกตได้จาก ผิวพรรณดีขึ้นด้วยนะ ถึงแม้จะนอนเพียง 4 ชั่วโมง (สภาพผิว ดีกว่าช่วงก่อนหน้า ที่มีการออกกำลังกาย และนอน7-8 ชั่วโมงอีกนะ) เหมือนการดำเนินชีวิตที่ไม่ได้หนัก ไม่เกิดอนุมูลอิสระ ทำให้ลดภาระร่างกายในการซ่อมแซมตัวเองลง และการอดเป็นเวลานาน 24 ชั่วโมง ทำให้ร่างกายเข้าโหมดฟื้นฟูตัวเอง(Autophagy) ทำให้พักผ่อนน้อยลงได้โดยไม่มีปัญหาอะไร 
    • การนอนน้อย ทำให้สติดีขึ้น รู้ตัวได้รวดเร็วขึ้น เห็นอารมณ์และความคิดตัวเองได้ดี ไม่หลงในอารมณ์และความคิดของตัวเอง อาการสมาธิสั้นลดลง ซึ่งไม่เกี่ยวกับการลดอาหาร เพราะ เคยกินอาหาร 3 มื้อ และลดเวลานอน ก็ยังคงให้ผลเดียวกัน แต่การจะนอนน้อยได้ โดยไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย คิดว่า ก็ต้องมีการอดอาหารอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้ ร่างกายอยู่ในโหมดฟื้นฟูตัวเอง(Autophagy)
    • วันนี้เดิน 2-3 กม. หลังอาหารในตอนเช้า แต่ก็ไม่ได้เกิดไอเดียอะไรพิเศษนะ
    • ทั้งนี้ ยังมีข้อเสียบางอย่าง คือ ไม่มีแรง จะใช้ความคิดเยอะๆ เช่น การเขียนบทความ เป็นต้น หรือทำสิ่งต่างๆ เช่น ไม่มีแรงจะขยับตัวไปทำกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น (แม้จะรู้สึกว่าสมองดี ร่างกายดี แต่ไม่มีแรงจะทำอะไร) อาจลองเพิ่มแคลอรี่ให้ได้ 1,200-1,400 kcal แต่พยายามกินให้ได้ใน 1 ชั่วโมงเหมือนเดิม แล้วอด 23 ชั่วโมง โดยก่อนกินอาหาร อาจจะเดินในช่วงเช้า สัก 30 นาที เพื่อรับแดด และให้ร่างกายกระฉับกระเฉง รวมถึงย่อยอาหารได้ดีขึ้น
    • แต่วันนี้ที่น่าสังเกตคือ ยังคงอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้ดีนะ ไหลลื่น (เหมือนจะอ่านได้ดีขึ้นด้วย) การรับข้อมูลทำได้ดีเป็นปกติ แต่อย่างอื่นที่ต้องใช้การประมวลความคิด หรือ ความคิดสร้างสรรค์ จะทำไม่ได้เลย!
      • (แค่จะมาเขียนบันทึกตรงนี้ ยังรู้สึกลำบากเลย ไม่มีแรง ไม่มีไอเดียจะเขียน แต่ก่อนที่กิน 2 มื้อแล้ววิ่ง ไอเดียจะพลุ่งพล่านตลอด ก็ต้องดูต่อไปในวันพรุ่งนี้ ว่าถ้าเพิ่มอาหารประมาณนึง จะดีขึ้นไหม)
    • โดยหลักๆ ที่ต้องการในตอนนี้ ไม่ได้ต้องการเวลานอนเพิ่มแต่อย่างใด เพราะ ไม่ได้รู้สึกลำบากเลย แต่ต้องการอาหารมากกว่า!!!
  • วันที่ 4
    • น้ำหนักตัว 45.3กก นอน 5ชม อาหาร ธัญพืช 350กรัม, ไข่เป็ด 2 ฟอง, หมูปิ้ง 2 ไม้, ขนม 480kcal, กาแฟ 2 แก้ว, โดยประมาณ วันนี้ได้พลังงาน 2,130 kcal!!
    • เดิน 1 ชั่วโมงในตอนเช้า จ่ายตลาดไปในตัว
    • วันนี้กินเยอะจริงๆ คงเป็นเพราะอดอยากมานาน เพิ่มระยะเวลาการกินเป็น 2 ชมต่อวัน (เปลี่ยนเป็น IF22/2)
      • สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ รู้สึกสมองได้รับสารอาหารเต็มที่ และกลับมามีแรงทำสิ่งต่างๆ รวมถึงเขียนบทความแล้ว
  • วันที่ 5-7
    • กลับบ้าน และเนื่องจากต้องตรวจตา จึงนอนน้อยไม่ได้ จึงไม่ได้ทดลอง
    • ช่วงนั่งรถเดินทางไกล ไม่สามารถอ่านหนังสือได้เท่าไหร่นะ เหมือนร่างกายแข็งแรงน้อยลง จากการที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  • วันที่ 5
    • น้ำหนักตัว 46.65 กก นอน 4ชม อาหาร ธัญพืช 300กรัม, ไข่เป็ด 2 ฟอง, ขนม 150 kcal, กาแฟ 2 แก้ว, โดยประมาณ วันนี้ได้พลังงาน 1,500 kcal IF 22/2(ต่อให้กินเยอะ ถ้าห่างกัน 30-60 นาที ก็ไม่แน่นอึดอัดท้องแฮะ)
    • เหมือนการจะตื่นให้ได้ 20 ชั่วโมงต่อวัน ก็น่าจะต้องใช้พลังงานเยอะขึ้นเล็กน้อย เช่น
      • ปกติได้พลังงานจากอาหารวันละ 1,350 kcal 
        • โดยนอน 8 ชม ก็จะมีการเผาผลาญเช่นกัน เมื่อคำนวณกับน้ำหนัก(45kg) ก็อยู่ที่ประมาณ 180kcal
        • ตื่น 16 ชั่วโมง ใช้พลังงานส่วนที่เหลือ 1,170kcal ตกชั่วโมงละ 73.125 kcal
      • ถ้านอน 4 ชม ใช้พลังงานตอนนอน 4ชม = 90 kcal, ตื่น20ชม = 20x73.125 = 1462.50kcal รวมแล้วก็อยู่ที่ 1552.50 kcal จึงจะเพียงพอให้ใช้ตลอดวัน
        • อัพเดต: พอคำนวณพลังงานให้พอดี ก็จะมีแรงทั้งวัน ไม่รู้สึกขาดพลังหรือหิวโหย หรือเอาแต่นึกถึงอาหารแบบเมื่อก่อน แต่อาจไม่เกิดภาวะ autophagy เท่าไหร่(ถ้าได้พลังงานน้อยกว่าปกติ จะเกิด autophagy ง่ายกว่า แก่ช้า แต่จะมีความรู้สึกหิวโหย และไม่มีแรงจะทำอะไรเลย)
    • วิ่งแค่ 1 กม. วิ่งเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้(HIIT - เน้น intensity) ซึ่งเป็นการเน้นความหนัก(intensity) ในการวิ่ง ไม่เน้นความนาน(endurance) ก็พอไหวอยู่นะ ถ้าวิ่งทุกวันตอนเช้า น่าจะได้(ก่อนไปซื้อของที่ตลาด) เพื่อให้ สมองยังคงเกิดไอเดียดีๆ, ความจำดี และ คงสภาพร่างกายให้แข็งแรงมีความกระฉับกระเฉงตลอด ในทุกๆวัน โดยที่ไม่มากเกินไปจนเกิดการอักเสบและแก่เร็วแทน
      • เดิน 1 ชั่วโมง ไม่ช่วยให้เกิดไอเดีย และความจำที่ดีได้ เท่ากับ การวิ่งสุดแรงเกิด เพียง 1 กม. นะ!!
      • มีการศึกษาพบว่า การออกกำลังกาย ช่วยปรับปรุงสมองของคนที่เป็นสมาธิสั้น ให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้นได้นะ หรือ ขอเพียงให้มีการขยับร่างกายเสมอๆ
    • นอนน้อย อย่างไรก็รู้สึกอ่อนเพลีย, คิดอะไรได้ช้า ไม่ค่อยคล่องแคล่วว่องไว นอกจากนี้ จะทำให้เกิดภาวะ anxiety ตื่นตกใจ วิตกกังวลง่าย(ทีแรกเข้าใจว่าตื่นตัว แต่บางทีอาจมากไป กลายเป็นตื่นตระหนก) ต้องหาวิธีแก้ เช่น ฝึกสมาธิเพิ่มเติม หรือ นอนแบบนี้ ไปเรื่อยๆ จนร่างกายชิน รวมถึงการแก้สมาธิสั้น
  • วันที่ 6
    • น้ำหนักตัว 46.05 กก นอน 5ชม อาหาร ธัญพืช 280กรัม, ไข่เป็ด 2 ฟอง, ขนม 650 kcal, กาแฟ 3 แก้ว, โดยประมาณ วันนี้ได้พลังงาน 1,900 kcal IF 22/2
    • เกิด Fruity odor(เกิด ketosis แบบเข้มข้น) หลังการวิ่งในตอนเช้า 1 กม โดยวิ่งแบบเน้น intensity และอดมา 24ชม
    • รู้สึกเริ่มคิดเลขได้เร็วขึ้น หาวิธีลัดในการคิดเลขได้เก่งขึ้น เหมือนกับ นอนน้อย แต่ถ้าทำFasting และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ก็พอยังมีสุขภาพดีขึ้นได้?
    • เผลอไปกินเยอะอีกแล้ว ก็ไม่ค่อยมีสมาธิตามเคย จากความอึดอัด และเลือดที่ไม่ไปเลี้ยงสมอง กระสับกระส่ายทั้งวัน ตกเย็น จึงจะเริ่มอ่านหนังสือได้
    • เหมือนผิวหน้าเริ่มมีผื่นแพ้ ช่วงที่กินน้อย(จำกัดแคลอรี่) ผื่นลดลงอยู่นะ เกี่ยวกับที่กินมากไปจนร่างกายเกิดการอักเสบง่ายรึเปล่านะ
  • วันที่ 7
    • น้ำหนักตัว 45.7 กก นอน 7ชม อาหาร ธัญพืช 300กรัม, ไข่เป็ด 2 ฟอง, ขนม 250 kcal, มะม่วง 1 ผล, กาแฟ 2 แก้ว, โดยประมาณ วันนี้ได้พลังงาน 1,600 kcal IF 23/1
    • วันนี้นอนเยอะ ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการวิ่ง และ การที่เรากินเยอะหรือเปล่า เลยทำให้ร่างกายเกิดอนุมูลอิสระมาก กล้ามเนื้อมีการอ่อนเพลีย เลยต้องพักผ่อนมากขึ้น?
      • จะปรับเปลี่ยนเหลือวิ่งวันเว้นวัน และ ลดปริมาณการกินลงให้เป็นปกติ
      • หรือเลิกวิ่ง แล้วเปลี่ยนเป็นเดินทุกชั่วโมง ครั้งละ 5 นาทีแทน และ กินน้อยลง
    • ผลจากการนอนเยอะขึ้น
      • ก็กลับมานั่งสมาธิได้(ก่อนหน้านี้ ที่นอนน้อย นั่งสมาธิไม่ได้ไปช่วงนึง)
      • ความรู้สึกอยากอาหาร แบบผิดปกติ ลดลง
      • รู้สึกเฉื่อยชามากขึ้น ไม่ตื่นตัว รู้สึกอ่านหนังสือ ใช้ความคิด ไม่คล่องตัวเท่านอนน้อยนะ
    • เรื่องการกิน ถ้าอยู่ในช่วงไม่เกิน 1,500-1,600 kcal ยังพอรวมเป็นมื้อเดียวได้ โดยไม่อึดอัดหรือส่งผลต่อการใช้ชีวิตตามปกติเท่าไหร่นะ
  • วันที่ 8
    • น้ำหนักตัว 45.8 กก นอน 5ชม โดยประมาณ วันนี้ได้พลังงาน 2,300 kcal ไม่ได้ IF กิน 2-3 มื้อ! (พอดีมีคนเอาข้าวกลางวันฟรีให้กิน เลยกินอีก 555) หรือจริงๆ คือ IF 15/9
    • ตื่นขึ้นมาอ่อนเพลีย งัวเงียอยู่อีก 30 นาที(วันแรกสุดที่กินน้อยและไม่ได้วิ่ง ตื่นได้ทันที ไม่ง่วง)
      • จะลองงดการวิ่งออกกำลังกายดู แต่ยังกินอาหารเท่าเดิม แล้วดูว่าจะนอนน้อยได้ไหม
    • อย่างน้อยก็ลองดูว่า งดออกกำลังกาย จะนอนได้น้อยลงไหม
  • วันที่ 9
    • น้ำหนักตัว 46.55 กก นอน 3.5 ชม กินอาหาร 900 kcal IF 23/1 
    • กลับมาตอนน้อยได้แล้ว หลังจากหยุดออกกำลังกายไป แสดงว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพักผ่อน คือการออกกำลังกายหนักนี่เอง
    • สรุปปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
      • ออกกำลังกายหนัก ทำให้เกิดภาระแก่ร่างกายในการซ่อมแซมตัวเอง แม้เพียงวิ่ง 1 กม. ก็ทำให้ต้องนอนมากขึ้น
        • แนะนำให้งดออกกำลังกายหนัก แต่เปลี่ยนเป็นทำกิจกรรมเบาๆ เช่น เดินเยอะๆแทน
      • การกินอาหาร ไม่มีผลกับการนอน ยกเว้นการกินดึก? แต่ยังไม่แน่ใจว่าต่างกันขนาดไหนในรูปแบบการกินแต่ละแบบ
        • กินวันละมื้อ ดีกว่าแบ่ง กินหลายๆมื้อ(IF 23/1) เพราะ เนื่องจากไม่ได้ออกกำลังกายเพื่อเร่งการเผาผลาญ การอดที่นานกว่า ทำให้ประโยชน์จากการภาวะ ketosis ที่เกิดนานกว่า ประโยชน์จากการชะลอวัย(autophagy) ก็เกิดนานกว่า
        • กินน้อย แม้จะไม่มีแรง แต่เหมือนสมองจะมีการสร้างทางลัดในวงจรใยประสาท เพื่อให้ประหยัดพลังงาน? เช่น เขียนบทความได้ทันที โดยไม่ต้องร่างเยอะ เป็นต้น นอกจากนี้ อาจทำให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ดีขึ้นกว่าการกินเยอะ ด้วยเวลาการ IF ที่เท่ากัน?
        • กินเยอะ ให้พลังงานเพียงพอกับที่ต้องใช้ขั้นต่ำ(BMR) ก็จะทำให้มีแรงทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ โดยไม่รู้สึกอ่อนเพลีย หรือ เกิดความหิวโหย นึกถึงแต่อาหารทั้งวัน
        • ทั้งนี้ การกินเยอะ ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกขยันขึ้นแต่อย่างใด ก็ยังขี้เกียจเหมือนเดิม ซึ่งการกินน้อย หรือ กินพอดีๆ อาจจะช่วยให้ใช้พลังงานได้คุ้มค่ากว่า
      • การทดลองต่อไป คือ ทดลองปรับปริมาณอาหาร ทั้ง มาก น้อย และดูผลที่แตกต่างกันออกไป แต่จะกินแค่ 1 ชม. ต่อวันเท่ากัน(IF 23/1)
        • ช่วงที่ผ่านมากินเยอะ ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามีอะไรดีเป็นพิเศษนะ
        • แต่ถ้ากินน้อย จะรู้สึกว่า ร่างกายพยายามลดการใช้พลังงานโดยไม่จำเป็น เช่น ถ้าจะเขียนบทความ ก็สามารถเขียนได้เลย ไม่ต้องคิดคำพูดฟุ่มเฟือยแล้วแก้ไปแก้มา เป็นต้น เหมือนกับว่า สมองจะพยายามปรับตัวให้ฝึกคิดลัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่สิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด ถ้าทำแบบนี้บ่อยๆ วงจรในสมอง จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดไหมนะ?! (เกิด neuroplasticity ได้มากกว่า)
        • แต่ทั้งนี้ มีงานวิจัยว่า การทำIF แต่กินปริมาณเท่าเดิม(ไม่ได้ลดแคลอรี่) ก็ยังได้ผลดี ไม่ต่างจากการกินแบบลดแคลอรี่ หมายความว่า สิ่งสำคัญ คือ การจำกัดช่วงเวลาการกิน อาจไม่จำเป็นต้องจำกัดแคลอรี่เท่าไหร่
          • การกินอาหารในธรรมชาติ ตามวิวัฒนาการของมนุษย์ ในสมัยก่อน เราไม่มีตู้เย็นที่จะเก็บไว้กินทีหลัง อีกทั้งเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายจากสัตว์นักล่าอื่น จึงต้องกินให้ได้มากที่สุดในคราวเดียว แล้วช่วงเวลาที่เหลือในวันนั้น จึงเป็นการอด ร่างกายของมนมุษย์น่าจะวิวัฒนาการ ให้เหมาะสมกับรูปแบบชีวิตแบบนี้
        • สรุป อาจจะกินเท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่ตามความต้องการเลย เพียงแต่ขอให้อยู่ในช่วง 1 ชม. ต่อวัน หรือไม่ก็ กินน้อย สลับกับ กินเยอะ ไปในแต่ละวัน
          • ในเรื่องการกินน้อย มันค่อนข้างยากที่จะรู้ว่า กินเท่าไหร่ ที่เรียกว่าน้อยสำหรับร่างกายแต่ละคน บางทีอาจจะน้อยไม่พอ หรือบางทีอาจจะน้อยเกินไป?
            • หรือ เลิกทดลองเชิงปริมาณ มาก-น้อย แล้วเปลี่ยนเป็น กินตามการจำกัดเวลา น่าจะทำตามได้ง่ายกว่า(compliance ดีกว่า)
        • สรุปจริงๆ คือ กินแบบกำหนดเวลาก็พอ ไม่สนมาก-น้อย ซึ่งเวลาที่กำหนดคือ 1 ชั่วโมง ต่อวัน
        • บางที ที่เราเผลอไปกินเยอะ อาจเกิดจากความเบื่อ(dopamine น่าจะลดลง) เลยต้องการทำกิจกรรม ที่ทำให้ dopamine หลั่งมากขึ้น เช่น กิน, เสพสิ่งบันเทิง ฯลฯ ถ้าเราชินกับความเบื่อ หรือรูปแบบชีวิตประจำวันแบบใหม่ การทำสิ่งเหล่านี้น่าจะลดลง
  • วันที่ 10
    • นอน 4 ชม. กินอาหาร 1,200-1,500kcal IF 23/1(กลับมาพักที่บ้าน เลยไม่รู้ว่ากินเท่าไหร่แน่)
    • ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนน้อย
      • งดออกกำลังกายหนัก จะทำให้นอนน้อยไม่ได้ แม้เพียงวิ่ง 1 กม. วันละ 5 นาที
        • แต่ถ้าเดินไกลๆ แบกสำภาระหนักๆ อันนี้ทำได้ ไม่มีผลทำให้ต้องพักผ่อนเพิ่ม
        • หรือออกกำลังกายเพื่อฝึกแรงต้านเบาๆ เช่น วิดพื้น, sit up ก็ทำได้ไม่มีปัญหา
      • กินอาหาร มากหรือน้อย กินในช่วงไหน จำนวนมื้อ ช่วงเวลากินกว้างเท่าไหร่ ก็ไม่มีผล
        • แต่ ถ้ากินในช่วง 1 ชม.ต่อวัน แล้วที่เหลืออด 23 ชม(IF23/1) ก็จะช่วยในเรื่องชะลอวัย(autophagy) เป็นการชดเชยความเสี่ยงจากการนอนน้อย เพราะ การนอนน้อยมีความเสี่ยงที่จะแก่เร็ว
      • ช่วงเวลานอน 4ทุ่ม-ตีสอง เป็นช่วงเวลานอนที่ดีที่สุด ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เหมาะสมกับการซ่อมแซมตัวเองมากที่สุด
  • วันที่ 11
    • น้ำหนักตัว 45.35 กก นอน 8ชม อาหาร ธัญพืช 250 กรัม, ไขไก่ 2 ฟอง, ขนม 370 kcal, กล้วยน้ำว้า 2 ผล,  กาแฟ 2 แก้ว, โดยประมาณ วันนี้ได้พลังงาน 1,600 kcal IF 23/1
    • เหมือนพอเจ็บป่วย (มีไข้ต่ำๆ ตั้งแต่เมื่อคืน) ร่างกายจะต้องการพักผ่อนมากขึ้น เลยนอนเยอะ ไปถึง 8 ชม
    • ถ้าวันไหนนอนเยอะ จะกำหนดเวลา ดังนี้
      • 5 ชม programming
      • 5 ชม อ่านหนังสือ เตรียมสอบ
      • 4 ชม เขียนบล็อก หาความรู้รอบตัว
    • อยากลองปรับเปลี่ยนมากินอาหารให้หลากหลายมากขึ้น ด้วยการเพิ่มผลไม้หลากหลายชนิด แต่ไม่เน้นพลังงานมากนัก
    • วันนี้กลับมาวิ่ง 3 กม. แล้ว pace ประมาณ 5:45 min/km เริ่มมีไอเดียและความคิดดีๆ ชัดเจนขึ้น อยากจะเขียนบล๊อกขึ้นมาละ
      • หลังวิ่ง ความคิด และ ความจำ เริ่มกลับมาดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ช่วงที่ผ่านมา ที่งดออกกำลังกายไปสักพัก แม้จะมีความคิดดีๆ แต่พอจะมาบันทึกก็ลืมแล้ว(แบบว่าแค่พลิกตัวเปลี่ยนอิริยาบท ก็ลืมแล้ว สมาธิสั้นสุดๆ!!) แต่หลังจากวิ่ง เริ่มมีไอเดียดีๆเกิดขึ้น และ จดจำมันได้ดีขึ้น อย่างน้อยก็เริ่มพอจะเอามาบันทึกเก็บไว้ได้ การออกกำลังกายเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้จริงๆ อาจต้องกลับมาออกกำลังกายทุกวัน หรืออย่างน้อยวันเว้นวัน เพื่อ productivity ที่ดีที่สุด
        • มีทางเลือกในการวิ่ง ดังนี้
          1. วิ่งแบบเน้น endurance(ความอึด) ผสม intensity(วิ่งสุดแรง) วันละ 3 กม.(15-20 นาที) พัก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
            1. วิ่งทุกวัน
            2. วิ่งวันเว้นวัน
            3. วิ่ง สัปดาห์ละ 2 วัน
          2. วิ่งแบบเน้น intensity(วิ่งสุดแรง) วันละ 1 กม.
            1. วิ่งทุกวัน
            2. วิ่งวันเว้นวัน
            3. วิ่ง สัปดาห์ละ 2 วัน
        • ที่ผ่านมาได้ลอง 2.1 พบว่า นอนน้อยไม่ไหว ต้องพักผ่อนมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมร่างกาย แต่จริงๆมีคนทดลองนอนน้อย ก็ยังออกกำลังกายได้ตามปกติเลยนะ อาจจะต้องให้ร่างกายปรับตัวก่อน อย่างจริงจังละมั้ง ในขั้นต้น ขอให้ทำแบบ 1.2 ได้น่าจะโอเค เพื่อให้เกิด productivity สูงสุด โดยที่ไม่ใช้งานร่างกายมากจนพัง
        • ที่น่าสังเกตคือ แม้ช่วงที่ผ่านมา จะไม่ได้วิ่ง เป็นเวลาเกือบ 1 สัปดาห์ แต่การกินมื้อเดียว(IF 23/1) ทำให้มี Growth hormone หลั่งออกมา ช่วยคงสภาพกล้ามเนื้อ พอวันนี้มาวิ่ง ก็ยังวิ่งได้ฉิว เหมือนเดิม แรงไม่ตกเลย
  • วันที่ 12
    • น้ำหนักตัว 45.55 กก นอน 4ชม อาหาร ธัญพืช 230 กรัม, ไข่ไก่ 3 ฟอง, ขนม 370 kcal, กล้วยน้ำว้า 2 ผล,  กาแฟ 2 แก้ว, โดยประมาณ วันนี้ได้พลังงาน 1,600 kcal IF 23/1
    • วันนี้กลับมานอนน้อยได้แล้ว แม้ว่าเมื่อวานจะวิ่งหนักก็ตาม
    • ช่วงนี้ป่วย เหมือนเป็นโรคไข้เลือดออก(ไข้หลายวัน เจ็บและมีผื่นตามตัว) เลยไม่มีอะไรจะบันทึกเป็นพิเศษ
  • วันที่ 13(28 พ.ย.)
    • วันนี้นอน 8 ชม อาหาร ธัญพืช 250 กรัม ไข่ไก่ 3 ฟอง กล้วยน้ำว้า 3 ผล มะม่วง 1 ผล กาแฟ 2 แก้ว วันนี้ได้พลังงาน 1,500 kcal IF 23/1
    • ตื่นหลังนอนไป 4 ชม แต่รู้สึกไม่สนชื่นกระฉับกระเฉง ไม่มีแรง ง่วง เลยเผลอไปนอนต่อ
    • รู้สึกว่าพยายามเท่าไหร่ ก็เหมือนวนอยู่กับที่เดิม ร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้นอนน้อยจริงๆได้สักที เพราะ อะไรกันนะ
Notes

** บทความนี้อยู่ใน หมวดหมู่ บันทึกประจำวัน ซึ่งมักจะเป็นเนื้อหาที่ ยังอยู่ในระหว่างการทดลองส่วนตัว ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ จึงขอแนะนำให้ผู้อ่านติดตาม จากเนื้อหาที่มีความเป็นปัจจุบันที่สุด โดยการคลิกที่ ลิงค์ "Tags" ที่เกี่ยวข้องด้านล่าง เพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้อง ที่มีการอัพเดตล่าสุด ได้เลยครับ

Add new comment

The content of this field is kept private and will not be shown publicly.

Plain text

  • No HTML tags allowed.
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.