แสงสว่าง
- ระดับความเข้มแสง ที่เหมาะสม คือ 500 – 1000 lux สามารถวัดโดยใช้ App ในมือถือ พวก lux meter ได้
- แสงต้องไม่มีการกระพริบซ่อนเร้น(Flickering light) สามารถตรวจสอบโดยใช้กล้องมือถือ เปิดไปที่โหมด pro แล้วค่อยๆเลื่อนปรับ shutter speed ให้ไวขึ้น หากมีการกระพริบซ่อนอยู่ มักจะเห็นแถบสว่าง-มืดวิ่งสลับกัน ปรากฎบนหน้าจอ(มักพบในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์คุณภาพต่ำ)
- แสงธรรมชาติ ดีที่สุด
- รองลงมา คือ แสงจากหลอดไฟที่ไม่มีการกระพริบ(Non-Flickering light) ได้แก่ หลอดไส้(ไม่ค่อยนิยม เพราะ กินไฟ และ ปล่อยความร้อน) และ หลอด LED คุณภาพสูง(แนะนำ เพราะ ประหยัดไฟ คุ้มค่ากับราคา และถนอมสายตา)
เทคนิคทางกายภาพ
- ทำให้การอ่านเข้าถึงได้ง่าย ทุกที่ ทุกเวลา วิธีที่ดีที่สุด คือ ใช้ E-reader หน้าจอกระดาษ(E-ink) ขนาด 6.8-7 นิ้ว เพราะ สามารถพกพาไปได้ทุกที่ โดยที่ถือด้วยมือเดียวได้โดยไม่ต้องกลัวหล่น แต่หน้าจอยังใหญ่พอที่จะสามารถอ่านได้สะดวก ว่างเมื่อไหร่ ไม่ว่าทำกิจกรรมอะไรอยู่ ก็สามารถหยิบขึ้นมาอ่านต่อได้อย่างสะดวก โดยหากใช้แอพ Koreader ที่สามารถ reflow จัดหน้า เรียงคอลัมน์ ให้ตัวอักษรใหญ่ขึ้น จะสะดวกมากๆ
- นอกจากนี้ แม้หน้าจอเล็ก จะแสดงผลได้ไม่ครบทั้งหน้า แต่เวลาอ่าน เราก็ทำความเข้าใจไปทีละย่อหน้าอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีผลต่อความเข้าใจอย่างใด(ใช้เวลาปรับตัว 2 สัปดาห์) แต่จะดีกว่าเสียอีก โดยเฉพาะหากเรา สมาธิหลุดง่าย การกลับมาอ่านต่อจากของเดิมจะหาตำแหน่งที่อ่านก่อนหน้าได้ง่ายกว่า
- มีงานวิจัย(แปลไทย)ว่า การอ่านหนังสือจากหน้าจอที่มีแสง Backlight(หน้าจอปกติ ที่ไม่ใช่ E-ink) จะส่งผลให้กล้ามเนื้อตาล้าได้ง่ายกว่า และ เกิดภาวะ convergence insufficiency ชั่วคราวได้
- อ่านโดยที่มีตัวชี้(pointer)ไล่ไปตามตัวอักษร เสมอๆ ฝึกให้ชิน การมีตัวชี้จะทำให้สายตาเราไม่ต้องกรอกไปมาแบบสะเปะสะปะ กล้ามเนื้อตาทำงานสบายขึ้น อ่านได้นานขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ส่งผลในการเพิ่มความเร็วในการอ่านได้ด้วย
- ปรับขนาดตัวอักษรให้เหมาะสม ไม่เล็ก-ใหญ่เกินไป ตัวอักษรไม่ควรเล็กจนต้องเพ่ง และไม่ควรใหญ่เกินกว่าที่ตาจะโฟกัสทั้งคำได้ ในการมองครั้งเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะห่างที่อ่านด้วย ซึ่งต่างกันไปในแต่ละคน บางคนชอบดูไกลๆเพื่อความสบายตา ก็อาจใช้ตัวอักษรที่ใหญ่กว่าปกติก็ได้
- ฝึกกล้ามเนื้อตาให้เคลื่อนไหวได้ไหลลื่น ระบบการมองเห็นของคนเราแท้จริงแล้ว เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ระบบการโฟกัสของเลนส์ตา และ ระบบการเคลื่อนไหวของลูกตา มีการฝึกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า pencil push up คือ ให้มองวัตถุ (เช่น ปลายดินสอ ปากกา) ที่ถือไว้สุดปลายช่วงแขน แล้วค่อยๆเลื่อนเข้าใกล้ตาทั้งสอง จนถึงระยะที่ภาพเบลอ แล้วค่อยๆเลื่อนออก ทำซ้ำไปเรื่อยๆ วันละ 15 นาที จะช่วยจูนระบบประสาทการมองเห็น ให้โฟกัสได้ลื่นไหล และ อ่านได้คล่องขึ้น
เทคนิคทางด้านสมอง
- อ่านซ้ำหลายรอบ เป็นเทคนิคที่จริงๆเรียกว่า Spaced repetition ช่วยคงความทรงจำให้ยาวนานได้ ไม่ลืมเร็ว เป็นเทคนิคหนึ่งที่เรียบง่าย ไม่ต้องอาศัยอะไรที่พิศดารมากนัก
- อ่านสองรอบ ช่วยเก็บรายละเอียดที่ตกหล่น และความเข้าใจได้ดีมากๆ อย่างกรณีอ่านนิยายภาษาอังกฤษ การอ่านซ้ำรอบที่สองในบทที่แล้ว จะเป็นการหลอกสมองว่าศัพท์ที่เจอ เป็นคำที่ใช้บ่อย และมันจะจำได้ดีขึ้นอัตโนมัติ!
- อ่านสามรอบ จดจำโครงสร้างเนื้อหาได้ แทบจะเขียนออกมาเองได้เลย(ในบางส่วน)
- อ่านสี่รอบ เกิดการเชื่อมโยงเนื้อหากับเรื่องต่างๆที่เคยอ่าน รวมถึงตกผลึกเกิดไอเดียใหม่ๆ
Leave a Reply