พิมพ์สัมผัส

ได้ดูยูทูป การเล่าประสบการณ์ของคนที่สามารถพิมพ์สัมผัสได้ สรุปได้ประมาณนี้ คือ

  1. การพิมพ์สัมผัสได้ เกิดจาก ความจำของกล้ามเนื้อ(Muscle memory) ไม่ใช่การท่องจำตำแหน่งของคีย์ ในคลิปเล่าว่า เวลาที่เขาจะพิมพ์อะไร เขาไม่ได้ต้องมาคอยนึก ว่าปุ่มไหนอยู่ตรงไหน แต่นิ้วจะไปของมันได้เอง
  2. สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำ คือ การวางนิ้วในตำแหน่งมาตรฐาน โดยจะเป็นตำแหน่งสำหรับพักนิ้ว หลังจากที่เอื้อมไปกดคีย์ต่างๆ ซี่งบนคีย์บอร์ดจะมีการทำปุ่มนูนมาให้ที่ตัวอักษร F และ J สำหรับให้วางนิ้วชี้มือซ้ายและมือขวาตามลำดับ และนิ้วต่อๆไป(นิ้วกลาง, นาง, ก้อย)ก็เรียงตามคีย์ที่อยู่ถัดๆไป

    การที่เรามีตำแหน่งมาตรฐานในการวางนิ้ว จะทำให้สมองได้เรียนรู้ pattern การขยับนิ้วในรูปแบบเดิมซ้ำๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน/ความจำของกล้ามเนื้อ หากเราไม่มีตำแหน่งมาตรฐาน แม้จะฝึกจนพิมพ์ได้เร็วพอสมควร แต่มันก็จะทำให้เกิด muscle memory ได้ยาก เพราะ ตำแหน่ง/รูปแบบ การขยับนิ้วไม่ได้เป็นรูปแบบคงเดิม (มีบางกรณีที่เกิดได้ แม้จะไม่ได้ฝึกวางนิ้ว เช่น พิมพ์ชื่อตัวเองซ้ำๆบ่อยๆ จนพิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว แทบไม่ต้องดูคีย์บอร์ด แต่พอจะพิมพ์คำอื่นก็ต้องกลับมาดูคีย์บอร์ดใหม่)
  3. ฝึกพิมพ์โดยวางนิ้วอ้างอิงกับตำแหน่งมาตรฐานเสมอ แรกๆจะช้า และฝืน สามารถมองคีย์บอร์ดไปด้วยก็ได้ในช่วงแรก (พอกล้ามเนื้อเริ่มสามารถจดจำได้ ก็จะลองเปลี่ยนมาไม่ต้องมอง) ซึ่งการฝึกนอกจากจะ ทำไปกับการพิมพ์งานปกติแล้ว ก็ยังสามารถหาแบบฝึกตามเว็บ ที่จะทำให้ฝึกคีย์ได้อย่างทั่วถึง และเป็นเร็วขึ้น สำหรับภาษาไทยก็ เช่น https://www.typingstudy.com/th-thai_kedmanee-3/lesson/1

จากประสบการณ์ ทีแรกก็ยังไม่เชื่อว่ามันจะทำได้โดยไม่ต้องท่องจำ แต่หลังจากที่ฝึกวางนิ้วในตำแหน่งมาตรฐานขณะพิมพ์มาสักพัก ก็ได้ลองกลับไปทำแบบฝึกหัดพิมพ์ ที่มักเป็นลำดับตัวอักษรประหลาดๆ (เช่น หกสา สว่าห) ก็กลับกลายเป็นว่าพิมพ์ได้อย่างน่าประหลาดใจ ฮาๆๆ แสดงว่าวิธีนี้น่าจะเป็นการเรียนรู้ที่ถูกแล้วล่ะ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *