สรุปในด้านการพัฒนาตนเองนะ ยังไม่สรุปภาพรวมชีวิตว่ามี routine อะไรที่ควรปรับปรุงบ้าง
- ได้ตรวจสายตากับจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทตาและกล้ามเนื้อตา จากที่เคยสงสัยว่าจะมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อตาและภาวะ convergence insufficiency
- ก็พบว่ามี exophoria ที่ตาขวา PD 6 ขณะมองใกล้มั้งนะ(แอบเหลือบไปดู medical record) แต่หากมองสองตาจะไม่เกิดภาพแยก จึงเรียกว่า ภาวะเหล่ซ่อนเร้น
- ซึ่งคุณหมอบอกว่าไม่เยอะมากถึงขนาดที่จะต้องทำการรักษาอะไร ให้ติดตามดูอาการ อาจมีผลในเรื่อง การอ่านหนังสืออาจมีตาล้าได้ง่ายกว่าคนปกติได้บ้าง
- ส่วนเรื่อง convergence insufficiency จะมากและมีผล ก็ต่อเมื่อเห็นภาพซ้อน หากยังไม่เห็นภาพซ้อนก็นับว่ายังไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งจริงๆของตัวเอง มันเกิดจากการที่มี exophoria เล็กน้อยนี่แหละ
- ส่วนเรื่อง การฝึก pencil push up อาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่มันไม่ได้มีงานวิจัย ว่าช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาโดยตรง
- ก็พบว่ามี exophoria ที่ตาขวา PD 6 ขณะมองใกล้มั้งนะ(แอบเหลือบไปดู medical record) แต่หากมองสองตาจะไม่เกิดภาพแยก จึงเรียกว่า ภาวะเหล่ซ่อนเร้น
- แสดงว่าทุกวันนี้ เราอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว สำหรับการอ่านหนังสือ แต่หากมีปัญหา หรือ อยากเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านให้มากขึ้น ให้พิจารณาปัจจัย ดังนี้
- เนื้อหาที่อ่าน เราไม่ถนัด ไม่เคยเจอมาก่อน ทำให้ต้องใช้เวลา ความอดทน ความพยายาม ในการทำความเข้าใจ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ (โดยเฉพาะวิชาที่เราไม่ชอบ แต่ต้องจำใจอ่าน [เพราะมีความรู้บางอย่างที่จำเป็นต้องใช้] แต่อย่าให้เกิน 10-20% จากสัดส่วนเนื้อหาที่เราชอบนะ ไม่งั้นจะขาดแรงกระตุ้นจากสิ่งที่ชอบ และจะเฉี่อยชา)
- วิ่ง/ออกกำลังกาย ก็ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ประสิทธิภาพการอ่านจะดีขึ้นได้
- นั่งสมาธิ ช่วยให้เรามีสมาธิกับการอ่านได้ และช่วยให้ภาวะวิตกกังวล(anxiety)ลดลง
- ทั้งนี้ อย่าหวังผลประโยชน์จากการฝึกสมาธิ เพราะ มันเอาความแน่นอนไม่ได้ ถ้าเราทำสมาธิได้ดีช่วงหนึ่งแล้วเราก็ยิ่งพึ่งพาสมาธิ เพื่อไปทำงานที่ยากเกินตัว อีกช่วงนึงหากสมาธิเสื่อม เราจะลำบากแน่นอน
- ผลที่หวังได้จากการทำสมาธิ มีเพียงแค่ การช่วยให้ภาวะวิตกกังวล(anxiety)ลดลง เท่านั้น
- ทั้งนี้ อย่าหวังผลประโยชน์จากการฝึกสมาธิ เพราะ มันเอาความแน่นอนไม่ได้ ถ้าเราทำสมาธิได้ดีช่วงหนึ่งแล้วเราก็ยิ่งพึ่งพาสมาธิ เพื่อไปทำงานที่ยากเกินตัว อีกช่วงนึงหากสมาธิเสื่อม เราจะลำบากแน่นอน
- อีกวิธีนึงคือ ใช้สติ สร้างสมาธิในการอ่าน คือโดยปกติ ตำรามีหลายรูปแบบ บางเนื้อหาอาจจะไม่เหมาะการใช้สมาธิตรงๆเสียทีเดียว เพราะ เนื้อหาบางอย่าง ต้องอ่านไปคิดไป พอคิดมากๆอาจทำให้ฟุ้งซ่าน และเริ่มคิดนอกเรื่อง ให้มีสติรู้ทันการคิดฟุ้งซ่าน แล้วกลับมาอ่านหนังสือต่อ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะอยู่กับเนื้อหาได้ตลอดการอ่าน
- การทำ Intermittent Fasting จะช่วยเพิ่ม Neuroplasticity ได้ ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงในเรื่องการเรียนรู้
- แต่ถ้า IF มากไป(อดเกินพอดี) จะไม่มีแรงอ่านหนังสือ หรือทำงาน ชีวิตก็หยุดอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาเพิ่มเติมนะ
- โดยปกติ ถ้าอยากมีแรง อ่านหนังสือหรือทำงานทั้งวันทั้งคืน การทำ IF 18/6 น่าจะได้นะ คือ กินอาหารในช่วง 6 ชม กินเท่าไหร่ก็ได้ แล้วที่เหลือ 18 ชม ก็อด โดยอาจจะทำแบบศีล8 ก็ได้ คือ กินในช่วงเช้าถึงก่อนเที่ยงเท่านั้น
- โดยส่วนตัวเคยลองแบบ 22.5/1.5 ปรากฏว่า ไม่มีแรงตอนเย็นนะ ไม่มีแรงพอที่จะอ่านหนังสือ หรือทำงานที่ใช้ความคิด อย่างจริงจังต่อ
- การกินเท่าไหร่ก็ได้ ต่อให้เรากินมาก แต่ถ้าอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มันก็ยังได้ประโยชน์มากกว่า การกินปริมาณเท่ากันแต่แบ่งกินทั้งวันนะ
- จริงๆ เรื่องปริมาณการกิน แรกๆอาจจะกินเยอะมากเกินไป แต่สุดท้าย ถ้ามันเกินกว่าที่ต้องการ ร่ายกายน่าจะค่อยๆปรับลดความอยากอาหารลงเองนะ แต่ถ้ากินน้อยไป มันก็จะอ่อนเพลียหมดแรงและมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
- ชั่วโมงการกิน ถ้าบีบให้แคบลง น่าจะได้ประโยชน์ในเรื่องสุขภาพมากขึ้น แต่โดยส่วนตัวคิดว่า ก็ไม่ควรน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอกับพลังงานที่ต้องใช้ และอย่างน้อยๆขอให้อยู่ในช่วงเช้า 6.00 - เที่ยง 12.00(หรือไม่เกิน 13.00 หากทำงาน) แบบศีล8 เพราะ อาหารจะย่อยหมดในช่วงเย็นพอดี และ เอื้อต่อการเกิด Neuroplasticity ที่จะเกิดเป็นปกติในขณะนอนหลับ ได้พอๆกัน
- โดยปกติ ถ้าอยากมีแรง อ่านหนังสือหรือทำงานทั้งวันทั้งคืน การทำ IF 18/6 น่าจะได้นะ คือ กินอาหารในช่วง 6 ชม กินเท่าไหร่ก็ได้ แล้วที่เหลือ 18 ชม ก็อด โดยอาจจะทำแบบศีล8 ก็ได้ คือ กินในช่วงเช้าถึงก่อนเที่ยงเท่านั้น
- แต่ถ้า IF มากไป(อดเกินพอดี) จะไม่มีแรงอ่านหนังสือ หรือทำงาน ชีวิตก็หยุดอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาเพิ่มเติมนะ
Notes
** บทความนี้อยู่ใน หมวดหมู่ บันทึกประจำวัน ซึ่งมักจะเป็นเนื้อหาที่ ยังอยู่ในระหว่างการทดลองส่วนตัว ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ จึงขอแนะนำให้ผู้อ่านติดตาม จากเนื้อหาที่มีความเป็นปัจจุบันที่สุด โดยการคลิกที่ ลิงค์ "Tags"
ที่เกี่ยวข้องด้านล่าง เพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้อง ที่มีการอัพเดตล่าสุด ได้เลยครับ
Add new comment