การเทรดไม่มีอะไรแน่นอน หรือถูกต้อง100% แม้แต่คนที่ฉลาดที่สุด ก็ยังสามารถพอร์ตแตกได้ ต่อให้เราหากลยุทธ์การเทรดดีแค่ไหน แต่หากไม่ได้บริหารความเสี่ยง มันก็เป็นเพียงกลยุทธ์เพื่อรอวันพอร์ตแตกเท่านั้น การบริหารหรือลดความเสี่ยง จึงเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้สำเร็จประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว
เราไม่ได้สามารถเสี่ยงได้ทั้งหมดของทุนที่มี เช่น กองทุนมีเงิน 100 ล้าน ผู้บริหารกองทุน สามารถขาดทุนได้จริง ก็ไม่เกิน 10% ต่อปี(Max dragdown limit) หรือ 10 ล้าน (ถ้าขาดทุนมากกว่านี้ ก็คงได้หางานใหม่) เป็นต้น เงินทุนที่สามารถ ยอมเสียในการเทรดได้จริง เรียกอีกอย่างว่า Free capital
สำหรับคนทั่วไป(retail trader) Free capital ก็น่าจะเป็นเงินที่ "ต่อให้เสียไป ชีวิตก็ไม่เดือดร้อน" โดยคำนวณจากเงินทั้งหมด หักค่าอยู่ค่ากิน ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และเงินสำรองฉุกเฉิน ออกไป ที่เหลือจึงค่อยนำมาเป็นทุนในการเทรด
โดยในตำรา จะมีหลักการควบคุมความเสี่ยงดังนี้
- จำกัดการขาดทุนต่อเดือน(%risk limit) อยู่ที่ 10% ของ Free capital ถ้าขาดทุนเกินนี้ ในเดือนนั้นๆจะหยุดเทรด และกลับมาวิเคราะห์ตัวเอง หาข้อมูลเพิ่มเติม และค่อยไปเทรดใหม่ในเดือนถัดไป
- มีเป้ากำไรรายเดือน อยู่ที่ 2 เท่าของความเสี่ยงที่นำมาลงในเดือนนั้น หรือก็คือ ทำให้เงิน 10% ของ Free capital ที่นำมาเสี่ยงในแต่ละเดือน เพิ่มเป็น 2 เท่า หรือ 20% หากเทรดถึงเป้ากำไรในเดือนนั้นแล้ว ให้ลดความเสี่ยงการเทรดลง เพื่อคงกำไรไว้ (เพราะ มีแนวโน้มที่จะคืนกำไรให้ตลาด)
- ข้อดีของการแบ่งรายเดือน คือ
- มีความยืดหยุ่นในการใช้ risk ซึ่งในตำราจะไม่ใช้ risk คงที่ แต่จะแปรผันตามความมั่นใจในความเป็นไปได้และข้อมูลในแต่ละการเทรด มีข้อมูลมาก มั่นใจมาก ก็ใช้ risk เยอะ แต่ถ้ามีข้อมูลนิดหน่อย มั่นใจไม่มาก ก็ใช้ risk น้อย การแบ่งประเมิน risk รายเดือน ทำให้ใช้ประโยชน์จาก dynamic risk ที่ต่างกันไปในแต่ละการเทรด ได้ยืดหยุ่นและเต็มที่มากกว่า
- ข่าวการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ นโยบาย หรือ การประเมินต่างๆ มักจะอยู่ที่ต้นเดือน และปลายเดือน การเทรดในช่วงดังกล่าวจึงมีโอกาสทำกำไรได้ดีกว่า
- ช่วงที่ไม่ข่าวอะไรมาก ก็จะเป็นการพักผ่อนไปในตัว(refresh)จากความเครียดต่างๆ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติม จะทำให้ช่วงที่ต้องจริงจังทำได้ดีขึ้น(การมีเวลาพักก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเทรดดีขึ้น)
- จริงๆ จะแบ่งเป้าเป็นรายวัน สัปดาห์ หรือ ปี ก็ได้ แต่มีข้อเสียคือ
- รายวัน จะแบ่งถี่เกินไป ทำให้ risk limit จำกัด บางวันไม่ได้มีโอกาสให้เทรด ก็ไม่ได้ใช้ risk นั้นที่แบ่งมา ส่วนวันที่มีโอกาสเทรด risk ที่ใช้ก็น้อยเกินไป
- รายปี จะนานเกินไป ไม่ได้ประเมินตัวเอง
- รายสัปดาห์ ก็พอได้ โดยแบ่ง risk limit อยู่ที่ สัปดาห์ละ 2% (แต่ระบบการเทรดของ ผู้เขียนหนังสือ จะเหมาะกับรายเดือนมากกว่า เพราะ ปรับแต่งความเสี่ยงตามโอกาสที่เกิดขึ้นได้หลากหลายมากกว่า)
- เทรดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้ risk ครั้งละ 2% โดยในสัปดาห์ให้พยายามอ่านข่าว ศึกษา หาข้อมูล ให้ได้มากที่สุด จนได้ข้อสรุปที่คิดว่ามีผลต่อตลาดมากที่สุดในสัปดาห์นั้น แล้วจึงเทรดตามข้อสรุปนั้น
- โดยส่วนตัวคิดว่าจะเหมาะกับมือใหม่ (และ ตัวเอง) ที่อ่านข่าวยังไม่ชำนาญ การเทรดสัปดาห์ละครั้ง จะทำให้มีเวลาอ่านข่าว ศึกษา และ รวบรวมข้อมูลมากขึ้น เหมือนอ่านเตรียมสอบวิเคราะห์ข่าวประจำสัปดาห์
- ถ้าเทรดได้กำไร หมายความว่า Free capital จะเพิ่มขึ้น และ สามารถใช้ความเสี่ยงมากขึ้น ใน % risk เท่าเดิม กลับกันหากขาดทุน ก็จะใช้ความเสี่ยงลดลง ใน % risk เท่าเดิม
- ข้อดีของการแบ่งรายเดือน คือ
- การทำ Trading diary
- สำคัญมาก ต้องทำทุกคน(ไม่มี professional trader คนไหนไม่ทำ)
- ถ้านำข้อมูลมาพล็อตกราฟ (ไม่ได้ทำเพื่อความเท่) จะใช้วิเคราะห์การเทรดของตัวเองได้หลากหลายประเด็นมากๆ(ไปอ่านเพิ่มเติมในตำรา)
- ตัวอย่าง สามารถดูได้จากหนังสือ หรือ ของตัวเอง
- หลักๆ คือ บันทึก สาเหตุการเข้าเทรด, %risk ที่ใช้, ขาดทุนหรือกำไร(P&L), ฯลฯ (แนะนำให้ทำตามหนังสือ)
- การกำหนดขนาด position
- การเทรดแต่ละครั้ง ไม่ได้ใช้ความเสี่ยงคงที่(dynamic risk) แต่ขึ้นอยู่กับระดับความมั่นใจและข้อมูลที่มีในการเทรด(levels of conviction) ซึ่งในตำราจะแบ่งเป็นดาว 1,3,5ดาว
- 1 star = มั่นใจน้อย ใช้ risk 1%
- 3 star = มั่นใจกลาง ใช้ risk 3%
- 5 star = มั่นใจมาก ใช้ risk 6%
- * ระดับความมั่นใจเกิดจาก หลายๆปัจจัยรวมกัน(convictions) เช่น Fundamental, correlative/cross-market asset, technical analysis, sentiment&position, news, central bank เป็นต้น ยิ่งมีปัจจัยรวมกันมาก จะยิ่งได้ star มากขึ้น
- * สำหรับ 5 star ผู้เขียนเรียกว่าเป็น "โอกาสทอง" ซึ่งในปีที่เทรดได้ดี ก็ยังพบไม่เกิน 10 ครั้ง หมายความว่าส่วนใหญ่ใช้ risk 1,3% ไปนะ นอกจากนี้จะใช้ risk แบบ 6% ก็ต่อเมื่อ ได้กำไรจากการเทรดมามากจำนวนหนึ่งแล้วด้วยนะ(ถ้ายังขาดทุนเยอะ จะพยายามลด risk ลง ไม่ใช้ risk เยอะเท่านี้ แม้จะเป็นระดับ 5 stars)
- ส่วนใหญ่ผู้เขียน จะเปิด position แค่ 1 position เท่านั้น จะไม่เปิด position ทีนึงเยอะ ต่อให้เปิดเป็น basket(bull/bearish สกุลเงินหนึ่ง แต่เปิดposition กระจายไปหลายๆสกุลเงิน) ก็จะไม่เกิน 3-4 position และ risk ทั้งหมด นับรวมเป็นการเทรดเดียวกัน(เช่น risk ทั้งหมดรวมกัน ไม่เกิน 3%)
- อย่าไปคอยแต่ risk/reward ที่ได้ 1:3 เพราะ 1:1 และ 1:2 ก็ทำกำไรได้ไม่ต่างกัน ตัวแปรอีกตัวที่สำคัญเท่ากัน ที่ต้องพิจารณาด้วย คือ โอกาสการชนะ หรือ probability ของ win/loss ซึ่งหาก RR ต่ำ W/L ก็จะสูงขึ้น เมื่อนำมาคำนวณ Expected value ก็ยังคงได้กำไร(บางที อาจจะได้มากกว่า RR สูงๆแต่ W/L ต่ำๆ เสียอีก) เช่น (ค่าที่ได้เป็นค่าสมมตินะ)
- RR 1:1* W/L 60/40 จะได้ Expected value = 1x60- 1x40= กำไร 20
- RR 1:2 W/L 50/50 จะได้ Expected value = 2x50 - 1x50 = กำไร 50
- RR 1:3 W/L 30/70 จะได้ Expected value = 3x30 - 1x70 = กำไร 20
- * สาเหตุที่ win/loss ของ RR 1:1 คือ 60% ไม่ใช่ 50% มาจากการเทรดที่ใช้การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจตามความเป็นจริง(Fundamental) ทำให้มีโอกาสถูกมากกว่าการสุ่มโยนหัวก้อย
- ** ตำราแนะนำว่า อย่าลำเอียงพยายามทำ Expected value ให้สูงนัก ให้นำข้อมูลมาจาก Trading diary ของเราเอง
- การกำหนด stop loss มีหลายวิธี
- ใช้ Technical analysis + 20% ของ ระยะที่กราฟวิ่งเฉลี่ยในแต่ละวัน(average daily range)
- ประโยชน์เดียวของ Technical analysis คือ การใช้เพื่อรอจังหวะในการเข้าเทรด เพื่อให้ได้จุดเข้าที่มี stop loss แคบที่สุด(อย่างเหมาะสม) เพื่อให้สามารถใช้ leverage ได้มากที่สุด
- โดยเมื่อได้จุด SL ที่เหมาะสม ให้เพิ่มไปอีก 20% ของ ระยะที่กราฟวิ่งเฉลี่ยในแต่ละวัน(Leave some extra room) เป็นการวาง stop loss ให้ไกลขึ้นจากคนส่วนใหญ่ เพื่อป้องกันการเกิด stop loss run
- เช่น วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆในโลกความเป็นจริงแล้ว ได้ Bearish EURUSD -> จากนั้นใช้ TA หาจุดเข้าที่เหมาะสม -> ได้ resistance zone ด้านบน เป็นจุดที่เกิด Double top และมีการหลุดเทรนด์ไลน์ -> โดยจุด stop loss จะวางเหนือ resistance zone นั้น โดยบวกเพิ่มไปอีก 20 pip เนื่องจาก daily range ของ EURUSD คือ 100 pip
- ใช้ Average day range
- ตลาดเต็มไปด้วย noise ที่คาดเดาไม่ได้ ดังนั้น ในการเทรดส่วนใหญ่ มีโอกาสน้อยมากที่เราจะสามารถใช้ stop loss แคบๆ(10-20 pip)ในการเทรดได้ นอกเสียจากเราจะเทรด breakout หรือ ข่าวประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ
- ผู้เขียนตำรามักจะใช้ stop loss ระยะ 1 ช่วงวัน(1 day range) จากจุดเข้าเทรด(entry point) คำแนะนำเพิ่มเติมคือ
- ในการเทรดระยะสั้น ใช้ stop loss ในระยะ 1.2 เท่า ของ average day range
- ในการเทรดระยะกลาง ใช้ stop loss ในระยะ 2.5 เท่า ของ average day range
- ใช้ Technical analysis + 20% ของ ระยะที่กราฟวิ่งเฉลี่ยในแต่ละวัน(average daily range)
- การเทรดแต่ละครั้ง ไม่ได้ใช้ความเสี่ยงคงที่(dynamic risk) แต่ขึ้นอยู่กับระดับความมั่นใจและข้อมูลที่มีในการเทรด(levels of conviction) ซึ่งในตำราจะแบ่งเป็นดาว 1,3,5ดาว
- เมื่อเปิด position แล้ว จะไม่ไปยุ่งกับมัน หากไม่มีเหตุผลทาง fundamental หรือ ปัจจัยที่มีผลเปลี่ยนแปลงไป
- ไม่ปิด position ก่อนถึงจุด take profit แม้กราฟจะมาถึง 70-80% ของจุด TP แล้วย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้น
- เพราะ จะทำให้ไม่สามารถประเมิน ระบบ risk/reward ที่ตัวเองใช้อยู่ได้อย่างเหมาะสม เพราะ ข้อมูลคลาดเคลื่อน
- ภายหลังการเปิด position อารมณ์มักจะมาครอบงำ มากกว่าเหตุผล ซึ่งมักจะทำให้เราประเมินได้ไม่ดีเท่าก่อนหน้า จึงไม่ควรเชื่อตัวเอง และ ยึดตามแผนเดิม(ไม่ยุ่งกับ position ที่เปิดแล้ว)
- ไม่เลื่อน stop loss ให้ไกลออกไปมากขึ้นจากแผนเดิม
- ต่อให้กราฟจะวิ่งมาชนแล้วปิดขาดทุน ก็ออกมาก่อน พักอย่างน้อย 4 ชม.ให้ใจเย็นลง (Cooling off period) หากยังคงตามแผนเดิม ค่อยเข้าเทรดใหม่ได้เสมอ แต่อย่างไรก็จะไม่เลื่อน stop loss
- ข้อดีของการ "ออกมาก่อน(stay flat)" จะทำให้เราไม่มี bias(อารมณ์ครอบงำมากกว่าเหตุผล) ที่มักรู้สึก มีส่วนได้ส่วนเสียไปกับ position ที่เราเปิดอยู่ และจะพิจารณาอะไรได้เป็นกลางมากขึ้น แม้ผลลัพธ์สุดท้ายจะไม่ต่างจากการเลื่อน stop loss ก็ตาม
- เลื่อน trailing stop(เลื่อนจุด stop loss มาบังทุน)
- โดยปกติจะไม่เลื่อน trailing stop เพราะ กราฟมักจะมี noise มาโดน และเสียโอกาสทำกำไรตามแผนไป
- จะเลื่อนเฉพาะ ตอนกราฟวิ่งใกล้ถึงจุด TP 70-80% หรือ มีข่าวเศรษฐกิจ
- มีข่าวเศรษฐกิจ ที่อาจมีความผันผวนสูง อาจจะกระทบกับ position ที่เปิดอยู่และขาดทุนโดยไม่จำเป็น
- กราฟวิ่งใกล้ถึงจุด TP(70-80%) หรือ ไกลจากจุด entry point แล้ว
- มันคงดูไร้เหตุผล(non-sense) หากว่า กำลังจะได้กำไร แล้วอยู่ๆกลับมาปิดขาดทุนแทน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะเลื่อน stop loss มาบังต้นทุนไว้ โดยการเลื่อน trailing stop สามารถทำได้ 2 วิธีหลักๆ
- เลื่อนมาบังทุน เพื่อเป็นประกันว่าเทรดนั้น แม้จะไม่ถึงจุด TP แต่ก็ไม่ขาดทุน
- เลื่อนตาม เส้น EMA โดยเลื่อนน้อยกว่าเส้น 40 pip(ถ้าเลื่อนมากไป จะโดน noise ได้)
- มันคงดูไร้เหตุผล(non-sense) หากว่า กำลังจะได้กำไร แล้วอยู่ๆกลับมาปิดขาดทุนแทน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะเลื่อน stop loss มาบังต้นทุนไว้ โดยการเลื่อน trailing stop สามารถทำได้ 2 วิธีหลักๆ
- ไม่เพิ่ม order (แต่ลดขนาด order ได้ ถ้าประเมินภายหลังแล้วมันเยอะไป)
- เพราะ การเปิด order เพิ่ม จะทำให้ความเสี่ยงเกิน limit ที่เรากำหนดไว้ หรือ ถ้าเลื่อน stop loss มาใกล้ขึ้น ก็มีโอกาสโดน noise และถูก cut loss เสียแผนการเทรด
- เปิด position เดียว แล้วปล่อยไปจนสิ้นสุดการเทรด
- ไม่ปิด position ก่อนถึงจุด take profit แม้กราฟจะมาถึง 70-80% ของจุด TP แล้วย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้น