Skip to main content

สัปดาห์ 18 ธ.ค.

Submitted by krishrong on

30 ธ.ค.

  • ปรับแว่น ต้องให้แป้นจมูกอยู่ใต้หัวตาพอดี อย่าให้แป้นจมูกสูงไปอยู่ที่หัวตา เพราะจะกดตาทำให้อึดอัด
  • ทดลองเลิกเล่น social media ลบแอพออกจากมือถือเลย (ทั้ง youtube และ facebook) ถ้าจะใช้ต้องเข้าผ่านคอมอย่างเดียว สิ่งที่พบคือ
    • รู้สึกว่านิสัยทำอะไรเรื่อยเปื่อยลดลง ทำอะไรต่อเนื่องยาวนานขึ้น เพราะ ไม่มีsocial media ให้ดูตอนว่าง
    • รู้สึกว่าความอยากได้นั่น ได้นี่ ลดลง เพราะ ไม่ค่อยได้เห็นโฆษณาที่ระบบ ชอบแอบเอามาแทรกในเนื้อหา
    • ไม่ได้รู้สึกว่าขาดประโยชน์อะไรในชีวิตไป เวลาว่างหาหนังสืออ่าน อ่านข่าวแทน หรือ สืบค้นข้อมูลที่อยากรู้จะดีกว่า

29 ธ.ค.

  • หลังจากที่ได้ทำโจทย์เลขไปสักพัก ก็ค่อยๆสามารถเพิ่มจำนวนโจทย์เลขที่ทำต่อวันมากขึ้นๆ รวมถึงคิดได้เร็วขึ้น เข้าใจโจทย์เร็วขึ้น เหมือนฝึกกล้ามเนื้อเลยแฮะ แรกๆ ก็ยังทำได้ไม่เยอะ เพราะ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง แต่พอฝึกไปเรื่อยๆก็จะสามารถรองรับ ปริมาณ จำนวนครั้ง และ น้ำหนักที่มากขึ้นได้
    • ทำร่วมกับ Alternate day fasting(อดวันเว้นวัน = กิน 12 ชม อด 36 ชม) ช่วยเร่งความเร็วในการพัฒนา ได้เร็วกว่าเดิมมากๆๆ แต่ก่อน กินวันละมื้อและพยายามอ่านเลขมาพักใหญ่ๆ ก็ไม่ค่อยพัฒนาสักที จนมาเปลี่ยนเป็น alternate day fasting ก็พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
      • ข้อดีที่เหนือกว่า IF ปกติ
        • มีช่วงเวลาที่เกิด ketosis, autophagy(ชะลอวัย) ด้วยอัตราสูงสุด นานกว่า โดยไม่ต้องถูกขัดจังหวะจากการกินในวันถัดไป
        • ช่วงที่เกิด ketosis อย่างเข้มข้น(อด >24 ชม) หากฝึกฝนอะไร จะพัฒนาได้เร็วกว่า มีสมาธิจดจ่อได้ดีกว่า ช่วงที่เริ่มเกิด ketosis แบบอ่อนๆ(อด 10 ชั่วโมงแรกๆ)
        • มีเวลาให้กินมากเพียงพอกับพลังงานที่ต้องใช้ต่อวันได้ มีแรงทำงานมากกว่าการอดแบบกินมื้อเดียว ในขณะที่ยังได้ประโยชน์ด้านสุขภาพมากกว่าเสียอีก
          • สาเหตุที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่วันที่กิน(feeding day)นะ เพราะ จะออกฟุ้งซ่านนิดๆ ไม่มีสมาธิในการทำงานมากนัก(แต่ก็ต้องพยายามทำตามวินัยเสมอ) แต่จะเกิดการพัฒนาอย่างมากในวันที่อด(Fasting day) สมาธิจะดีมาก อ่านหนังสือได้ดีมาก อะไรๆจะพัฒนาได้มากขึ้นๆในวันนี้

28 ธ.ค.

  • ความชอบ ไม่ได้เป็นปัจจัยทำให้สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ ในแต่ละวัน อาจมีสิ่งที่เราชอบมากกว่ามาดึงดูดความสนใจของเราได้เสมอ สิ่งสำคัญ คือวินัย ว่าจะต้องทำสิ่งนี้ๆ
  • ปัญหาตอนนี้ของเราคือ เลขพื้นฐานอ่อนพอควร ได้แค่บางบท ที่เหลือยังไงก็ต้องอ่านเนื้อหาอยู่ดี ไม่งั้นให้นึกเองก็ไม่ออก หมายความว่า ยังไงเราก็ต้องอ่านเนิ้อหาให้จบอยู่ดี จะข้ามขั้นไม่ได้ ต้องเริ่มจากพื้นฐานใหม่เลยให้แน่น
    • วิธีการ คือ ไปเช่าหออยู่ 2 เดือน เก็บตัวอยู่คนเดียว แล้ว อยู่กับคณิตศาสตร์ทั้งวัน กินนอนกับเลข ห้ามมีหรือเอาอะไรมารบกวนชีวิต(ตัดขาดตัวเองจากสิ่งรบกวนชีวิตภายนอก) เอาแบบให้เป็น polymath(คนที่หลงไหลในคณิตศาสตร์) ไปเลย
  • ทำ IF แบบ Alternate day fasting ดีจริงๆ มีสมาธิดีขึ้นมาก คิดเลขเร็วขึ้นมาก สมองไวขึ้น อ่านภาษาอังกฤษคล่องขึ้นมาก เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพียงแค่ลองทำวันเดียวเท่านั้น!!
  • เวลาว่างต้องพยายามฝึกรู้สึกถึงลมหายใจ

27 ธ.ค.

  • เปลี่ยนตำราเลขที่อ่านอยู่ เป็นอ.ผู้เขียนอีกท่าน ซึ่งมีโจทย์ยากกว่า อธิบายเนื้อหาดีกว่า
  • ลองอดแบบ alternate day fasting(IF 36/12) พบว่ามีสมาธิในการทำงาน การเรียน คิดอะไรได้ดีกว่า แบบ 23/1 นะ เพราะ มีช่วงเวลาที่เกิดภาวะ ketosis อย่างเข้มข้น ยาวนานกว่า ถ้าเริ่มการอดใหม่ทุกวัน จะต้องเสียเวลาไปอีก 10กว่าชั่วโมง ในการอดใหม่แต่ละครั้ง กว่าร่างกายจะมีอัตราการเกิด ketosis ที่เข้มข้นมากพอ

25 ธ.ค.

  • อย่ากลัวที่จะพยายาม เวลาที่เราเห็นคนอื่นทำอะไรสำเร็จได้อย่างง่ายดาย นั่นอาจเป็นเพราะ เขาเคยฝึกฝนเคยทำมาก่อนแล้ว หรือ รูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับเขาอาจไม่เหมาะสมกับเราก็ได้ อย่ากลัวที่เราเรียนรู้ได้ช้ากว่า หรือ สำเร็จช้ากว่าผู้อืน จนไม่เริ่มที่จะทำอะไรเลย การค่อยๆพยายามทำไป ค่อยๆเรียนรู้ไปแบบคนโง่ แม้จะเจอแต่หนทางที่ผิด แต่สุดท้ายก็จะเจอวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับเรา ความผิดพลาดมันเป็นส่วนหนึ่งตามปกติของการเรียนรู้ แต่หากเราไม่เริ่มแม้แต่จะทำอะไรเลย เราจะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยสักอย่างจริงๆ
    • แต่ทั้งนี้ ก็อย่าเพียงแต่เพียงพยายามอย่างเดียว ต้องคอยตรวจสอบตนเองว่า วิธีที่ตนเองทำอยู่ มีอะไรที่ควรปรับปรุง หรือดีกว่าหรือไม่ คอยใช้สติปัญญากำกับด้วยเสมอ

23 ธ.ค.

  • ปรับแผนการอ่านคณิตศาสตร์ใหม่ ให้อ่านตำราเตรียมสอบ ที่มีการสรุปสาระสำคัญที่รวบรัดกว่า ไม่ต้องละเอียดเหมือนตำราเรียนพื้นฐาน แล้วหากไม่เข้าใจตรงไหน ค่อยไปเปิดตำราพื้นฐาน เพื่อขยายความเพิ่มเติม เพราะ รู้สึกว่าตำราพื้นฐาน จะเวิ่นเว้อ เสียเวลาอ่านมากไป ทั้งนี้ จะทำโจทย์จากทั้งตำราพื้นฐาน และ ตำราเตรียมสอบ รวมถึงอาจหาโจทย์จากตำราอื่นๆ ที่เข้มข้นและยากกว่า อ่านร่วมด้วย

22 ธค.

  • พยายามเลิกดู smartphone เรื่อยเปื่อย แล้วหันมามีสติอยู่กับลมหายใจแบบสบายๆ ในเวลาว่างแทน
  • ไม่ชอบงานฝีมือ เพราะ มือสั่น เวลาขยับช้าๆยิ่งสั่น ต้องขยับทีเดียวให้เสร็จ จึงจะไม่สั่น
  • พยายามฝึกนั่งหลังตรงตลอด เพราะ เป็นพื้นฐานของสมาธิทุกอย่าง
  • ทำอย่างไร เราจึงจะมีความสุขอยู่กับตนเองได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาวัตถุภายนอก (ซึ่งไม่ทำให้เกิดสุขแท้จริง)

21 ธ.ค.

  • อ่านเลขอย่างเดียวอาจจะน่าเบื่อเกินไป อ่าน programming ด้วยดีไหมนะ
  • เวลาศึกษาศาสตร์อะไร ควรศึกษาให้เข้าใจถึงแก่น เข้าใจที่มาของมันจริงๆ และศึกษาด้วยความชอบ ตอนอ่านเลขเตรียมสอบ ไม่ได้รู้สึกว่าอ่านเตรียมสอบเท่าไหร่ เหมือนศึกษาคณิตศาสตร์เพลินๆทั้งวัน
    • วิธีที่จะทำให้อ่านหนังสือได้วันละ 10 ชั่วโมง น่าจะเกิดจากการอ่านด้วยความรู้สึกชอบ และเพลิดเพลิน(enjoy) อย่างตอนที่เราอ่านนิยาย เราอ่านได้ทั้งวันโดยไม่พัก ก็เพราะมันเพลิดเพลินนี่แหละ ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ต้องก้าวข้ามไปด้วยความยากลำบากอะไร แต่กลับรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้ น่าทำความเข้าใจ น่าศึกษา

20 ธ.ค.

  • เริ่มฝืนอ่านเลขได้มากขึ้นแล้ว ตอนแรกคิดว่าตกเย็นน่าจะเหนื่อยแล้ว แต่จริงๆพอฝืนอ่าน ก็ยังอ่านต่อได้อีก
    • เหมือนกับว่าพอเราทำงานที่เหมาะสมกับเรา หรือสิ่งที่เราชอบ จะสามารถพัฒนาเป็นความเพียรพยายามต่อไปได้
      • สิ่งที่ทำให้เราฝืนใจอ่านต่อไปได้ คือ ความรู้สึกสนุก จากการทำสิ่งที่ชอบ หรือ เหมาะสมกับเรา หรือ บางทีอาจเป็นเพราะ เราเหมาะกับวิชาคิด คำนวณมากกว่าวิชาท่องจำ(อ่านไม่นานก็ง่วง) ไม่ได้ว่าเก่งมากๆในด้านนี้ แต่แค่ตัวเราเหมาะกับมันมากกว่าด้านอื่น
    • แต่ถ้าเป็นงานที่เราไม่ชอบ หรือไม่เหมาะกับเรา ก็ยากที่จะพัฒนาเป็นความเพียรพยายาม เพราะ บางทีแค่เริ่มทำไปนิดนึง จะต้องฝืน ไม่เพียงแค่ทางกายให้ทนอ่าน แต่ต้องฝืนทางใจ ให้ฝืนอ่าน หรือ ฝืนคิดทำความเข้าใจต่อไปด้วย ซึ่งจะเหนื่อยกว่า และ ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าหลายเท่า กระทั่งเพียงแค่จะอ่าน ก็แทบจะหลับแล้ว จะฝืนให้มีความเพียรพยายามได้ที่ไหน
  • ความรู้ ต่อให้เราเคยอ่านมาเยอะแค่ไหน มันก็ลืมได้ ต้องทบทวนอยู่เสมอ เพราะ ที่หลงเหลือในสมองจะเป็นเพียง "ความรู้คร่าวๆเมื่อนานมาแล้ว"
    • ความเพียรพยายามก็เช่นกัน ต่อให้อดีตเราเคยเพียรพยายามมากแค่ไหน แต่ถ้าในปัจจุบัน เราหยุดเพียรพยายาม เราก็คือ "คนไม่เพียรพยายามในปัจจุบัน" และ เราก็ไม่ได้สัมผัสกับความรู้สึกของความเพียรพยายามนั้น ปล่อยชีวิต ปล่อยเวลาล่องลอยไปเปล่าๆ อยู่ดี
  • ตั้งแต่ที่อ่านเลขเตรียมสอบแบบจริงจัง รู้เลยว่าเวลาทุกชั่วโมงมีค่า เริ่มสัมผัสได้ถึงลักษณะของ "การใช้ชีวิตให้มีความเพียรพยายาม" มากขึ้น
    • แต่ก่อนรู้สึกว่าเวลาทุกวันมีค่า ตอนนี้ลดลงเหลือทุกชั่วโมงแล้ว แล้วจะทำอย่างไรให้ รู้สึกว่าทุกนาที ไปจนถึงทุกวินาที มีค่า ต้องทำความเพียรอยู่เสมอนะ?
      • ต้องทำให้เห็นคุณค่า เหมือนตอนก่อนจะเห็นค่าของเวลาทุกชั่วโมง ก็เกิดจากการ fail ตอนสอบ รอบที่ผ่านมา ทำให้ตั้งใจว่าจะไม่ใช้เวลาทุกชั่วโมงให้เสียเปล่าอีกแล้ว เป็นต้น
    • ใช้ชีวิตทุกขณะให้เหมือนกำลังต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาลัย
  • อีกปัจจัยที่ทำให้อ่านได้ดีขึ้น คือการลดค่าสายตาของแว่น และฝึก pencil push up(vision therapy) จนตาปรับเข้ากับแว่นใหม่ได้เร็วขึ้น
  • สาเหตุที่คนเรา มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น อาจเป็นเพราะ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ไม่ค่อยได้อยู่กับธรรมชาติรึเปล่านะ
    • อย่างน้อยๆ ต้องเรียนรู้ธรรมชาติในตัวเรา คือ การมีสติอยู่กับลมหายใจ  เรียนรู้กายใจ อันเป็นธรรมชาติในตัวเรา หัดสังเกตไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าความรู้สึกไม่มีจริง เป็นเพียงธรรมชาติหนึ่ง ที่เกิดกับจิต ที่ทำงานของมันตามเหตุปัจจัย แต่เราเองไปยึดถือ
  • บางทีเราก็มุ่งแต่เป้าหมายของเรามากเกินไป จนลืมดูแลจิตใจคนรอบข้าง ควรจะทำให้ระหว่างทางไปสู่เป้าหมาย เต็มไปด้วยความสนุก สร้างสรรค์ มีเวลาให้คนรอบข้างบ้าง
  • ถือว่ายังออ่านหนังสือได้ช้าอยู่ บางวันมีกิจกรรมเข้ามาก็ไม่ได้อ่าน!!

19 ธ.ค.

  • คอมพิวเตอร์เป็นเพียงอุปกรณ์ๆหนึ่งสำหรับทำงานเฉพาะอย่างเท่านั้น ต่อให้เป็นโปรแกรมเมอร์ ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นก็ไม่ต้องใช้ อย่าใช้เรื่อยเปื่อย เสียเวลาชีวิตเปล่าๆ และจะทำให้เกิดนิสัยไม่อดทน ทำอะไรต่อเนื่องนานๆไม่ได้ ไม่มีความจริงจัง ฟุ้งซ่าน

18 ธ.ค.

  • หลังจากที่ได้นั่งขัดสมาธิมาสักพัก พบว่าสามารถ นั่งได้สบายทั้งวัน แม้จะไม่ได้มีเบาะรองนั่งนิ่มๆแต่อย่างใด(นั่งบนพื้นผิวแข็งๆ) ไม่มีปัญหาเรื่องการปวดหลังเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งยังมีสมาธิได้ดี และโฟกัสกับหนังสือที่อ่านได้ง่าย เพราะ ไม่ต้องเสียสมาธิส่วนหนึ่งไปเกร็งกล้ามเนื้อหลังเพื่อพยุงตัว
    • ทั้งนี้ อย่านั่งกับพื้นโดยตรง ควรหาวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนปูรองก่อนด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียความร้อนไปกับพื้น จะทำให้ไม่มีสมาธิได้เช่นกัน เพราะ พลังงานส่วนหนึ่งจะถูกนำไป ทำให้เกิดเป็นความร้อนทดแทนความร้อนที่เสียไป
Notes

** บทความนี้อยู่ใน หมวดหมู่ บันทึกประจำวัน ซึ่งมักจะเป็นเนื้อหาที่ ยังอยู่ในระหว่างการทดลองส่วนตัว ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ จึงขอแนะนำให้ผู้อ่านติดตาม จากเนื้อหาที่มีความเป็นปัจจุบันที่สุด โดยการคลิกที่ ลิงค์ "Tags" ที่เกี่ยวข้องด้านล่าง เพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้อง ที่มีการอัพเดตล่าสุด ได้เลยครับ

Add new comment

The content of this field is kept private and will not be shown publicly.

Plain text

  • No HTML tags allowed.
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.