Skip to main content

ศีล 8 คือรูปแบบการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์แบบที่สุด

Submitted by krishrong on
  • รูปแบบชีวิต คือ ศีล8 ตามที่พระพุทธเจ้าสอน มันเป็นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายและสมบูรณ์แบบจริงๆ ทั้งในแง่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมไปถึง productivity และ สามารถต่อยอดไปทำสมาธิและเอื้อต่อการเจริญสติปัฏฐานที่ละเอียดขึ้นได้ด้วย
  • หลังจากที่ลองเปลี่ยนมากินมื้อเช้า และงดอาหารหลังเที่ยง(Fasting) ทุกอย่างมันลงตัวและสมบูรณ์แบบเลยแฮะ กิจกรรมทุกอย่างที่วุ่นวาย หรือใช้แรงทางกาย เช่น งานบ้าน ซักผ้า กวาดบ้าน ทำอาหาร กินอาหาร ฯลฯ​ ทำให้มันเสร็จในช่วงเช้าทีเดียว ตอนสายๆ ก็ไปอ่านหนังสือที่หอสมุดมหาลัย และ เดินทางกลับหอพักตอน 2 ทุ่ม ถึง ก็ 3 ทุ่ม อาบน้ำ แล้วก็ทำกิจกรรมเบาๆ เช่น ทบทวนตัวเอง อ่านหนังสือต่อ เป็นต้น แล้วก็เข้านอน 4 ทุ่มพอดี
    • แต่ก่อน อดตอนเช้า แล้วกินตอนเย็น เข้าใจว่าเรียบง่ายแล้ว แต่จริงๆไม่ใช่ ร่างกายต้องรับภาระหนักทำงานทั้งวัน ตอนกำลังจะนอนเพื่อพักผ่อน กลับต้องมาวุ่นวายกับการเตรียมอาหาร กินอาหาร ย่อยอาหารมื้อใหญ่ ซึ่งก็เป็นภาระหนักกับร่างกายอีก แถมอาหารมื้อใหญ่ ก็ทำให้อึดอัดนอนไม่หลับ ทีนี้ร่างกายก็ยิ่งไม่ได้พักไปกันใหญ่ ซึ่งร่างกายไม่มีปากที่จะบอกเราว่าตัวเองลำบากแค่ไหน อนุมูลอิสระเยอะแค่ไหน จึงได้แสดงออกมาเป็นการอักเสบรูปแบบต่างๆ ถึงจุดหนึ่งถ้ามันสะสมมากๆ ก็อาจทำให้ระบบอวัยวะไม่สามารถทำงานได้ดังปกติ
      • ในทางการแพทย์ นาฬิกาชีวิตของคนเรา(Circadian rhythm) ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เหมาะกับการกินอาหารในตอนเช้า ไม่เหมาะกับการกินมื้อเย็น, มื้อดึก
      • ช่วงที่กินเป็นมื้อเย็น-ดึก จะมีผื่นขึ้นหน้าตลอด ซึ่งแสดงถึงการอักเสบและภูมิคุ้มกันที่ไม่ดี แต่พอเปลี่ยนมากินมื้อเช้า ผื่นที่หน้าก็ไม่เกิดอีกเลย หรือมีน้อยมากๆ
    • โดยส่วนตัวจะมีวันที่กินวันละมื้อ 2 วัน แล้วอดข้ามวัน อีก 1 วัน (alternate day fasting) เพื่อเร่งกระบวนการพัฒนาตนเองในด้าน neuroplasticity ให้สามารถพัฒนาตนเองได้เร็วขึ้นอีก ทั้งนี้ต้องดูแลเรื่องโภชนาการให้เพียงพอด้วย โดยเปลี่ยนมากินธัญพืช ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง(dense and rich nutrition)
  • การงดสิ่งบันเทิง ทำให้ความหลงมัวเมายึดติดในความบันเทิงน้อยลง มีสติเจริญขึ้น สติที่แจ่มใสขึ้น จะช่วยให้เห็นปัญหาในชีวิตได้ชัดเจนขึ้น เวลาในชีวิตมากขึ้นจากการไม่ถูกดึงดูดไปกับสิ่งไร้สาระ มีโอกาสที่จะพัฒนาชีวิตได้ดีขึ้น

Add new comment

The content of this field is kept private and will not be shown publicly.

Plain text

  • No HTML tags allowed.
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.