รายจ่าย\วันที่(ก.ย.66) | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
กับข้าว+ข้าว | 100 | 70 | 70 | 80 | 80 | 70 |
ขนม | 20 | 25 | 25 | 15 | 20 | 50 |
ผลไม้ | 20 | 20 | 20 | 15 | 20 | 20 |
น้ำดื่ม | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 |
รวมค่าอาหารใน 1 วัน | 160 | 135 | 135 | 130 | 140 | 160 |
ค่าอาหารเฉลี่ยต่อวัน | 143.3333333 | |||||
ค่าอาหารต่อเดือน | 4443.333333 | |||||
ค่าไฟ เปิดเต็มชมละ 200w=1.8บาท เปิด 18ชม |
32.4 | |||||
ค่าไฟ ตอนนอน ชมละ 20w(พัดลม)+20w (เครื่องกรองอากาศ)=0.36บาท เปิด 6 ชม |
2.16 | |||||
รวมค่าไฟใน 1 เดือน |
1071.36 | |||||
ค่าหอ ต่อเดือน | 2200 | |||||
ค่าน้ำ ต่อเดือน | 200 | |||||
รวมต่อเดือน | 7914.693333 | |||||
รวม 6 เดือน | 47488.16 |
เท่าที่สังเกตตัวเอง เวลาที่อ่านหนังสือจาก e-reader หรือ หนังสือปกติ ซึ่งต้องถืออยู่ในระยะช่วงแขน (<50 ซม.) จะไม่สามารถอ่านได้นานสมาธิก็จะหลุด แบบว่าอ่านท้ายประโยค จะลืมต้นประโยคและต้องกลับไปอ่านประโยคนั้นซ้ำใหม่!
แต่หากอ่านหนังสือจาก หน้าจอ monitor ขนาดใหญ่ จะสามารถขยายหน้าหนังสือให้ใหญ่ขึ้น และ อ่านจากระยะสายตาที่ไกลขึ้นได้(>1 ม.) ซึ่งปัญหาสมาธิหลุด จากการอ่านท้ายลืมต้นประโยค ก็ไม่เกิด และอ่านได้ดีกว่า
ซึ่งจริงๆมันไม่ควรจะเป็นแบบนั้น ควรจะอ่านจากหนังสือได้นานกว่า และ สบายตากว่า การอ่านจากหน้าจอสิ!
ทำให้นึกถึงแต่ก่อน ที่เคยตรวจสายตากับพี่นักทัศนมาตร ท่านหนึ่ง ซึ่งใช้เครื่องมือตรวจเยอะมาก และ ตรวจทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับตา ในตอนนั้นพบว่ามีปัญหาเรื่อง กล้ามเนื้อตา ไม่สามารถเหล่ตาเข้ามาหากันได้อย่างเหมาะสม ขณะมองใกล้ ซึ่งเรียกว่าภาวะ convergence insufficiency โดยทางแก้ที่เคยได้รับคำแนะนำคือ ให้ทำ pencil puch up แต่ตอนนั้นทำได้สักพักก็หยุดทำไป เพราะ ไม่ค่อยมีเวลา ประกอบกับไม่มีตัวชี้วัดว่าดีขึ้นหรือยัง เลยไม่ได้ทำต่อ
จึงขอบันทึกไว้ก่อน เพราะ สาเหตุหลักของการไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ(แต่อ่านจากหน้าจอคอมได้ดีกว่า) ที่พยายามสรรหาวิธีการต่างๆ นานา ที่จะทำให้ดีขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจจะมีคำตอบง่ายๆด้วยการฝึกกล้ามเนื้อตาก็ได้
Tags
อันนี้เป็นตัวอย่าง live ของสำนักข่าว ABC news
คิดว่ามีข้อดีหลายอย่างเลยนะ
- ได้เห็น วัฒนธรรม การใช้ชีวิตจริง ที่ไม่ได้อยู่ในภาพยนตร์(รู้สึกตื่นเต้นมาก เหมือนได้เห็นชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง)
- ได้ฟังสำนวนการพูดแบบปกติ ที่นอกเหนือจากภาพยนตร์
- ฟรี เปิดคลอได้ทั้งวัน
*แต่ก่อนจะฝึกฟัง ต้องฝึกอ่านให้รู้ศัพท์เยอะๆ ก่อนนะ ถ้าเราไม่รู้ศัพท์ที่ไม่มากพอ ก็ไม่สามารถฝึกฟังได้รู้เรื่องเท่าไหร่
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแหล่ง สำหรับฝึกการฟัง
- https://www.cbsnews.com/live/ อันนี้เป็น Live จริงๆ ไม่ได้เปิดคลิปวนๆ
- BBC world service อันนี้ฟังผ่าน App ได้ เป็น Live จริงๆ
- https://www.youtube.com/@ABCLearningEnglish อันนี้เป็นแบบฟังง่าย
- https://www.youtube.com/@EnglishSpeeches อันนี้เป็นspeech ของบุคคลสำคัญต่างๆ
- https://librivox.org/ อันนี้เป็นหนังสือเสียง มีข้อดีคือ สามารถอ่านไปคู่กับหนังสือได้ แล้วยังเลือกหนังสือที่อยากฟังเองได้ด้วย
ข้อดีของประเภท Live สด คือ มีเนื้อหาพวกข่าวใหม่ๆ ในโลก ตลอด ที่จะช่วยกระตุ้นให้เราสนใจ และเงี่ยหูฟังโดยอัตโนมัติ, แต่หากเป็นการเปิดวนซ้ำ พอเราเคยฟังไปแล้ว เราก็จะไม่ได้ใส่ใจมัน และ ไม่ฟังมันอีก ก็จะกลายเป็นการเปิดทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้ฟังอะไร, ส่วนหนังสือเสียง ถ้าเป็นเรื่องที่เราสนใจ สนุกน่าติดตาม เราก็คงจะอยากฟังแหละ นอกจากนี้อาจรวมถึง podcast ก็ด้วย แต่ podcast มักจะไม่มี script ให้อ่าน อาจจะเป็นข้อจำกัดเล็กน้อย
Tags
ถึงเราจะลาออกมาอยู่คนเดียว เช่าห้องส่วนตัว แล้วตั้งใจว่าจะพยายามอ่านหนังสือให้คุ้มค่าที่สุด แต่วันๆ ก็เหมือนไม่ได้ทำอะไรได้มากเท่าที่ตั้งใจไว้ ทำไมกันนะ
เราใช้งบประมาณไปประมาณนึงเลย สำหรับปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้สะดวกสำหรับการอ่านหนังสือ แต่ก็ยังอ่านได้ไม่เต็มที่ แสดงว่าตอนนี้ปัญหาน่าจะอยู่ที่ตัวเราเองแล้วล่ะ คงต้องมาลองหาสาเหตุดูว่าเกิดจากอะไร
เริ่มจากการบันทึกสิ่งที่ทำในแต่ละวันก่อน ดูว่าแต่ละวันเรามีเวลาเท่าไหร่ แล้วเอาไปใช้กับอะไรบ้าง
วัน จันทร์ ที่ 11 ก.ย. 66 | วันอังคารที่ 12 ก.ย. 66 | ||
เวลา | สิ่งที่ทำ | เวลา | สิ่งที่ทำ |
นอน | 7 ชม | นอน | 8ชม |
5.30-6.00น | นั่งสมาธิ | 6.00-6.30 | ตื่น งัวเงีย พยาพยามนั่งสมาธิ ทำได้บ้าง ง่วงบ้าง |
6.00-8.00 | วิ่ง+ซื้อข้าว | 6.30-7.00 | อาบน้ำ |
8-9.00 | กินข้าว | 7.00-7.30 | เขียนblog |
9-9.30 | อาบน้ำ | 8.00-9.30 | กินข้าว |
9.30-10.15 | ดู youtube | 9.30-10.00 | คำนวณรายจ่าย |
10.15-11.00 | อ่านหนังสือ | 10.00-10.10 | เอาขยะไปทิ้ง |
11.00-12.00 | กินข้าว | 10.10-10.30 | อ่านหนังสือ |
12.00-12.45 | ดู youtube | 10.30-11.15 | เช็ค facebook |
12.45-13.45 | อ่านหนังสือ | 11.15-11.30 | เดิน |
13.45-14.30 | พักผ่อน เช็คข่าว/youtube 45 นาที | 11.30-12.30 | อ่านหนังสือ+calibrate หน้าจอ |
14.30-15.15 | อ่านบ้าง เผลอไปดู youtube บ้าง | 12.30-13.30 | อ่านหนังสือ |
15.15-15.35 | ลุกไปเดิน 20 นาที | 13.30-15.00 | เล่นเกมส์ |
15.35-16.00 | อ่านหนังสือ(สมาธิดีขึ้น) | 15.00-16.00 | อ่านหนังสือ |
16.00-16.50 | หาซื้อของใน shopee | 16.00-16.40 | เดิน |
16.50-18.00 | ไปซื้อของที่ห้าง | 16.40-17.00 | เขียนบล๊อก(เกิดไอเดียขณะเดิน) |
18.00-18.45 | อาบน้ำ | 17.00-18.00 | เดินไปห้าง และหาซื้อของ |
18.45-19.20 | ดู youtube | 18.00-19.30 | อ่านหนังสือที่ห้าง สมาธิดีมาก |
19.20-19.40 | ซักผ้า | 19.30-20.15 | เดินดูของ+เดินกลับหอ |
19.40-20.50 | อ่านหนังสือ | 20.15-21.30 | เขียนบล๊อก |
20.50-21.10 | อ่านหนังสือ ไป ฟัง live abc news ไป | 21.30-22.00 | อาบน้ำ |
21.10-21.44 | เขียน blog, ฟัง live ABC News, อ่านหนังสือ | 22-23.30 | calibrate ลำโพง |
21.44-22.00 | ฝึกกล้ามเนื้อตา(pencil push up) | ||
สิ่งที่พบ
สิ่งที่จะปรับ
|
สิ่งที่จะปรับ
|
Tags
- หากคีย์บอร์ดมีมีภาษาเกิน แล้วลบไม่ได้ ให้เพิ่มภาษานั้นๆ แล้วลบออกอีกที
- สามารถตั้งค่าให้ใช้ caplock เป็นปุ่มเปลี่ยนภาษาได้ โดยใช้โปรแกรม Powertoy
- ไปที่ Keyboard manager > Remap a key
- ตั้งค่าปุ่ม
Caplock
เป็น`
Tags
- จอ 27 นิ้ว ความละเอียด ระดับ 4K ได้ยิ่งดี โดยปรับให้ resolution มีความละเอียดสูงสุด และใช้ scaling ขยายภาพ ที่ 200%
- ถ้าเป็นจอภาพความละเอียดปกติ แนะนำให้ปรับ scaling ที่ 150% (เคยลองที่ 125% ยังต้องเพ่งสายตา เกิด productivity ต่ำกว่า)
- ถ้าเป็นจอ ultra wide ให้ปรับหน้ากระดาษ ให้เป็น 2 หน้า เห็นภาพรวมง่ายขึ้น, ถ้าเป็นจอปกติ การหมุนจอแนวตั้ง จะอ่านได้อย่างเป็นธรรมชาติ
- โดยส่วนตัว รู้สึกว่า ถ้าอ่านแบบแนวตั้ง จะอ่านได้แบบเป็นธรรมชาติมากกว่านะ
- ห้องจะมืดหรือสว่างก็ได้ ไม่มีผลอะไร
- ปรับลดความสว่างหน้าจอลง ให้อยู่ในระดับที่สบายตา คือ ระดับที่ไม่สว่างจ้าจนบาดตา และไม่มืดจนต้องเข้าไปดูใกล้ๆ
- เทคนิคการปรับคือ ลดแสงไปเรื่อยๆก่อน จนถึงจุดที่รู้สึกว่าหน้าจอมืดเกินไป แล้วค่อยๆปรับกลับขึ้นมา ถ้าสว่างไปหน่อย ก็ปรับกลับลงไปอีก ทำสลับไปเรื่อยๆ จนถึงระดับที่เรารู้สึกว่า ความสว่างพอดีๆ ไม่สว่างจ้าเกินไปจนรู้สึกแยงตา และไม่มืดเกินไปจนต้องเข้าไปเพ่งดูใกล้ๆแทน
- ถ้าไม่แน่ใจลองปรับให้อยู่ในระดับที่สว่างเกินหน่อยๆ แล้วค่อยลดลงมาทีละนิดๆก็ได้
- ถ้าสว่างไป ตัวอักษรจะฟุ้งๆ เพราะ แสงจะออกมารอบๆตัวอักษร
- ถ้ามืดไป ตัวอักษรจะไม่ฟุ้ง แต่บางทีจะรู้สึกอ่านได้ช้าลง หรือต้องเพ่งโน้มตัวเข้าไปดูใกล้ๆจอมากขึ้น เพราะ แสงไม่พอ
- โดยส่วนตัว ชอบแบบแสงพอดีๆ จะดีที่สุด รองลงมาคือ สว่างนิดๆ(อ่านได้ดีพอควร แต่อ่านนานๆจะปวดตา) ชอบน้อยสุด คือ มืดนิดๆ(อ่านไปสักพักจะง่วง เพราะ แสงไม่พอ และบางทีต้องเพ่งเข้าไปดูใกล้ๆแทน)
- ความสว่างตอนนี้ ที่อ่านหนังสือที่ได้ดี ของจอตัวเอง คือ brightness 5 contrast 50 (บันทึกไว้สำหรับตัวเองโดยเฉพาะ) ซึ่งแต่ละจอ ไม่ได้ตั้งค่าเหมือนกันนะ ขึ้นอยู่กับแสงในห้อง และ คุณสมบัติของจอนั้นๆด้วย
- เทคนิคการปรับคือ ลดแสงไปเรื่อยๆก่อน จนถึงจุดที่รู้สึกว่าหน้าจอมืดเกินไป แล้วค่อยๆปรับกลับขึ้นมา ถ้าสว่างไปหน่อย ก็ปรับกลับลงไปอีก ทำสลับไปเรื่อยๆ จนถึงระดับที่เรารู้สึกว่า ความสว่างพอดีๆ ไม่สว่างจ้าเกินไปจนรู้สึกแยงตา และไม่มืดเกินไปจนต้องเข้าไปเพ่งดูใกล้ๆแทน
Tags
หลังจากที่ได้ลองวิธีการต่างๆ นานา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและทำงาน โดยอาศัยความรู้เล็กๆน้อยๆ จากการอ่านงานวิจัยที่เกี่ยวกับ Intermittent Fasting และ การออกกำลังกายด้วยการวิ่ง(ซึ่งถ้าว่าง อาจจะมาแชร์เก็บไว้บ้าง)
สุดท้ายก็ได้ลองทำตามสมมติฐาน ที่ว่า มนุษย์เราตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ก่อนที่จะมีอาหารกินในแต่ละวัน น่าจะต้องมีการออกกำลังก่อนพอสมควร เช่น วิ่งเป็นระยะทางไกลๆ หรือ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด เป็นต้น เพื่อหาอาหาร ซึ่งหมายความว่า กลไกร่างกายของเรา น่าจะถูกวิวัฒนาการมา ให้เหมาะสมกับ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ มีการออกกำลังกายอย่างหนักประมาณนึงก่อน แล้วจึงจะค่อยรับอาหารเข้าไป
โดยช่วงที่ผ่านมาก็เลยได้ลอง วิ่งในตอนเช้า ก่อนกินอาหาร โดย
- วิ่งแบบ HIIT คือ วิ่งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้(ปานประหนึ่งว่า ถ้าเร็วไม่พอ อาจจะหาอาหารไม่ได้) โดยวิ่งเร็วต่อเนื่องจนกว่าจะรู้สึกหายใจไม่ทัน แล้วก็จะสลับมาเดินพัก พอมีแรงก็ไปวิ่งต่อสลับกันไป เป็นระยะทางประมาณ 2-3 กม. ระยะเวลารวม20-30นาที paceเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2.50-3 min/km และ pace เฉลี่ยขณะวิ่งอยู่ที่ 5-5.30min/km(ไม่นับช่วงที่เดิน)
- ผลที่เกิดขึ้น คือ หลังจากวิ่งเสร็จ จะรู้สึกผ่อนคลาย กระฉับกระเฉง และเกิดสมาธิ สามารถอ่านหนังสือเข้าใจง่ายขึ้น มีสมาธิอ่านมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงาน (performance) สูงขึ้น และ ปริมาณงานที่ทำได้ (productivity) ก็สูงขึ้นด้วย และ ผลที่ได้ไม่ใช่เกิดแค่ 1-2 ชม หลังวิ่ง แต่เกิดขึ้นทั้งวัน
- การออกกำลังแบบ HIIT(High Intensity Interval Training) จะเป็นการออกกำลังกายหนักแบบสุดกำลัง(เน้น anaerobic) สลับกับการออกกำลังกายแบบเบา มีการศึกษาว่า แม้จะออกกำลังแบบHIIT ในระยะเวลาสั้นๆ แต่จะได้ประโยชน์พอๆกับ การออกกำลังกายแบบcardio(เน้น aerobic) ปกติ ที่ใช้เวลามากกว่า จึงเหมาะกับคนที่มีเวลาในชีวิตจำกัด
พอลองนึกย้อนกลับไป มีช่วงนึง สมัยเรียนมัธยมช่วงปิดเทอม จะฝึกวิ่งเร็ว เพื่อเตรียมสอบรักษาดินแดน ในตอนเช้า(7โมง ช่วงแดดออก) วันละ 1-2 กม. แล้วค่อยกินข้าว แล้วมาเรียนพิเศษวิชาเลขต่อ ช่วงนั้นมีสมาธิกับการเรียนดีมาก ถึงขนาดทำโจทย์เลขในใจได้เลย และคิดเลขไวขึ้น!(ตอนนั้นก็ไม่ได้ IF ด้วยนะ) พอเปิดเทอม ไม่ค่อยมีเวลาไปวิ่งช่วงเช้า ก็ค่อยๆกลับมาโง่เหมือนเดิม สมาธิที่เคยคิดโจทย์เลขในใจได้ ค่อยๆลดลงจนทำไม่ได้เหมือนเดิม ฮาๆๆ
แต่ทั้งนี้รูปแบบการวิ่งแบบอื่นที่เคยทำ แต่ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ คือ
- วิ่งด้วยความเร็วคงที่ ตลอดระยะทาง 3กม. ด้วยความเร็วระดับกลางค่อนข้างสูง แบบว่า ต้องสูดหายใจหนักๆ ตลอดการวิ่ง (pace 5.30-5.00 km/min) โดยที่ไม่พักเดินบ้างเลย ซึ่งดูจะหนักกว่าแบบที่วิ่งสลับกับเดินพัก แต่ผลที่ได้คือ ความอ่อนเพลีย ทั้งวัน ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีแรงเหลือจะ ใช้ความคิด หรือทำงานอะไรอย่างอื่น
- วิ่งด้วยความเร็วคงที่ ตลอดระยะทาง 5 กม. ด้วยความเร็วปานกลาง แบบ cardio (pace 6min/km) โดย วิ่งจนกว่าขาจะอ่อนแรง หมดแรงที่จะก้าววิ่งต่อ พบว่า มีความรู้สึกผ่อนคลายเกิดขึ้น มีไอเดียดีๆเกิดขึ้นเหมือนกัน แต่ไม่เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉงเท่าแบบ HIIT
สรุปคือ วิธีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสมอง คือ การออกกำลังกาย ก่อนกินอาหาร โดยรูปแบบการออกกำลังกาย จะเป็น การวิ่ง ที่เน้นการทุ่มสุดตัว ด้วยการเน้นวิ่งเร็ว(เลียนแบบการวิ่งหาอาหารในธรรมชาติ ที่ต้องวิ่งให้เร็วที่สุด ถึงจะได้อาหารกิน) โดยเป็นการวิ่งแบบ HIIT ซึ่งเป็นการวิ่งเร็วสุดกำลัง สลับกับเดิน โดยไม่ต้องใช้เวลาออกกำลังกายนาน โดยรวมๆ20นาที ต่อวันก็เพียงพอ
- พัฒนาตนเอง คือ เก็บตัวเพื่อพัฒนา skill ใหม่ ที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน โดยไม่ต้องการสิ่งรบกวนสมาธิ เช่น ฝึกภาษาใหม่ หรือ เก็บตัวเพื่อศึกษาอะไรบางอย่าง อย่างจริงจัง ลึกซึ้ง ที่มีผลในการเปลี่ยนแปลงทิศทางชีวิตอย่างมาก ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการเกิดสมาธิ เช่น เก็บตัวอ่านหนังสือเตรียมสอบ เป็นต้น
- อย่าสนใจเรื่องคนอื่น เพราะ ไม่มีประโยชน์ แต่ละคนมีเส้นทางชีวิตที่ไม่มีใครเหมือนใคร สิ่งแวดล้อม ความถนัด นิสัย ประสบการณ์ ล้วนแล้วแต่แตกต่างกัน เอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้
- คอยหมั่นสังเกตตนเอง สิ่งเดียวที่เราจะเปรียบเทียบได้ คือ เปรียบเทียบกับตัวเราเองในอดีต ว่าตัวเราเองในวันนี้ ดีกว่าเมื่อวานหรือไม่ พยายามมากขึ้นหรือเปล่า พัฒนาขึ้นบ้างหรือเปล่า มีปัญหาอะไรหรือไม่ในระหว่างการพัฒนาตนเองที่เรามองไม่เห็น หรือมองข้ามไปหรือไม่ แล้วจะแก้ไขมันอย่างไร เป็นต้น
- อย่าฟังความเห็นคนรอบข้าง หมายถึง อย่าฟังความเห็นของ คนที่ไม่ได้รู้อะไรมากไปกว่าเรา(คนรอบข้าง) สิ่งที่เรารู้ เราเข้าใจ เรารู้สึก ความชอบ ความถนัด ไม่มีใครรู้ดีไปมากกว่าเรา ตัวเรารู้ดีที่สุด ไม่ต้องไปฟังคนรอบข้าง เพราะ แม้บางทีเขาชม หรือเห็นด้วยกับเรา แต่เหตุผลของคำชม ก็ไม่ได้ถูกต้อง หรือด่าเรา เหตุผลของคำด่า ก็ไม่ได้ถูกต้อง อย่างที่เราเป็นจริงๆ เช่นกัน เป็นต้น
- ฟังคนที่เก่งกว่าเราได้ คนที่เก่งกว่าเรา คือ คนที่มีความรอบรู้กว้างขวาง ลึกซึ้งมากกว่าเรา บางทีก็อาจรู้จักเรามากกว่าที่เรารู้จักตัวเราเองเสียอีก แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคน คนนั้นเก่งจริง เพราะ บางคนอาจจะเพียงแต่พูดเก่ง ดูมีการศึกษาสูง แต่ไม่ได้มีความรอบรู้กว้างขวาง ลึกซึ้งจริงๆก็ได้ อีกทั้งคนที่เก่งกว่าเรา ก็มักจะยังเป็นปุถุชนเหมือนกับเรา ยังมีกิเลสอยู่ คำแนะนำที่ได้อาจจะไม่ได้ดีกับชีวิตเราก็ได้ สิ่งที่ทำได้คือ การคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนก่อนเสมอ และ แม้จะไตร่ตรองแล้วก็ยังไม่จำเป็นต้องเชื่อ ฟังหูไว้หู แต่สิ่งที่ควรทำคือ ให้ทำการพิสูจน์ให้เกิดความประจักษ์ ว่าจริงตามคำแนะนำหรือไม่ (สรุปคือ อย่าเชื่อใครก็ตามทั้งนั้น ให้พิสูจน์ให้ประจักษ์ด้วยตนเอง)
Tags
เหตุเกิดจากสถานการณ์บังคับ ให้ต้องออกมาอ่านหนังสือนอกสถานที่ ก็พบว่าพออ่านหนังสือในที่ ที่มีผู้คน ตัวเองจะจริงจังกับการอ่านมากขึ้น เหมือนเป็นกิเลสตัว มานะอัตตา ที่ต้องการแสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็นคนขยัน?!
ซึ่งปกติอยู่ในห้องคนเดียว ไม่เคยจริงจังและขยันเท่านี้มาก่อน สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ทำให้รู้ว่าเวลาแต่ละนาที เราสามารถทำให้เกิดประโยชน์ ได้มากมาย และ ก็ได้รู้อีกว่า ที่ผ่านมาเราเหลวไหล และผลาญเวลาไปเปล่าประโยชน์มาก
คำถามต่อไปคือ อะไรที่ทำให้เราเหลวไหล ปล่อยเวลาล่วงเลยไปวันๆ ได้ขนาดนี้นะ?
ความรู้สึกที่แตกต่าง ที่เกิดขึ้นจากการอ่านหนังสือที่สาธารณะ ที่มีคนพลุกพล่าน คือ
1. เราจะอ่านด้วยความรู้สึกจริงจัง ออกจะเครียดๆตึงๆเล็กน้อยด้วย ซึ่งนานมากแล้ว ที่ไม่ได้อ่านหนังสือ ด้วยความรู้สึกแบบนี้ ตั้งแต่หลังเรียนจบแล้วทำงาน เพราะ ที่ทำงานสภาพแวดล้อม ไม่เอื้อต่อการอ่านหนังสือเท่าไหร่ เลยแทบไม่ได้อ่านหนังสือเลย เกือบ 3 ปี(ทิ้งไปเฉยๆเลย)
2. ซึ่งจริงๆอาจจะไม่ได้เครียดนะ อาจจะเป็นผลของกล้ามเนื้อตาที่ไม่ค่อยได้ถูกกระตุ้น(มีภาวะ convergence insufficiency มาช่วงหนึ่ง) ซึ่งทางแก้น่าจะเป็นอ่านหนังสือแบบจริงจังอย่างนี้ไปเรื่อยๆแหละ
แต่ระหว่างที่พิมพ์อยู่นี้ ก็กลับมาอยู่ในห้องแล้ว ซึ่งก็ยังแอบคิดว่าจะไปเล่นเกมส์ ดูการ์ตูน หรือทำอะไรเรื่อยเปื่อยอีกสักพัก!!? ซึ่งถ้าเรายังไม่กลับ ป่านนี้เราก็คงจะยังอ่านหนังสือแบบจริงจังอยู่สินะ?! แสดงว่า "สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีผลเยอะเลย"
ปัญหาต่อไป ก็น่าจะเป็น ต้องปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมอย่างไร เราถึงจะ จริงจัง มากกว่านี้นะ ?!
- คอมพิวเตอร์ รึเปล่า? ถ้าลองจินตนาการว่า ห้องที่เราอยู่ ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ รวมถึง อุปกรณ์สื่อสาร ทั้งหลาย แล้วเราอยู่ในห้องทั้งวัน กับ หนังสือกองหนึ่ง เราจะทำอะไรนะ? ก็ต้องหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านนะสิ!!?
- พอลองนึกย้อนกลับไปสมัยเรียนมหาลัย มีช่วงนึงที่เราอ่านหนังสือได้ทั้งวัน ตอนนั้นเราไม่มีโทรศัพท์ที่ต่อเน็ตได้ แต่ มี E-reader มือสองเครื่องหนึ่งติดตัวตลอด มันทำให้เราไม่มีโอกาสได้เปิด social media เพื่อผลาญเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่เมื่อไหร่ที่ว่าง ไม่มีอะไรทำ เราก็จะเปิด E-reader อ่าน Textbook แทน!!!
- แสดงว่าเราน่าจะ ต้องพยายามเว้นจากสิ่งล่อใจ หรือ อุปกรณ์ที่เอาไว้สร้างความเพลิดเพลิน เหล่านี้สินะ?!
- แต่จริงๆ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์หรอกที่ผิด เพราะ ลองนึกๆดู ถ้าเราใช้คอมพิวเตอร์ต่อหน้าคนอื่นๆ เราก็คงจะเปิดอะไรที่มีแต่สาระ หรือ ทำงานที่ดูจริงจังสุดๆ เป็นแน่แท้!! ปัญหาน่าจะอยู่ที่ตัวเราเองแหละ!!!
Tags
ลำดับแหล่งความรู้ที่ดีที่สุด
- อินเทอร์เน็ต เพราะ มีคลังความรู้มหาศาล และฟรีสำหรับทุกคน หาหนังสือเล่มไหนก็ได้(ฟรีหรือไม่อีกเรื่องนึงนะ)
- ห้องสมุดขนาดใหญ่ เพราะ มีคลังความรู้มหาศาล แต่ฟรีสำหรับคนบางกลุ่ม และมีข้อจำกัดในการเข้าถึง
- ร้านหนังสือขนาดใหญ่/ศูนย์หนังสือ เพราะ มีคลังความรู้มหาศาล แต่ไม่ฟรี
- ร้านหนังสือทั่วไป เพราะ มีคลังความรู้ขนาดย่อมๆ
รูปแบบการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
- การอ่าน จะเป็นการรับรู้ข้อมูล ไปตามลำดับตัวอักษร ตัังแต่ต้น จนจบ ทำให้ได้เนื้อความที่ครบถ้วนที่สุด ต่อให้เป็นคนสมาธิจะหลุดง่าย ก็ยังกลับมาอ่านต่อได้เรื่อยๆ และ เราสามารถเลือกตำราได้ด้วยตนเอง ที่เราอ่านแล้วรู้สึกเข้าใจง่ายที่สุด หรือ หากเลือกอ่านตำราของบุคคลที่เป็นปรมาจารย์ด้านนั้นๆ เป็นคนเขียน ก็เหมือนเราได้รับถ่ายทอดวิชาจากบุคคลที่เก่งที่สุดในด้านนั้นๆ โดยตรงเลย
- นอกจากนี้ ในการหาข้อมูลความรู้ ในเรื่องต่างๆ ความรู้ที่ดีที่สุด ที่เป็น original ที่สุด ที่ไม่ถูกปรุงแต่ง บิดเบือนโดยผู้อื่น จะบันทึกในรูปแบบ ข้อความ เอกสาร
- การอ่าน เป็นหนึ่งในรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้สมองมากที่สุด เพราะ ไม่มีใครอ่านแล้วมาอธิบายให้เราฟัง เราต้องใช้สมองในการอ่านแล้วคิดวิเคราะห์เอง ซึ่งจะทำให้เราได้ฝึกสมองด้วยการใช้ความคิดมากที่สุด มากกว่าการเรียนรูปแบบอื่น เช่น ดูวีดีโอ ที่เราไม่ต้องคิดอะไรเท่าไหร่ นั่งฟังเฉยๆแล้วจดตาม
- การฝึกสมองใช้ความคิดในรูปแบบนี้ จะฝึกให้เรา คิดวิเคราะห์เก่ง มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ นำมาสู่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆได้
- การดูvdo/เรียนกับผู้สอน เหมือนเป็นการที่มีคนอ่านตำรา แล้วมาอธิบายให้เราฟังอีกที
- ข้อดีคือ จะได้รับเนื้อหาที่อาจจะเข้าใจง่ายขึ้น โดยที่ไม่ต้องเหนื่อยในการกลั่นกรอง หรือ ย่อยเนื้อหาจำนวนมากด้วยตนเอง
- แต่ข้อเสียคือ มีโอกาสที่เนื้อหาจะไม่สมบูรณ์ มีความตกหล่นในรายละเอียดปลีกย่อย ทั้งจากเวลาที่จำกัด หรือ สมาธิของผู้เรียนหรือผู้สอน ในแต่ละครั้งที่ไม่ได้เต็มร้อยทุกครั้ง(บางทีก็เหนื่อยล้า ทำให้รับข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน) หรือเป็นความต้องการของผู้สอนเอง ที่ต้องการอธิบายเนื้อหาหลัก ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย ก็ไปทบทวนด้วยการอ่านเพิ่มเองอีกที ซึ่งถ้าจะให้เกิดความเชี่ยวชาญในเรื่องใดๆอย่างแท้จริง ก็อาจจะต้องกลับไปอ่านเองอีกทีนึง
- ข้อเสียที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ เราจะไม่ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราห์ ย่อยเนื้อหา เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งหากฝึกมากๆ มันจะเป็นทักษะติดตัวที่สำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับการต่อยอดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องคอยให้ใครมาอ่าน ย่อย แล้วมาสอนเราอีกที หรือ การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นวัตกรรมใหม่ในอนาคต ก็อาศัยพื้นฐานจากการฝึกคิดวิเคราะห์ ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จากการเรียนรู้ด้วยตนเองนี่แหละ
ดังที่กล่าวมา เลยขอสรุปด้วยความเห็นส่วนตัวว่า การเรียนรู้ด้วยการอ่าน ยังเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ที่ควรฝึกให้เคยชินกับมัน