ในหนังสือบอกถึงปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่คอยขับเคลื่อนราคา ทั้ง ธนาคารกลาง, การประกาศนโยบาย, ปัจจัยพื้นฐานของแต่ละประเทศ(การส่งออกแร่เหล็กใน AUS, การส่งออกผลิตภัณฑ์นมใน NZD, น้ำมันดิบใน CAD), ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ต้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน(เช่น toyota ใน jpy ต้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินตก) รวมไปถึง ช่วงเวลาทำการของแต่ละประเทศ(เวลาทำการของตลาด london กับ newyork) ช่วงเวลาประกาศ fix rate ของค่าเงินประจำวัน ของแต่ละประเทศ
ปัจจัยเหล่านี้แหละที่คอย ขับเคลื่อนค่าเงิน มีผลต่อค่าเงินจริงๆ ส่วนนักเทรด retail trader เป็นเพียงส่วนน้อย ที่ต้องคอยตามรายใหญ่ไป
นอกจากนี้เราสามารถมองสกุลเงินต่างๆ เหมือนเป็น หุ้น ก็ได้นะ โดยที่ประเทศต่างๆก็เป็นเหมือนบริษัท ที่รับรองการมีมูลค่าของสกุลเงินของตนเอง ซึ่งถ้าบริษัท มีข่าวดี มีผลกำไร บริหารจัดการได้ดี สกุลเงินก็จะแข็งค่าขึ้น เพราะ คนก็จะมั่นใจและมีความต้องการที่อยากจะถือมากขึ้น เป็นต้น
ในเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน แนะนำให้ดูตารางข่าว หรือ ปฏิทิน การประกาศนโยบายเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ว่าจะมีอะไรในช่วงเวลาข้างหน้าบ้าง จากนั้นก็ไปอ่านบทความ ที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า เช่น ข่าวต่างๆ หรือ บทวิเคราะห์ที่มีนักวิเคราะห์ได้เขียนเอาไว้ แล้ววิเคราะห์ว่ามันควรจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร แล้วจึงเทรดตามการวิเคราะห์นั้นๆ
เว็บข่าวที่ผู้เขียนหนังสือแนะนำ
Forex เหมือนเกมรักษาความมั่นคงหรือมูลค่าทางการเงิน ทั้งในระดับประเทศ รวมถึงบริษัทใหญ่ๆ ที่ต้องการรักษามูลค่าทางการเงินของตนเอง ไม่ให้รายได้ที่ตนเองหามา เสื่อมไปกับค่าเงินที่ตนเองถือ และจะพยายามเปลี่ยนไปถือสกุลเงินที่มีแนวโน้มมูลค่าสูงขึ้น(แข็งค่ากว่า)
เป็นเกมส์ที่สามารถชนะได้ทุกคน ไม่ได้มีคนชนะแค่คนเดียว และไม่ได้แข่งกับใคร ทุกคนมีสิทธิ์ ที่จะย้ายเงินของตนไปเก็บในสกุลเงินที่แข็งค่ากว่าได้ คนแพ้อาจเป็นรัฐบาล หรือประชาชน ที่ถือสกุลเงินของรัฐบาลที่บริหารผิดพลาด
โดยเนื่องจากมันเป็นตลาดที่ใหญ่มาก mass มาก มีปัจจัยอะไรนิดหน่อยราคาก็ขยับ จึงไม่มีความจำเป็นต้องคิดซับซ้อน ถ้ามีนโยบายหรือปัจจัยเชิงบวก กราฟก็มีแนวโน้มจะขึ้น ถ้ามีปัจจัยเชิงลบ กราฟก็มีแนวโน้มจะลง ต่อให้คิดซับซ้อนหรือคิดง่ายๆ ก็มีโอกาสทำกำไรเท่ากัน
(แต่ถ้าเทรดหุ้น หรือ อะไรก็ตามที่มีความ unique หรือ ไม่ได้มีคนรู้จักเยอะ การคิดซับซ้อนถึงปัจจัยและความเชื่อมโยงที่ส่งผลมา เป็นสิ่งจำเป็น)
การถือสกุลเงินไม่ต่างจากการถือหุ้นของประเทศ ที่มีรัฐบาลเป็นผู้ให้การรับรอง
มันไม่ใช่เกมส์ที่ยากมาก แค่พยายามคิดว่า ประเทศไหนที่กำลังจะได้รับประโยชน์จากปัจจัยต่างๆในปัจจุบันและอนาคต ก็โยกไปถือสกุลเงินของประเทศนั้นๆ(ผ่านการเทรด การแลกเปลี่ยน หรือเข้าไปมีเอี่ยวกับปัจจัยนั้นๆโดยตรง เช่นซื้อหุ้นของบริษัทในประเทศนั้นๆ)
- อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเป็นเหมือนเงินปันผลของหุ้น ที่รัฐบาลจะจ่ายให้จากการถือสกุลเงิน
- ถ้ารัฐบาลขึ้นอัตราฯ แล้วคนอยากจะถือหรืออยากเก็บสกุลเงินนั้นๆ เพื่อรับผลตอบแทน สกุลเงินก็จะมีแนวโน้มแข็งค่า
- ถ้าเศรษฐกิจดี บางทีคนอยากเข้ามาซื้อหุ้นของกิจการในประเทศนั้น ก็ต้องแลกสกุลเงินก่อนจึงจะซื้อหุ้นได้ สกุลเงินก็จะแข็งค่า
- รวมไปถึงกิจการส่วนใหญ่ของประเทศนั้น เช่น นิวซีแลนด์ ส่งออกผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น ถ้าขายได้มาก ก็จะได้ดุลการค้า สกุลเงินก็จะแข็งค่าขึ้น(ค่าเงิน บางทีก็เปลี่ยนแปลงด้วยปัจจัยของประเทศนั้นๆเอง ไม่ได้เกิดจากตลาดการเทรด)
- หรือทรัพยากรธรรมชาติต่างๆที่มีมากกว่าประเทศอือ่น เช่น มีแร่ทอง เงิน เหล็ก น้ำมัน ลิเทียม หรือแม้แต่แร่ Silica เป็นต้น
- ความมั่นคงของประเทศก็มีส่วน เช่น ต่อให้ประเทศนั้นขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนสูง แต่ประเทศไม่ได้มีอะไรเด่น หรือ กำลังประสบภาวะทางการเงิน เสี่ยงล้มละลาย คนก็ไม่กล้าถือ
ทั้งนี้อาจจะมีตัวแปรอื่นๆอีกมากมาย เช่น การเมืองในประเทศ สงครามระหว่างประเทศ การค้นพบนวัตกรรมใหม่ในประเทศ การระดับศึกษาของประชากร การค้นพบแหล่งแร่ใหม่ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น ปัจจัยแต่ละอย่างอาจมีอิทธิพลมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งขอเพียงติดตามข่าว และวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง ก็มีโอกาสชนะได้ทุกคน ไม่ใช้เกมที่ยากเกินความพยายามแต่อย่างใด
จริงๆ ไม่ต่างจากการวิเคราะห์หุ้น เพียงแต่ในหุ้น ธุรกิจแต่ละกลุ่มก็จะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับความรู้ของผู้เทรดและนักลงทุน ว่าชำนาญความรู้ในด้านไหน เช่น หุ้น tech, หุ้น การบริษัทยา, หุ้น พลังงาน, หุ้น สินค้าทั่วไป เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ความยากอย่างหนึ่งคือ การรู้จักปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อแต่ละสกุลเงิน ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ การอ่านตำราอาจจะได้ความรู้ประมาณหนึ่ง แต่รายละเอียดเพิ่มเติม ความรอบรู้อาจต้องสั่งสมจากการอ่านข่าว หรือหาความรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆเพิ่มเติม หรือการสังเกตจากความรู้ที่มี ด้วยตนเอง เช่น
- NZD มักจะสัมพันธ์กับราคานมวัว
- CAD ส่งออกให้ USD เป็นหลัก ถ้า USD เศรษฐกิจดี CAD ก็จะดีตามไปด้วย
- USDCAD จะเหวี่ยงตามเส้น SMA 100 โดยมักจะเหวี่ยงไปมาไม่เกิน 100 pip แล้วจะกลับตัว
- อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยที่มักจะมีผลต่อ ความแข็ง/อ่อนของสกุลเงิน มากที่สุด
- CHF มักจะใช้นโยบาย short ค่าเงินตัวเอง จนค่าเงินอ่อนค่า กรณีแข็งค่าเกินไป
- JPY เคยประสบปัญหาวิกฤติเงินฝืด แล้วพิมพ์เงินเพิ่ม jpy จึงมีแนวโน้มอ่อนค่าง่าย
- บางปัจจัยอาจไม่ได้มีผลมากในระยะสั้น แต่ค่อยๆมีผลในระยะยาว
- ฯลฯ
ความรู้หลายๆอย่าง จุดเด่นของแต่ละประเทศ หรือ ความสัมพันธ์ของปัจจัยแต่ละอย่าง อาจจะไม่มีใครมาเขียนตำราบอกเรา แต่มักจะต้องเกิดจากการอ่าน และ พอมีความรู้ เราจะค่อยๆเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการวิเคราะห์ได้เอง เห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยได้มากขึ้นๆ นักเทรดที่เก่ง ต้องอ่านข่าว มีความรู้รอบตัวเยอะๆ
สำหรับการเทรดแบบวิเคราะห์ข่าว ไม่ใช่แบบตัวเลขประกาศปุ๊บ ก็เทรดตามข่าวเลยนะ แต่มันเป็นการอ่านข่าว เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด แล้วนำมาวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแนวโน้มในระยะกลาง-ยาว แล้วรอจังหวะเทรดที่เหมาะสม(ใช้ Technical analysis หาจุดเข้าที่ได้เปรียบ) แล้วถือ position นานตราบเท่าที่คิดว่าปัจจัยนั้นยังมีผล
ทั้งนี้ข่าวหรือบทวิเคราะห์ หรือแนวคิดคนส่วนใหญ่ บางทีก็เชื่อไม่ได้ทั้งหมดนะ เพราะ บางทีผู้เขียนก็แทรก bias ของตนเอง หรือ ของคนส่วนใหญ่ลงไปด้วย ต้องวิเคราะห์เองอีกที
หลังจากที่ได้ลองแล้วพบว่า: การอ่านข่าวสำคัญกว่าการนั่งจ้องกราฟนะ ต้องอ่านข่าวก่อนการเทรดเสมอ ถ้าไม่ได้อ่านข่าวก่อนการเทรด เทรดไปก็มั่วเปล่าๆ วันไหนไม่ได้อ่านข่าว วันนั้นไม่ต้องเทรด เวลาส่วนใหญ่ใช้ในการอ่านข่าว เวลาดูกราฟเพื่อหาจุดเข้าเทรดแค่นิดเดียว(จ้องกราฟทั้งวัน ไม่ได้อะไรเท่าไหร่ มีแต่ทำให้ผีพนันเข้าสิง)
แนะนำให้ อ่านข่าวจาก reuters โดยอ่านได้ทุกหมวด เพราะ มีผลกระทบกับสกุลเงินได้หมด ไม่ต้องเน้นหมวด market ก็ได้ ถ้าเริ่มแรกไม่ค่อยเข้าใจ