หลักๆ คือ มีความจำเป็นว่า ต้องใช้จริงๆ ณ ขณะนั้นๆจึงจะซื้อ ซึ่งสามารถขยายรายละเอียดได้ดังนี้
ใช้เงินก็ต่อเมื่อ
- เกิดปัญหาในชีวิต การทำงาน ต้องแก้ไข หรือปรับปรุง จำเป็นต้องใช้สิ่งนั้นๆ จริงๆ ณ เวลานั้นๆ ถ้าไม่ใช้งานจะเกิดความผิดพลาด เกิดความเสียหาย หรือกระทั่ง เกิดความขาดทุนแทน
- คำนวณแล้วว่า หากมีของชิ้นนั้นแล้ว สามารถทำประโยชน์ได้มากกว่า ต้นทุนที่เสียไป รวมถึงการขาดทุน จากการนำมาทนแทนของเดิมที่มีอยู่(ต้นทุนของ ของชิ้นเดิม กลายเป็นทุนสูญเปล่า) ซึ่งโดยปกติ ถ้าจะถือว่าคุ้มค่า ของชิ้นใหม่ ต้องมีประสิทธิภาพต่อราคา อย่างน้อย 3 เท่า จากของชิ้นเดิม ถึงจะคุ้มค่า เพราะ จำนวนเงินที่เราต้องจ่ายไป ไม่ใช่แค่เท่ากับราคาของชิ้นใหม่ที่ซื้อ แต่ต้องรวมถึงราคาของชิ้นเดิมที่เรามีอยู่ ที่อาจจะสูญเปล่า จากการไม่ถูกใช้ประโยชน์ไปด้วย ซึ่งถ้าประสิทธิภาพต่อราคา ดีไม่ถึง 3 เท่าของ ของเดิม ไม่ควรซื้อ
อย่าใช้เงินเพราะ
- อยากลอง ทั้งๆที่ชีวิตยังไม่ได้มีปัญหาอะไร (จะลงเอยด้วยการซื้อมาเกินความจำเป็น) หรือทั้งๆที่อุปกรณ์ที่มีอยู่ก็เพียงพอเหมาะสมไม่ได้ติดขัด ใช้งานได้อย่างลื่นไหลอยู่แล้ว
- ทั้งนี้ชีวิตเราอาจจะมีปัญหา แต่เรายังไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไรก็ได้ แต่อย่างไรก็ยังไม่ควรใช้จ่ายเงิน เพราะ อยากลองอยู่ดี ควรหาความรู้ก่อน เพราะความไม่รู้ต่างหากคือปัญหา การใช้เงินทั้งๆที่ยังไม่แน่ใจ มักจะทำให้เสียเงินสูญเปล่าอยู่ดี
- ภาพลักษณ์ เพราะ มันขึ้นอยู่กับคำวิจารณ์ คนอื่นล้วนๆ บางทีเราใช้ของแพง คนอาจจะมองว่าเราเป็นพวกไม่รู้คุณค่าของเงิน ไม่ได้ชื่นชมเรา หรือใช้ของไม่แพง คนก็อาจจะมองว่าเรามีความประหยัดก็ได้ ดังนั้น อย่าใช้เงินหรือไม่ใช้เงิน เพราะ ความกังวลกับเสียงของคนรอบข้าง ซึ่งไม่ยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งที่จะอยู่กับเราไปตลอดดีกว่า
- ซื้อเผื่อ อนาคต ทั้งๆที่ยังไม่ต้องใช้ในขณะนั้น เพราะ อนาคตเราอาจจะ ไม่ต้องใช้จริงๆอย่างที่คิดไว้ก็ได้ หากเราไม่ได้ใช้จริงๆ ก็จะสูญเงินเปล่า และอาจขายต่อยากด้วย หากไป ซื้อ ณ เวลาที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ อาจได้รุ่นใหม่กว่า ประสิทธิภาพดีกว่าในราคาเท่ากัน หรือ รุ่นเดิมในราคาถูกลง โปรโมชั่นดีกว่า มีตัวเลือกที่หลากหลายขึ้น และ คุ้มค่าที่สุด ณ เวลานั้นๆมากกว่า อีกด้วย
- โปรโมชั่น ลดราคา หรือ ราคาถูก เพราะ แม้ว่าจะมีโปรฯลดราคา แต่สิ่งเหล่านี้ มันมีใหม่เรื่อยๆอยู่แล้ว เป็นเพียงการส่งเสริมการขาย อย่าซื้อด้วยเหตุผลนี้เป็นอันขาด จะซื้อก็ต่อเมื่อเหตุผลข้ออื่นๆผ่านทุกข้อด้วยเท่านั้น(เคยเห็นสินค้าบางยี่ห้อ บางร้าน มีโปรฯลดราคา ทุกเดือนเลย คนที่ไม่รู้ก็ซื้อเอาๆ ทั้งๆที่ตัวเองไม่จำเป็นต้องใช้)
- ของเดิมยังใช้งานได้ดีอยู่ ถ้าของใหม่ไม่ได้ดีกว่าของเดิม หรือ มีประสิทธิภาพต่อราคา ไม่ได้ดีกว่าอย่างน้อย 3 เท่าขึ้นไป จะไม่ซื้อใหม่ เพราะ ต้องบวกต้นทุนของเดิมที่จะสูญเปล่า จากการถูกแทนที่ เข้าไปคำนวน เป็นต้นทุนแท้จริงด้วย ทั้งนี้จะคิดโดยใช้ประสิทธิภาพต่อราคา ไม่ใช่แค่มุมมองด้านประสิทธิภาพอย่างเดียวนะ เพราะ หากประสิทธิภาพเป็น 3 เท่าจริง แต่ราคาก็เกือบ 3 เท่าเช่นกัน อันนี้ก็แสดงว่าไม่ได้มีอะไรที่คุ้มค่ามากขึ้นแต่อย่างใด
- กำหนดให้เกณฑ์ความคุ้มค่า ของ ประสิทธิภาพต่อราคา อยู่ที่ 3 เท่า เพราะ เคยกำหนดไว้ที่ 2 เท่า แล้วรู้สึกว่าของเดิมก็ยังไม่ทันเก่า หรือมีปัญหาเท่าไหร่ ก็กลายเป็นความรู้สึกฟุ่มเฟือยเกินไป
- เกินสัดส่วนเงินสำรองฉุกเฉินที่เรามี(ใช้เงินเกินฐานะ) เพราะ มันจะมีความเสี่ยงสูง หากว่าเราทุ่มเงินลงไปกับสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งแม้มันจะดีจริงๆ ผ่านเกณฑ์ทุกข้อที่กล่าวมา แต่ถ้ามันราคาสูง จนต้องไปเอาเงินส่วนหนึ่ง จากเงินเก็บสำรองมาใช้ ซึ่งเป็นเงินที่จำเป็นต้องเก็บไว้ สำหรับแผนการณ์ในอนาคต หรือ สำรองไว้กรณีมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ของเสียหายต้องซ่อม/ซื้อทดแทน เป็นต้น ก็ห้ามซื้อเป็นอันขาด
พึงระลึกไว้เสมอว่า เงินจะมีพลังมากขึ้น ก็ต่อเมื่อ รวบรวมสะสมเป็นจำนวนมากๆ และจะมีประโยชน์ที่สุด หากได้ใช้เงินให้เป็นประโยชน์ เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ รวมถึงในยามคับขัน แต่ขณะเดียวกัน หากเก็บอย่างเดียว ไม่รู้จักนำมาพัฒนาชีวิตตนเองเลย หรือ ไม่ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น การมีเงินก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์กับชีวิตเช่นกัน
Add new comment