อันนี้เป็นสิ่งที่รวบรวมมา ในขณะที่กำลังอ่านหนังสือเตรียมสอบ เข้ามหาลัยใหม่ ถึงแม้จะสมัครสอบไม่ทัน ทำให้ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อในปีนี้ แต่ในช่วงที่เตรียมตัวสอบ ก็ได้วิธีการศึกษาด้วยตัวเองติดตัวมา
- ฝึกสมาธินั้นเป็นหัวใจสำคัญ ทำให้สมองไม่ล้าง่าย ความคิดมีพลัง เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ดี รวมถึงมีความคิดสร้างสรรค์ มีไอเดียในการแก้ปัญหาดีๆ ต่อให้เก่งและมีสติปัญญาดีแค่ไหน แต่ก็จะมีวันที่สมองล้า ไม่มีสมาธิได้ ซึ่งถ้าฝึกสมาธิทุกวัน สมองจะมีพลังทุกวัน
- ฝึกสมาธิทุกวัน หลังตื่น-ก่อนนอน
- เวลาอ่านหนังสือแล้วเริ่มล้า เริ่มฟุ้งซ่าน สมาธิหมด ให้กลับมารู้ลมหายใจสักพัก
- ต่อให้ Textbook เป็นพันหน้า ก็อ่านจนจบได้ โดยส่วนใหญ่ อ่านหนังสือ ให้แบ่งเป็นบทๆ กำหนดเป้าหมายเป็นช่วงๆ เช่นว่า บทนี้กี่สัปดาห์ แล้วอ่านไปเรื่อยๆทีละหัวข้อ จนจบทีละเรื่องย่อยๆ อย่าอ่านหลายตำรามากเกินไปในคราวเดียว อาจเกินความสามารถในการติดตามเนื้อหา และอาจจะไม่จบสักอย่าง
- พยายามกำหนดแผนเป็นช่วงระยะสั้นๆ ไปเรื่อยๆๆ
- พยายามนึกถึงเป้าหมายของเราไว้ จะทำให้เราไม่เถลไถล เช่น ตอนเตรียมตัวสอบ ก็นึกถึงเป้าหมายของการสอบติด รวมถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่จะตามมา เป็นต้น ทำให้ไม่เถลไถลไปทำเรื่องเสียเวลาไม่เกี่ยวข้องอื่นๆ
- กำหนดเวลาประจำวัน เช่น อ่านหนังสือ 9-19.00น เป็นเวลา 10 ชม ต่อวัน แล้วพยายามทำให้ได้ ห้ามเถลไถล
- เวลาของเราสำคัญเท่ากับเวลาทำงานปกติ อย่าให้มีเรื่องอื่นๆเข้ามาเบียดบังเวลาทำงานของเรา เช่น ทำธุระอื่นๆ ทำตามคำไหว้วานของคนอื่น เพราะ คิดว่าเราว่าง เป็นต้น อย่าคิดว่าเวลาของเราไม่สำคัญไปทำอย่างอื่นก่อนก็ได้ เป็นอันขาด
- อ่านในสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงัด ไม่มีเสียง หรือ ปัจจัยอื่นๆรบกวน จะอ่านได้อย่างมีสมาธิมากกว่าสถานที่ ที่มีคนคุยงานกันเยอะๆ
-
อ่านไปด้วยทำสรุปไปด้วย ข้อดีคือ ทำให้เราสามารถทวนเนื้อหาได้ง่าย ไม่ต้องตามไปไล่อ่านใหม่ และ การที่กลับไปทวนได้ง่าย ก็ทำให้จำได้ดีขึ้น และไม่ต้องเปลืองภาระสมองในการจำทุกอย่าง(ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะจำโดยไม่ลืม)
- ศึกษาในสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ชอบจะทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย จะทำให้เราเรียนได้นาน นอกจากนี้ เทคนิคการเรียนรู้ดีๆ สร้างสรรค์มักเกิดขณะที่เราเรียนรู้ในสิ่งที่ชอบ แนะนำให้บันทึกวิธีการดีๆเอาไว้ แล้วเอาไปใช้เวลาเรียนรู้สิ่งที่ไม่ชอบได้ด้วย(เลียนแบบ วิธีการเรียน วิธีการคิด ขณะที่เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบ ไปใช้เรียนรู้สิ่งที่ไม่ชอบได้อีกต่อ)
- ทั้งนี้สิ่งที่เราชอบ ไม่ได้หมายความว่าจะสบายนะ งานทุกอย่างล้วนแต่มีอุปสรรค มีความยากในตัวมันเอง เพียงแต่ส่งที่ชอบจะทำให้เรายินดี หรือ อยากที่จะฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นไป รู้สึกไม่ยอมแพ้ได้มากกว่า
- พยายามหลีกเลี่ยงคนที่มีความคิดลบ เช่นว่า อย่างนั้นเป็นไปไม่ได้ อย่างนี้เป็นไปไม่ได้ เป็นต้น เพราะ จะทำให้เราสูญเสียพลังใจโดยเปล่าประโยชน์ กับคนเหล่านี้ รวมถึงอาจจะทำให้เราเกิดความคิดลบตามไปด้วย สิ่งแวดล้อมรอบข้างเรามีความสำคัญมาก ถ้าเราอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่มีแต่คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีแรงบันดาลใจ เราก็จะรู้สึกมีพลังใจมากขึ้นไปด้วย
- หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ อาจเป็นคนใกล้ชิด ให้เจริญสติ คอยระวังความคิดของเราแทน อย่าไปนึกโทษคนที่มีความคิดลบ เพราะ มีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้พวกเขาคิดลบแบบนั้น เช่น ความรู้ ประสบการณ์ เป็นต้น
- อยู่กับความเป็นจริง อย่าอยู่กับความฝัน ต้องคอยประเมินตนเองอยู่เสมอ ว่าสิ่งที่เราทำได้ผลลัพธ์มากแค่ไหน เช่น อ่านตำราได้วันละกี่หน้า บทหนึ่งใช้เวลากี่วัน และเมื่อไหร่ในภาพรวมจะสำเร็จ หรือ อ่านจบเล่ม, ใกล้ถึงเป้าหมายมากขึ้นแค่ไหน ตอนนี้กำลังย่ำอยู่กับที่หรือไม่ กำลังเถลไถลอยู่หรือไม่ กำลังเฉื่อยชาหรือไม่ ยัง active ในการเรียนรู้หรือไม่ ยังมีหัวข้อไหนที่ต้องพัฒนาอีก เป็นต้น
- มีสิ่งกระตุ้น ความท้าทาย และการทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ซึ่งถ้าเทียบกับการเรียนปกติ ก็จะมี แบบฝึกหัดหลังเรียน เพื่อให้สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น, งานกลุ่ม เพื่อเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และการนำไปใช้, สอบหลังเรียน เพื่อกระตุ้นให้มีการทบทวน, แม้แต่ความเร็วในการสอนแต่ละคาบเรียน ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ต้องตื่นตัว เพื่อที่จะติดตามการสอนให้ทัน
- สำหรับการเรียนด้วยตนเอง เราจะใช้อะไรดีนะ เป็นสิ่งกระตุ้น เพราะ บางทีถ้าอ่านหนังสือ ก็จะอ่านไปแบบสบายๆเรื่อยๆ ซึ่งก็ไม่ได้รู้สึกแย่อะไร แต่กลัวว่าจะไม่ได้อ่านอย่างเต็มประสิทธิภาพจริงๆ เพราะ ขาดปัจจัยกระตุ้น
- อย่าติดในกรอบความรู้เท่าที่ตัวเองรู้ ข้อเสียของการไม่ได้เรียน คือ เราไม่รู้วิธีการหาความรู้ ที่มักจะถูกสอนในการเรียนปกติ เช่น การอ่านงานวิจัยต่างๆ รวมถึงความรู้บางเรื่อง เราอาจตกหล่นไปจากการศึกษาด้วยตนเอง ต้องคอยหมั่นตรวจสอบตนเอง ว่าเรายังไม่รู้อะไรอยู่เสมอๆ นอกจากนี้เรามักจะคิดได้เท่าที่เรามีความรู้ หรือเคยผ่านประสบการณ์มาก่อน อาจทำให้กรอบความคิดของเราคับแคบ ไม่กว้างขวาง ต้องคอยเปิดรับความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
- วิธีสังเกตว่าเราติดอยู่ในกรอบความคิดของเราเองหรือไม่ คือ ลองสังเกตตัวเองว่า เราตอนนี้กับที่ผ่านมา พัฒนาขึ้นหรือไม่ หรือยังคงวนไปๆมาๆเหมือนเดิม
- ที่น่ากลัวที่สุดคือ เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร, มีอะไรบ้างที่เราควรจะรู้ แต่เราไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ
- วิธีหนึ่งที่จะบรรเทาปัญหานี้ได้ คือ อ่านหนังสือ เยอะๆๆๆ! อ่านหลายๆอย่าง หลายศาสตร์ ทั้งไทยและต่างประเทศ อย่าหยุดเรียนรู้ อ่านไปเรื่อยๆ ทีละเล่มๆๆ
- อย่าลืม!!(ย้ำอีกครั้ง) สาเหตุที่เราเฉี่อยชา เพราะ เราไม่ได้กำหนดเป้าหมายระยะสั้น (โดยแนะนำให้กำหนดเป้าหมายย่อย ที่ท้าทายตัวเองนิดๆจะยิ่งดี เพื่อให้ตัวเอง active ขึ้น) เช่นว่า
- ภายใน 1 สัปดาห์ จบตำราเทรด200กว่าหน้า พร้อมหาเงิน
- ภายใน 3 เดือน จบ algorithim + Java พร้อมทำงาน เป็นต้น
- ภายใน 1 สัปดาห์ เรียนพิมพ์สัมผัส
- ภายใน 1 สัปดาห์ ฝึก english listening
- ภายใน 1 สัปดาห์ ฝึก english speaking
- มีวินัย ในการทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะศึกษาในสิ่งที่ชอบ หรือ ไม่ได้ชอบเท่าไหร่(กลางๆ)
- ถ้าศึกษาในสิ่งที่ชอบ จะเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่า
- อาจใช้ระบบ Major(วิชาหลัก) และ Minor(วิชารอง) ในการเรียนแต่ละวัน
- Major คือ วิชาหลัก ที่เราชอบและเน้นความสำคัญ จำเป็นสำหรับชีวิต
- เป็นการเรียนในช่วงกลางวัน 8 ชม
- Minor คือ วิชารอง ที่เราไม่ค่อยชอบ, กลางๆ อาจจะจำเป็นหรือไม่กับชีวิตก็ได้
- เป็นการเรียนช่วงเย็น-ดึก 4 ชม
- ตัวอย่างการใช้ก็เช่น Major เป็น Programming เรียน 8 ชม ตอนเช้า อ่านที่ห้องสมุดมหาลัย, Trade เรียน 4 ชม ตอนเย็น หลังกลับมาที่พัก
- Major คือ วิชาหลัก ที่เราชอบและเน้นความสำคัญ จำเป็นสำหรับชีวิต
- เรียนเรื่องไหน ให้เรียนเรื่องนั้นจนจบ และอย่าข้ามขั้น
- การเรียนเรื่องหนึ่งๆจนจบ และใช้งานได้จริง มันเป็นประโยชน์มากกว่า การเรียนหลายเรื่อง แต่ไม่จบสักเรื่อง
- การข้ามขั้น ทำให้การเรียนนั้นยากโดยไม่จำเป็น และอาจสร้างปัญหาในอนาคตได้ การเรียนพื้นฐานจึงสำคัญ ควรเรียนไปทีละขั้นตอนๆ
Add new comment