Skip to main content

ใช้ชีวิตทุ่มกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในแต่ละช่วงเวลามากเกินไป ไม่มีความสมดุล

Submitted by krishrong on

ปัญหาหนึ่งที่ยังหาวิธีแก้ไม่ได้ ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา

  • ปัญหา คือ ใช้ชีวิตในแต่ละช่วงเวลา กับทางใดทางหนึ่งมากเกินไป ไม่เป็นอันทำอย่างอื่น ไม่สมดุล เช่น เขียนบล็อก ก็เขียนทั้งวัน, เขียนโปรแกรม ก็เขียนทั้งวัน, อ่านหนังสือ ก็อ่านทั้งวัน, มีความต้องการสืบค้นเรื่องอะไร ก็สืบค้นทั้งวัน, อยากจัดบ้านให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก็จัดๆเปลี่ยนๆทั้งวัน, อยู่กับตัวเอง ก็วิเคราะห์ตัวเองทั้งวัน, มีไอเดียผุดขึ้น ก็จดบันทึก และหาทางต่อยอดทั้งวัน เป็นต้น ซึ่งมันค่อนข้างขาดความสมดุล แทนที่จะทำทุกอย่างไปพร้อมๆกัน
    • มันเป็นลักษณะของความไม่แน่นอน ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นด้านหนึ่งที่สำคัญมาก สำหรับการพัฒนาตนเอง
  • สาเหตุเกิดจาก
    • เท่าที่สังเกตตัวเอง มันจะเกิดจากการที่ เวลามี ไอเดีย หรือ ข้อสงสัย หรือ ความคิดอะไรสักอย่าง ผุดขึ้นในหัว แล้วกลัวว่าจะลืมความคิดนั้นๆไป ประกอบกับมีความตื่นเต้นกับไอเดีย หรือ สมมติฐาน/คำถามใหม่ๆ จึงต้องรีบไปให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านั้นก่อน โดยละทิ้งสิ่งอื่นๆไป ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในการดำเนินชีวิต
    • อีกสาเหตุหนึ่ง คือ สิ่งเหล่านี้ รู้สึกว่ามันมีประโยชน์ มีความจำเป็นต้องรู้ เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น จึงอยากให้ความสำคัญกับมันเป็นอันดับต้นๆ และจำเป็นที่จะต้องทำในขณะนั้น
  • ทางแก้ คือ 
    • จดบันทึกไอเดียไว้ จะได้ไม่ลืม แต่เดี๋ยวค่อยมาดูทีหลัง ทำงานที่ต้องทำก่อน ตามกำหนดเวลาต้องทำอะไร ก็ต้องทำตามนั้น(แต่ถ้ากำหนดการมันไม่เหมาะสม ก็ปรับได้นะ ไม่ได้ยึดติด)
      • การลืมไอเดียดีๆเป็นสิ่งที่แย่ เพราะ หลายๆไอเดีย แม้จะดูเป็นไปไม่ได้ หรือดูแปลกประหลาด แต่สามารถจุดประกายต่อยอดความคิด เกิดเป็นสิ่งสำคัญต่อโลกขึ้นได้
      • พอจะมีวิธีในการบันทึกไอเดียไว้อย่างมีประสิทธิภาพไหมนะ? ถ้ามี อาจเป็นไอเดียทางธุรกิจที่ดีมากอย่างหนึ่งเลยนะ เพราะ เป็น solution ที่มีประโยชน์กับมนุษย์มาก
        • เคยดู youtube ของ Ali Abdaal สมัยที่เขายังเป็นแพทย์ที่ Cambridge ขนาดว่า เวลาอาบน้ำ ก็ยังมีสมุดบันทึกไอเดียไว้ในห้องน้ำเลยนะ หมายความว่า การลืมไอเดียทผุดขึ้น มักเป็นกันทุกคน จึงควรบันทึกไว้เสมอๆ
Notes

** บทความนี้อยู่ใน หมวดหมู่ บันทึกประจำวัน ซึ่งมักจะเป็นเนื้อหาที่ ยังอยู่ในระหว่างการทดลองส่วนตัว ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ จึงขอแนะนำให้ผู้อ่านติดตาม จากเนื้อหาที่มีความเป็นปัจจุบันที่สุด โดยการคลิกที่ ลิงค์ "Tags" ที่เกี่ยวข้องด้านล่าง เพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้อง ที่มีการอัพเดตล่าสุด ได้เลยครับ

Add new comment

The content of this field is kept private and will not be shown publicly.

Plain text

  • No HTML tags allowed.
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.